บริการรวบรวมแนวคิดและทฤษฎีทางด้านการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชนบท

ฝ่ายบริการสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รวบรวมแนวคิดและทฤษฎีทางด้านการพัฒนาชุมชน, การพัฒนาชนบท ซึ่งประกอบเป็นเนื้อหาภายในหนังสือที่มีให้บริการในสำนักหอสมุด เพื่อการช่วยลดเวลาการสืบค้น ให้ผู้ใช้บริการได้รับสารสนเทศอย่างรวดเร็วและตรงต่อความต้องการ 

การพัฒนาชุมชน, การพัฒนาชนบท

ที่

ชื่อแนวคิด/ทฤษฎี

สาระโดยสังเขป

ดาวน์โหลดเอกสาร

เลขหมู่

รายการบรรณานุกรม

1

แนวความคิดของการพัฒนาชุมขน

การพัฒนาชุมชนเป็นกระบวนการพัฒนาคนและกลุ่มคนในชุมชนให้มีศักยภาพเพียงพอและร่วมมือกันปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของตนและชุมชนตามแผนและโครงสร้างที่กำหนดไว้ ทั้งการใช้พลังของชุมชนและการสนับสนุนจากภายนอกชุมชน (44-47)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2022/02/1.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

2

ทฤษฎีสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาชุมชน

หลักการและแนวทางการพัฒนาชุมชน ต้องนำเอาทฤษฏีทางด้านสังคมศาสตร์เข้ามาใช้ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงพฤติกรรมมนุษย์ ทั้งทางร่างกายจิตใจ กลุ่มบุคคล สังคม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการศึกษา (148-150)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/2.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

3

ทฤษฎีวิวัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม

เป็นการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม โดยเริ่มต้นจากสภาพโบราณล้าหลัง มีโครงสร้างแบบง่ายๆ ไปสู่โครงสร้างแบบสลับซับซ้อน และไม่มีที่สิ้นสุด การวิวัฒนาการอย่างช้าๆ ตามสภาพของสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด และเป็นกฏธรรมชาติในการเลือกสรรผู้ที่แข็งแรงสามารถปรับตัวและดำรงอยู่ได้ (151-152)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/3.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

4

ทฤษฎีความก้าวหน้าทางวัฒนธรรม

โดยมีเหตุผลที่เชื่อกันว่าระบบเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม เพราะเป็นเครื่องมือในการนำพลังมาใช้ในสังคม ทำให้เกิดการพัฒนาชุนชนได้อย่างรวดเร็ว (158-160)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/4.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

5

ทฤษฎีความล้าหลังทางวัฒนธรรม

เป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุ ที่ถูกนำเข้ามาสู่สังคมหรือเข้าสู่วัฒนธรรมอื่น สาเหตุสำคัญคือผลประโยชน์ที่มีอยู่กับวัฒนธรรมเดิม ทำให้คนในสังคมใหม่ปรับตัวไม่ทัน (156-158)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/5.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

6

ทฤษฎีที่ว่าด้วยศักยภาพของวิวัฒนาการ

เป็นกระบวนการปรับตัวของระบบให้เข้ากับภาวะแวดล้อมได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั้งถึงจุดสูงสุด ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้อีกต่อไป ดังนั้นหากวัฒนาธรรมได้มีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเต็มที่แล้ว กระบวนการวิวัฒนการก็จะหยุดนิ่ง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก (162-164)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/6.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

7

ทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม

เชื่อกันว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดจากการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม โดยเกิดจากการติดต่อสื่อสารระหว่างสังคมที่ต่างวัฒนธรรมกัน ต่างแพร่กระจายวัฒนธรรมไปสู่กันและกัน (164-165)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/7.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

8

ทฤษฎีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามลำดับขั้น

มีความเชื่อว่าการจะพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้ต้องใช้แนวการพัฒนาของประเทศชาติตะวันตก หรืออเมริการที่เป็นประเทศอุตสาหกรรม ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศแล้วมาเป็นแนวทางการพัฒนาของประเทศอื่น ก็จะประสบความสำเร็จตามไปด้วย (170-172)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/8.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

9

ทฤษฎีฝนหล่นจากฟ้า

โดยเชื่อว่าคนทุกคนในสังคมมีความพร้อม และความสามารถที่แตกต่างกัน จึงไม่สามารถที่จะพัฒนาได้ทุกคนทุกกลุ่ม ดังนั้นหากต้องการพัฒนาก็ควรเลือกกลุ่มคนที่มีความสามารถ มีความพร้อมจึงจะสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่ (172-174)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/9.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

10

ทฤษฎีการกระจายรายได้ และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

เป็นทฤษฎีที่ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีฝนหล่นจากฟ้า เพราะการพัฒนาจะกระจุกตัวอยู่กับเฉพาะกลุ่ม แต่ประชาชนโดยทั่วไปจะไม่ได้รับการพัฒนา จึงต้องการให้มีการกระจายการพัฒนาไปสู่ทุกกลุ่มคนในสังคมให้ได้รับการพัฒนาที่เท่าเทียมกัน (175-176)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/10.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

11

ทฤษฎีภาวะทันสมัย

เกิดจากการผสมผสานกันของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และระบบการเมืองประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม เป็นทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ ที่จัดตั้งและช่วยเหลือการพัฒนาระหว่างประเทศ พร้อมทั้งมีองค์กรทางการเงินเข้ามาสนับสนุนด้วย (176-178)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/11.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

12

ทฤษฎีความทันสมัยทางการสื่อสาร

การสื่อสารที่ทันสมัยจะนำข่าวสาร ความรู้ ที่เกี่ยวกับสังคมสมัยใหม่ ทำให้เกิดการขัดเกลาทางสังคม ไปสู่คนในสังคมและสืบต่อไปยังคนรุ่นต่อไป (179-180)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/12.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

13

ทฤษฎีการควบคุมทางสังคม

เป็นทษฤฎีที่นำเสนอการจัดระเบียบทางสังคม ให้คนในสังคมมีความประพฤติและปฏิบัติตามกฏระเบียบ หรืออยู่ในบรรทัดฐานของสังคม เพื่อให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างมีความสุข (182-183)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/13.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

14

ทฤษฎีการโครงสร้างหน้าที่

สังคมประกอบไปด้วยองค์ประกอบย่อยต่างๆ เช่นสถาบันครอบครัว ชนชั้นทางสังคม ที่ประกอบกันและทุกองค์ประกอบต่างก็มีหน้าที่ของตนเอง มีการสอดประสานกันอย่างเป็นระบบ สังคมจึงจะดำรงอยู่ได้ (183-184)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/14.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

15

ทฤษฎีความขัดแย้งทางสังคม

ในสังคมจะมีระบบหรือโครงสร้างของสังคมอยู่ ระบบหรือโครงสร้างที่อยู่เหนือคนอื่นจะมีการเอารัดเอาเปรียบหรือครอบงำโครงสร้างระบบที่ด้อยกว่า จึงทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคมขึ้น (198-199, 204)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/15.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

16

ทฤษฎีการด้อยการพัฒนาและการพึ่งพา

เป็นการต้องการพัฒนาประเทศ ต้องการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยการพึ่งพาชาติที่พัฒนาแล้วอย่างชาติตะวันตก แต่การพัฒนานั้นก็ไม่สามารถจะบรรลุเป้าหมายได้ เพราะการถูกครอบงำและต้องพึงพาประเทศเจริญแล้วเหล่านั้นจนไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง (204-206)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/16.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

17

ทฤษฎีศักยภาพการพัฒนาและการแพร่กระจาย

ประกอบไปด้วย ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ องค์การสังคม ภาวะผู้นำ และการแพร่กระจายคือการติดต่อกับโลกภายนอกโดยมีการฝึกอบรมเป็นตัวเชื่อมหรือตัวแปร ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีส่วนต่อการพัฒนาและการแพร่กระจายเป็นอย่างยิ่ง (209-211)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/17.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

18

ทฤษฎีการกระทำทางสังคม

แนวคิดนี้มีการให้ความสำคัญกับคน ให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพราะคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด จึงต้องนำความรู้และความคิดสร้างสรรค์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาให้มากที่สุด (211-213)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/18.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

19

ทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐาน

จุดมุ่งหมายของการพัฒนาคือ การตอบสนองความต้องการพื้นฐานของคนในสังคม ทั้งทางวัตถุและความต้องการทางจิตใจ โดยจะใช้ทรัพยากรภายในเป็นหลัก และความต้องการนี้จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม และจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามระดับของการพัฒนา (216-217)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/19.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

20

ทฤษฎีการพัฒนาชนบทแบบผสมผสาน

เป็นแนวทางการพัฒนาที่ธนาคารโลกเป็นผู้เสนอให้ประเทศด้อยพัฒนาหรือประเทศที่กำลังพัฒนานำไปปฏิบัติ ในการพัฒนาชนบทเพราะถือว่าเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศทั้งด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมทางการเกษตร การศึกษา การสื่อสาร การคมนาคม สาธารณสุข การกระจายรายได้เพื่อให้เท่าเทียมกับสังคมหรือชุมชนอื่น (218-220)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/20.pdf

307.14 ส191ท5 ฉ. 2

สนธยา  พลศรี. (2544). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

21

ทฤษฎีทางสังคม (social theory) กับความคิดทางสังคม

เป็นการอธิบายเรื่องของคนและความสัมพันธ์ระหว่างคนตามหลักของเหตุผล และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ของคนหรือระหว่างคนต่อคน คนต่อกลุ่ม คนต่อสภาพแวดล้อม อย่างมีระบบจนสามารถที่จะพยากรณ์ได้ (14-16)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/21.pdf

301 ส558ท12

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยา : เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

22

ทฤษฎีทางสังคมวิทยากับทฤษฎีสังคม

ทฤษฎีทางสังคมวิทยาจะให้ความสำคัญกับลักษณะที่เล็กกระทัดรัด เป็นสูตรหรือรูปแบบที่เหมาะสมแก่การทดลองเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง ตามแบบหรือธรรมเนียมปฏิบัติของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และยังมองอีกว่าทฤษฎีทางสังคมวิทยาเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีสังคมด้วย (20-23)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/22.pdf

301 ส558ท12

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยา : เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

23

แนวความคิดเรื่ององค์การสังคมของพาร์สัน

พาร์สันเชื่อว่าจักรวาลทางสังคมมีรูปลักษณะต่างๆ ที่เป็นระบบ ซึ่งในการสร้างทฤษฎีในขั้นต้นจะต้องสร้างระบบสังกับขึ้นมาเป็นตัวแทน จากหลักความคิดนี้เราจะเห็นระบบต่างๆ ในกรอบความคิดของพาร์สันเรื่อง โครงสร้างการกระทำทางสังคม (36-38)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/23.pdf

301 ส558ท12

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยา : เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

24

แนวคิดโครงสร้างหน้าที่นิยม

กล่าวถึงความหมายของการทำหน้าที่ ผลของการทำหน้าที่ คุณภาพของการทำหน้าที่ ประเภทของหน้าที่ องค์ประกอบของหน้าที่ และการใช้ประโยชน์ของทฤษฎีนี้ (50-51)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/24.pdf

301 ส558ท12

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยา : เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

25

ทฤษฎีระบบ

เป็นทฤษฎีเครือข่ายของทฤษฎีโครงสร้าง ที่แบ่งสังคมออกเป็น 4 ระบบ ประกอบด้วยระบบวัฒนธรรม ระบบสังคม ระบบบุคลิกภาพ และระบบอินทรีย์ (65-66)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/25.pdf

301 ส558ท12

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยา : เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

26

ทฤษฎีความขัดแย้ง

เป็นความขัดแย้งทางสังคม กล่าวคือเป็นการขัดแย้งระหว่างมนุษย์ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จนถึงระดับสังคม จะมีลักษณะตรงกันข้ามกับทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ ที่เน้นเรื่องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเรื่องความสามัคคี (71-72)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/26.pdf

301 ส558ท12

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยา : เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

27

ทฤษฎีปริวรรตนิยม

แนวคิดใหม่ คือการนำไปใช้กับความสัมพันธ์ทางสังคมขนาดเล็กระดับระหว่างบุคคล ไปจนถึงระดับสังคม แนวคิดเก่า คือเป็นแนวคิดเริ่มแรกของทฤษฎีนี้ตั้งแต่อดีต (115-117)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/27.pdf

301 ส558ท12

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยา : เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

28

ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนระดับบุคคล

เป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลทั้งที่เป็นวัตถุ หรือไม่ใช่วัตถุ หรือเน้นการแสดงออกทางพฤติกรรมตามสถานการณ์ต่างๆ การแสดงพฤติกรรมโต้ตอบสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง พฤติกรรมใดที่ปฏิบัติแล้วให้ผลดีก็จะมีการปฏิบัติซ้ำๆ หรือลอกเรียนแบบกันต่อๆ ไป (128-129)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/28.pdf

301 ส558ท12

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยา : เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

29

ทฤษฎีปรากฏการณ์นิยม

มีแนวความคิดว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างบริบทหรือสถานการณ์ขึ้น โดยมีตนเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์หรือระเบียบสังคมนั้น เมื่อเป็นดังนั้นมนุษย์จึงเป็นผู้สร้างสังคมขึ้น แล้วกำหนดความหมายสิ่งต่างๆ ในสังคมนั้นตามที่ตนเห็นสมควร (195-198)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/29.pdf

301 ส558ท12

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยา : เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

30

ทฤษฎีสังคมวิทยาในอเมริกายุคต้น

มีลักษณะเป็นเสรีนิยม โดยพื้นฐานแล้วมีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ มีความเชื่อในการเป็นอิสระ สวัสดิการของปัจเจกบุคคล และมีการยอมรับทัศนะวิวัฒนาการของความก้าวหน้า (47-49)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/30.pdf

301 ส781ท

สุเทพ สุนทรเภสัช. (2540). ทฤษฎีสังคมวิทยาร่วมสมัย : พื้นฐานแนวความคิดทฤษฎีทางสังคมและวัฒนธรรม. โกลบอลวิชั่น.

31

ทฤษฎีเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของสตรี

เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสังคมตะวันตก เพื่อเรียกร้องสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งของสตรี และมีการขยายการเรียกร้องไปยังเรื่องอื่นๆ โดยการเรียกร้องนั้นมักจะปรากฏอยู่ในวรรณกรรมต่างๆ หรือบางครั้งก็ปรากฏอยู่ในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับองค์กรความร่วมมือ ที่มักจะปรากฏให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง (280-281)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/31.pdf

301 ส781ท

สุเทพ สุนทรเภสัช. (2540). ทฤษฎีสังคมวิทยาร่วมสมัย : พื้นฐานแนวความคิดทฤษฎีทางสังคมและวัฒนธรรม. โกลบอลวิชั่น.

32

ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม

สังคมจะทำอย่างไรในการจูงใจให้บุคคลเข้าสู่ตำแหน่งที่เหมาะสมในระบบลำดับชั้นทางสัมคม และให้บุคคลนั้นทำตามความคาดหวังของสังคม เพื่อการพัฒนาสังคมให้อยู่รอดไปได้ (66-67)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/32.pdf

301 ส781ท

สุเทพ สุนทรเภสัช. (2540). ทฤษฎีสังคมวิทยาร่วมสมัย : พื้นฐานแนวความคิดทฤษฎีทางสังคมและวัฒนธรรม. โกลบอลวิชั่น.

33

ทฤษฏีเกี่ยวกับความแตกต่างทางเพศ

มองถึงความแตกต่างทางจิตใจ ค่านิยมและความสนใจ การตัดสินทางด้านคุณค่า มูลเหตุจูงใจด้านความสำเร็จ ความรู้สึกเกี่ยวกับเอกลักษณ์ และกระบวนการทางด้านความสำนึกที่เกี่ยวข้องกับตนเอง (290-291)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/33.pdf

301 ส781ท

สุเทพ สุนทรเภสัช. (2540). ทฤษฎีสังคมวิทยาร่วมสมัย : พื้นฐานแนวความคิดทฤษฎีทางสังคมและวัฒนธรรม. โกลบอลวิชั่น.

34

ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม

แนวคิดนี้มองว่าสังคมคือส่วนต่างๆ ของโครงสร้างที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน แต่ละสังคมมีโครงสร้างที่คล้ายกันไม่มากก็น้อย การทำงานของความคิดหรือสมองมนุษย์มีโครงสร้างอยู่โดยมนุษย์ไม่รู้ตัว โครงสร้างนั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับโครงสร้างที่มากำหนดพฤติกรรมของมนุษย์และความสัมพันธ์ของสถาบันสังคม (137-138)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/34.pdf

301.01 ส837ท6 ฉ. 4

สุภางค์ จันทวานิช. (2557). ทฤษฎีสังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 6). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

35

ทฤษฎีนิโอมาร์ก  ซิสม์

เป็นกลุ่มนักคิดที่นำเอาทฤษฏีมาร์กซิสม์มาขยายความหรือตีความใหม่ ซึ่งเมื่อผ่านช่วงเวลาหนึ่ง ได้มีการวิจารณ์ว่าทฤษฏีของมาร์กไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง แต่ก็ยังมีนักคิดบางส่วนเชื่อว่าสิ่งที่มาร์กคิดไว้นั้นมีคุณค่า คุณูปการ จึงได้ทำการคิดวิเคราะห์ว่าเพราะสิ่งใด สาเหตุใดแนวคิดของมาร์กจึงไม่เป็นความจริง (175-177)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/35.pdf

301.01 ส837ท6 ฉ. 4

สุภางค์ จันทวานิช. (2557). ทฤษฎีสังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 6). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

36

แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานด้านการมีส่วนร่วมกับผู้นำชุมชน

ผู้นำชุมชนคือผู้ที่สามารถประสานให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ผลสำเร็จที่ดี และมีอิทธิพลในหลายๆ ด้านทั้งการได้รับความน่าเชื่อถือ ความเชื่อใจ การได้รับความช่วยเหลือ ความร่วมมือต่างๆ ซึ่งเหตุผลเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายได้ด้วยดี (257)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/36.pdf

302.14 น243ก

นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2547). การมีส่วนร่วม หลักการพื้นฐาน เทคนิค และกรณีตัวอย่าง (พิมพ์ครั้งที่ 2). สิริลักษณ์การพิมพ์.

37

แนวคิดเกี่ยวกับตัวแทนกลุ่มบุคคลเป้าหมายที่จะมีส่วนร่วม

– เป็นตัวแทนที่แท้จริง

– ได้รับการเลือกมาจากกลุ่ม

– การเป็นตัวแทนเป็นเวลายาวนานจะต้องเข้าใจและทราบถึงสภาพของกลุ่มได้เป็นอย่างดี  (256)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/37.pdf

302.14 น243ก

นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2547). การมีส่วนร่วม หลักการพื้นฐาน เทคนิค และกรณีตัวอย่าง (พิมพ์ครั้งที่ 2). สิริลักษณ์การพิมพ์.

38

แนวคิดเรื่องกลุ่มสัมพันธ์

ทฤษฎีจะช่วยจัดเนื้อหาและข้อพิสูจน์สังเกตได้ ให้เป็นระบบระเบียบ สามารถอธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับกลุ่มได้ ทั้งยังช่วยชี้บอกแนวทางในการศึกษาวิจัยในอนาคตได้อีกด้วย (101)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/38.pdf

302.14 น648ก5

นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2551). กลุ่มสัมพันธ์สำหรับการฝึกอบรม (พิมพ์ครั้งที่ 5). นำศิลป์โฆษณา.

39

ทฤษฎีบุคลิกภาพของกลุ่ม

มีความเชื่อพื้นฐานว่า กลุ่มแต่ละกลุ่มที่เกิดขึ้นมานั้นมีคุณลักษณะที่แน่นอน สามารถวัดได้ และสามารถจำแนกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่จัดได้ว่าเป็น “บุคลิกภาพของกลุ่ม” (101-103)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/39.pdf

302.14 น648ก5

นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2551). กลุ่มสัมพันธ์สำหรับการฝึกอบรม (พิมพ์ครั้งที่ 5). นำศิลป์โฆษณา.

40

ทฤษฎีว่าด้วยผลสัมฤทธิ์ของกลุ่ม

ทฤษฏีนี้จะมุ่งกล่าวถึงเพียงแต่ผลผลิตหรือความสัมฤทธ์ของกลุ่มเท่านั้น จะไม่อธิบายถึงแง่มุมต่างๆ ของกลุ่ม (103-105)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/40.pdf

302.14 น648ก5

นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2551). กลุ่มสัมพันธ์สำหรับการฝึกอบรม (พิมพ์ครั้งที่ 5). นำศิลป์โฆษณา.

41

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทโดยเน้นการพัฒนาการเกษตร

– เกษตรกรเป็นผู้ด้อยในโอกาสหลายๆ ด้าน (ต้องพัฒนาคน)

– เพิ่มรายได้, พัฒนาความเป็นอยู่, และพัฒนาคุณภาพชีวิต (116)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/41.pdf

302.23 ศ684ก

ศุภณิช  จันทรสอง. (2559). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. ไอติ้งค์กราฟพิกแอนด์ดีไซน์.

42

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทโดยเน้นการพัฒนาชุมชน

– ชุมชนต้องช่วยเหลือตนเองได้

– การมีส่วนร่วมของคนชุมชน

– การมีประชาธิปไตยภายในชุมชน

– ใช้ประโยชน์จากผู้นำท้องถิ่น

– มีการติดตาม, ประเมินผลงาน กิจกรรมของชุมชน (117)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/42.pdf

302.23 ศ684ก

ศุภณิช  จันทรสอง. (2559). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. ไอติ้งค์กราฟพิกแอนด์ดีไซน์.

43

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทแบบผสมผสานหรือแบบบูรณาการ

–  กระตุ้นให้คนในชนบทมีการพัฒนาตนเอง

–  มีการระดมความร่วมมือในการพัฒนาชนบท

–  เพิ่มพูนความสามารถของคน (118)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/43.pdf

302.23 ศ684ก

ศุภณิช  จันทรสอง. (2559). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. ไอติ้งค์กราฟพิกแอนด์ดีไซน์.

44

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทโดยใช้ความจำเป็นพื้นฐาน

– การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

– มีความพร้อมด้านความจำเป็นพื้นฐานเช่น อาหาร, การศึกษา, ที่อยู่อาศัย, สุขภาพ, คมนาคม (119)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/44.pdf

302.23 ศ684ก

ศุภณิช  จันทรสอง. (2559). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. ไอติ้งค์กราฟพิกแอนด์ดีไซน์.

45

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน

– การผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

– มีการวางแผนการใช้ปัจจัยการผลิต

– เป็นการพัฒนาที่ช่วยในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และมนุษย์

– ส่งเสริมมาตรฐานความเป็นอยู่และค่าครองชีพ (121-122)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/45.pdf

302.23 ศ684ก

ศุภณิช  จันทรสอง. (2559). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น.  ไอติ้งค์กราฟพิกแอนด์ดีไซน์.

46

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน

– การเกลี้ยกล่อมมวลชน

– การระดมและสร้างขวัญของคน

– สร้างความรู้สึกชาตินิยม

– แนวคิดการสร้างผู้นำ

– แนวคิดการใช้วิธีและระบบบริหาร (123-124)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/46.pdf

302.23 ศ684ก

ศุภณิช  จันทรสอง. (2559). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. ไอติ้งค์กราฟพิกแอนด์ดีไซน์.

47

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทระบบเศรษฐกิจพอเพียง

– การพัฒนาที่เน้นอุดมการณ์

– ชุมชนสามารถต้องพึ่งพาตนเองได้

– มีการจัดการด้านพื้นที่ทำกิน พื้นที่เก็บกักน้ำ และที่อยู่อาศัย (124-126)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/47.pdf

302.23 ศ684ก

ศุภณิช  จันทรสอง. (2559). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. ไอติ้งค์กราฟพิกแอนด์ดีไซน์.

48

แนวคิดเรื่องที่มาของสังคม

มีความเชื่อว่ามนุษย์แต่เดิมไม่ได้อยู่ร่วมกันอยู่เป็นสังคมอย่างปัจจุบัน แต่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ แต่เนื่องจากเกิดความยุ่งยากสับสน การเพิ่มขึ้นของประชากร และอารยธรรม ต่างๆ ที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น จึงทำให้มนุษย์ละทิ้งจากสภาพความเป็นอยู่ตามธรรมชาติ มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นสังคมขึ้นมา (161-163)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/48.pdf

303.44 พ523น

พัชรินทร์  สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

49

แนวคิดเรื่องชนชั้นและความสำนึกทางสังคม

เกิดขึ้นจากสังคมบุพกาล เนื่องจากความจำเป็นเรื่องการอยู่รอดทำให้ผู้ที่ถือครองทรัพยากรกลายเป็นคนชั้นสูง ผู้ที่ขาดแคลนเป็นชนชั้นต่ำ การแบ่งชนชั้นไม่ได้เกิดขึ้นตั้งแต่อดีต แต่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้ทรัพยากรร่วมกัน มีการแบ่งปัน มีความช่วยเหลือกันเพื่อความอยู่รอด และในสังคมเกษตรกรรมสมัยก่อนที่มีการใช้แรงงานจำนวนมากจนทำให้เกิดชนชั้นทาส (201-204)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/49.pdf

303.44 พ523น

พัชรินทร์  สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

50

แนวคิดทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม

มีหลากหลายทัศนะเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม เช่น สังคมมนุษย์กำลังก้าวเข้าสู่ยุคทันสมัยตอนปลาย, สังคมกำลังก้าวเข้าสู่ยุคหลังทันสมัย, สังคมกำลังก้าวเข้าสู่ยุคทุนนิยมใหม่ที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย ชุมชนควรถูกให้ความหมายใหม่และเป็นหน่วยทางสังคมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนา (231-232)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/50.pdf

303.44 พ523น

พัชรินทร์  สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

51

แนวคิดการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม

เป็นกระบวนการสอดแทรกระหว่างกัน และการเชื่อมเข้าหากันที่ทำให้บุคคลและกลุ่มมีการแสวงหาความทรงจำ ความเร้าใจ และทัศนคติของบุคลและกลุ่มคนอื่น โดยอาศัยการมีส่วนร่วมในประสบการณ์และประวัติความเป็นมาร่วมกัน เพื่อการนำไปสู่การมีสภาพชีวิตวัฒนธรรมร่วมกัน (267-268)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/51.pdf

303.44 พ523น

พัชรินทร์  สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

52

แนวคิดการเปลี่ยนแปลงแบบวัฏจักร

เชื่อว่าสังคมมีลักษณะและโครงสร้างเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ คือจะเปลี่ยนแปลงไปแบบวัฏจักรของชีวิต โดยเริ่มจากการเกิดไปสู่การเจริญสูงสุด แล้วจึงค่อย ๆ เสื่อมถอยหรือดับสูญไปตามลำดับ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมจะอยู่ในรูปของการหมุนเวียนสลับหรือเปลี่ยนกันไป จากความเจริญสู่ความเสื่อมเช่นกัน (271-272)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/52.pdf

303.44 พ523น

พัชรินทร์  สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

53

แนวคิดทฤษฎีการพัฒนาสังคมกระแสหลัก

สังคมเปรียบเสมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และอยู่ในฐานะของ “ระบบ” ที่เกิดขึ้นจากผลรวมของความเป็นจริงทางสังคม โดยมีโครงสร้างซึ่งประกอบด้วยระบบย่อย ๆ จำนวนมากเชื่อมต่อกัน และแต่ละส่วนมีหน้าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน (289-293)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/53.pdf

303.44 พ523น

พัชรินทร์  สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

54

ทฤษฎีการพึ่งพา

มีจุดกำเนิดอยู่ในลาตินอเมริกา เนื่องจากเกิดความตระหนักในอิทธิพลของระบบการค้าตลาดโลกที่มีอัตราการเจริญเติบโต ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในประเทศ และการพึ่งพา หมายถึงสถาการณ์ภาวะเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่งถูกกำหนดโดยการพัฒนาและการครอบงำจากอีกประเทศหนึ่ง การพึ่งพาจึงเป็นเงื่อนไขที่เกิดจากโครงสร้างภายในของสังคมที่ถูกกำหนดและให้นิยามใหม่ (339-342)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/54.pdf

303.44 พ523น

พัชรินทร์  สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

55

แนวคิดความหลากหลายและพหุนิยม

มีฐานคิดสำคัญเชื่อว่า ความหลากหลายเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างกรอบแนวคิดการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการเคลื่อนไหวทางสังคม ในสังคมด้อยพัฒนาด้านอุตสาหกรรม (396-397)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/55.pdf

303.44 พ523น

พัชรินทร์  สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

56

แนวคิดด้านการใช้อำนาจ

เป็นแนวคิดที่เกิดจากการพัฒนาระดับรากหญ้าของผู้หญิงในประเทศด้อยพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งให้ความสำคัญกับความหลากหลายและความแตกต่างของปัจจัยสังคมวัฒนธรรมตามสภาพการณ์ที่เป็นจริงในสังคม มากกว่าการนำแนวคิดสตรีนิยมของประเทศตะวันตกมาใช้ (397-398)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/56.pdf

303.44 พ523น

พัชรินทร์  สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

57

แนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืน

หมายถึงการตอบสนองความต้องการในปัจจุบันของประชาชนและสังคม โดยไม่กระทบหรือละเมิดความสามารถในการพัฒนาหรือความต้องการของคนหรือสังคมในรุ่นต่อไป โดยจะให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนในการพัฒนา และความมีส่วนร่วมของประชาชน (398-401)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/57.pdf

303.44 พ523น

พัชรินทร์  สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

58

แนวคิดการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน “เรื่องกลุ่ม”

เป็นการรวมกลุ่มตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความพึงพอใจ มีผลประโยชน์ร่วมกัน มีการยอมรับแบ่งปันความคิดห็น มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม มีลักษณะคือ 1) มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน 2) มีความร่วมมือ 3) มีการสื่อสารของสมาชิกในกลุ่ม (402-405)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/58.pdf

303.44 พ523น

พัชรินทร์  สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

59

แนวคิดการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ

เป็นแนวคิดการพัฒนาทางเลือก ซึ่งเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่พระราชทานแก่ประชาชน โดยมีสาระสำคัญคือการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ที่ดินทำกินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็ก ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ (412-414)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/59.pdf

303.44 พ523น

พัชรินทร์  สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

60

แนวคิดเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น

เป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากสัมพันธภาพระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ เป็นผลมาจากการที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ภายในระบบนิเวศน์ท้องถิ่นมายาวนาน และมีการพัฒนาขึ้นมาเป็นองค์ความรู้เพื่อตอบสนองความต้องการในการปรับตัวและการดำรงชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นๆ (425-427)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/60.pdf

303.44 พ523น

พัชรินทร์  สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

61

แนวคิดเรื่องธรรมาภิบาลหรือธรรมรัฐ

หมายถึงการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อจัดการงานของบ้านเมือง โดยการให้บริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ด้วยระบบที่ยุติธรรมและโดยกระบวนการทางกฎหมายที่เป็นอิสระ ฝ่ายบริหารมีระบบราชการที่โปร่งใส เคารพในสิทธิของพลเมือง มีฝ่ายนิติบัญญัติที่มีความรับผิดชอบ สื่อมวลชนมีเสรีภาพ เพื่อเป้าหมายสูงสุดในการพัฒนาประเทศ (534-536)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/61.pdf

303.44 พ523น

พัชรินทร์  สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

62

แนวคิดสำนึกสาธารณะ

หมายถึงการคิดและตระหนักในความสำคัญของทรัพย์สิน กิจกรรม หรือประโยชน์ที่เป็นของส่วนรวม และการแสดงออกถึงพฤติกรรมตอบสอนงที่มีความสัมพันธ์กับความคิดและความตระหนักนั้นๆ (538-540)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/62.pdf

303.44 พ523น

พัชรินทร์  สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

63

ทฤษฎีการสื่อสารแนวบริบทสังคม

ให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารของมนุษย์ เช่นสภาพของสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มีส่วนสำคัญต่อการไหลเวียนของช่าวสารและผลของข่าวสาร ดังนั้นเมื่อสภาพแวดล้อมและบริบทสังคมเปลี่ยนแปลงไป การไหลเวียนของกระแสข่าวสารตลอดจนผลของการสื่อสารก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย (706-707)

ttps://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/63.pdf

303.44 พ523น

พัชรินทร์  สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

64

ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ของครอบครัว

เป็นทฤษฎีที่ศึกษาถึงพฤติกรรมมนุษย์และสมาชิกในครอบครัว โดยทฤษฎีนี้ได้รับการยอมรับในวงวิชาการด้านครอบครัวว่าเป็นทฤษฎีที่สามารถประยุกต์ใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับครอบครัวได้ทั้งในการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณจนถึงปัจจุบัน (13-17)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/64.pdf

306.8 พ863ท

พูนสุข  เวชวิฐาน. (2557). ทฤษฎีครอบครัวเบื้องต้น. ภาพพิมพ์.

65

ทฤษฎีหน้าที่เชิงโครงสร้างของครอบครัว

พัฒนามาจากแนวคิดทฤษฎีหน้าที่ทางสังคม เพื่อประยุกต์ใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับครอบครัว โดยมีสมมุติฐานว่าหน้าที่ทางครอบครัวคือการให้กำเนิดบุตรและกระบวนกาขัดเกลาทางสังคมแก่บุตร ให้เจริญเติบโตและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมในสังคม (43-47)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/65.pdf

306.8 พ863ท

พูนสุข  เวชวิฐาน. (2557). ทฤษฎีครอบครัวเบื้องต้น. ภาพพิมพ์.

66

ทฤษฎีพัฒนาการครอบครัว

เป็นการศึกษาถึงวัฏจักรชีวิตครอบครัว ทั้งด้านการขยายตัวและการหดตัวของครอบครัว การระบุถึงหน้าที่ของบิดามารดาในการเลี้ยงดูบุตรหลานให้เจริญเติบโต (65-67)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/66.pdf

306.8 พ863ท

พูนสุข  เวชวิฐาน. (2557). ทฤษฎีครอบครัวเบื้องต้น. ภาพพิมพ์.

67

ทฤษฎีความเครียดของครอบครัว

ความเครียดที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบถึงคุณภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว และได้ศึกษาถึงวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ครอบครัวสามารถดำรงอยู่ได้ (89-93)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/67.pdf

306.8 พ863ท

พูนสุข  เวชวิฐาน. (2557). ทฤษฎีครอบครัวเบื้องต้น. ภาพพิมพ์.

68

ทฤษฎีระบบครอบครัว

เป็นการนำเสนอในด้านความเป็นเอกภาพของครอบครัวทั้งด้านปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกภายในครอบครัว การดำเนินชีวิต พัฒนาการแห่งบุคลิกภาพที่ดีของครอบครัว (117-119)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/68.pdf

306.8 พ863ท

พูนสุข  เวชวิฐาน. (2557). ทฤษฎีครอบครัวเบื้องต้น. ภาพพิมพ์.

69

ทฤษฎีความขัดแย้งของครอบครัว

ความขัดแย้งภายในครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว โดยความขัดแย้งภายในครอบครัวนั้นมีความแตกต่างจากความขัดแย้งในรูปแบบอื่นๆ (151-154)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/69.pdf

306.8 พ863ท

พูนสุข  เวชวิฐาน. (2557). ทฤษฎีครอบครัวเบื้องต้น. ภาพพิมพ์.

70

ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคมของครอบครัว

มีพื้นฐานมาจากพฤติกรรมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ครอบครัวนอกเหนือจากพฤติกรรมของปัจเจกบุคคล ได้ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่างๆ ในสภาพพลวัต วิธีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการสิ้นสุดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (175-178)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/70.pdf

306.8 พ863ท

พูนสุข  เวชวิฐาน. (2557). ทฤษฎีครอบครัวเบื้องต้น. ภาพพิมพ์.

71

ทฤษฎีครอบครัวสตรีนิยม

เป็นทฤษฎีที่มีความแตกต่างจากทฤษฎีอื่นๆ เพราะมีพัฒนาการมาจากการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมกันของกลุ่มสตรีในอเมริกา โดยได้มีการขยายมาถึงบทบาทของสตรีในครอบครัวที่ถูกกดขี่ และรวมถึงจารีตประเพณีที่มีการปฏิบัติกับสตรีในการเอารัดเอาเปรียบอีกด้วย (195-198)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/71.pdf

306.8 พ863ท

พูนสุข  เวชวิฐาน. (2557). ทฤษฎีครอบครัวเบื้องต้น. ภาพพิมพ์.

72

ทฤษฎีชีววิทยาของครอบครัว

สิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ และมีพัฒนาการจากรุ่นสู่รุ่นโดยมีครอบครัวเป็นสถาบันที่มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ต่างๆเหล่านั้นสู่ลูกหลานรุ่นต่อไป (215-218)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/72.pdf

306.8 พ863ท

พูนสุข  เวชวิฐาน. (2557). ทฤษฎีครอบครัวเบื้องต้น. ภาพพิมพ์.

73

แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับชุมชนศึกษา

มีพื้นฐานการศึกษาเพื่อให้เข้าใจและรู้เท่าทันสภาพของชุมชนนั้นๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลง การหาเครื่องมือเพื่อใช้ศึกษาชุมชน เพื่อให้ทราบถึงปัจจัย และเงื่อนไขภายในชุมชน ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันและมีผลกระทบถึงการดำรงชีวิตของคนในชุมชน (2-4)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/73.pdf

307 ธ669ช

ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2553). ชุมชนศึกษา.  แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

74

แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนในฐานะขบวนการทางสังคม

หมายถึงผู้กระทำการรวมหมู่ ประกอบไปด้วยบุคคลที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน มีอัตลักษณ์ในการดำรงชีวิต และจุดมุ่งหมายการรวมกันเพื่อรักษากลุ่ม หรือชุมชนผ่านการระดมมวลชนหรือข่มขู่ว่าจะมีการระดมมวลชน ซึ่งเป็นที่มาของการบังคับทางสังคม และอำนาจทางสังคม (105-108)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/74.pdf

307 ธ669ช

ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2553). ชุมชมศึกษา.  แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

75

แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนประชาสังคม

เป็นแนวคิดที่มองเห็นว่าประชาชนมีส่วนในการตัดสินใจ หรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะค่อนข้างน้อย จึงเกิดการเรียกร้องเพื่อต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ให้มากขึ้น (110-113)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/75.pdf

307 ธ669ช

ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2553). ชุมชมศึกษา.  แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

76

แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนรูปใหม่ หรือชุมชนเสมือนจริง

เป็นแนวคิดเกี่ยวกับชุมชนรูปแบบใหม่ เกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและปัญหาของสังคมสมัยใหม่ ที่มีความซับซ้อนรุนแรงขึ้น ดังนั้นการแก้ไขปัญหาจึงต้องการความช่วยเหลือจากภายนอกชุมชน ทั้งด้านบุคคล ด้านทรัพยากร และความร่วมมือต่างๆ (115-118)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/76.pdf

307 ธ669ช

ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2553). ชุมชมศึกษา.  แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

77

แนวคิดและทฤษฎีด้านการพัฒนา

สังคมแต่ละสังคมมีความเข้าใจในการพัฒนาแตกต่างกัน ส่งผลทำให้การพัฒนาแตกต่างกันไปด้วย สิ่งที่ต้องพิจารณากันคือความเข้าใจ การรับรู้ และโลกทัศน์หรือมุมมองของคนในชุมชน พร้อมกันนั้นกรอบแนวคิดที่จะนำมาใช้ต้องมีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ทางสังคมอีกด้วย (124-126)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/77.pdf

307 ธ669ช

ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2553). ชุมชมศึกษา.  แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

78

ทฤษฎีการกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์

นักสังคมวิทยาเชื่อว่าการศึกษาถึงพฤติกรรมมนุษย์ ทำให้สามารถทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างสังคมและบุคคล โดยทฤษฏีนี้มุ่งหมายที่จะวิเคราะห์แนวความคิด พฤติกรรม และความสัมพันธ์ทางสังคมและบุคคล (223-225)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/78.pdf

307 ธ669ช

ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2553). ชุมชมศึกษา.  แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

79

ทฤษฎีระบบ

การศึกษาชุมชนไม่ควรจะแยกกันศึกษาวิเคราะห์ทีละองค์ประกอบ แล้วนำผลกระทบนั้นมาสรุปรวมว่าเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงในชุมชน แต่ควรศึกษาปฏิสัมพันธ์ของทุกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แล้วจึงสรุปประเมินผลอธิบายปรากฏการณ์นั้นๆ (228-230)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/79.pdf

307 ธ669ช

ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2553). ชุมชมศึกษา.  แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

80

ทฤษฎีการขัดแย้ง หรือทฤษฎีตัวกำหนดทางเศรษฐกิจ

สาระสำคัญคือความขัดแย้งที่เกิดจากความเป็นวัตถุนิยม โดยเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในการเปลี่ยนแปลงหรือกำหนดโครงสร้างทางสังคม มีการจัดระเบียบของสถาบันต่างๆ ค่านิยม ความเชื่อ เป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งทางสังคมขึ้นได้ (238-240)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/80.pdf

307 ธ669ช

ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2553). ชุมชมศึกษา.  แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

81

ทฤษฎีจิตนิเวศวิทยา

เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของพฤติกรรมมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม หมายถึงอะไร และเป็นประการใดบ้าง (242-243)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/81.pdf

307 ธ669ช

ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2553). ชุมชมศึกษา.  แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

82

ทฤษฎีการตีความหมาย

คือการให้บุคคลมีความตระหนัก และมีความระมัดระวังในการตีความหมายจากเหตุการณ์ พฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกมา โดยพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นจะสามารถนำไปตีความหมายของการกระทำของคนคนนั้นได้ (234-245)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/82.pdf

307 ธ669ช

ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2553). ชุมชมศึกษา.  แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

83

แนวคิดการศึกษาและการวิเคราะห์ชุมชน

เป็นการวิเคราะห์ถึงข้อเท็จริง และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในชุมชน โดยการแยกปัญหาต่างๆ และวิเคราะห์โดยมุมมองในปัญหานั้นโดยเฉพาะ เช่นปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยการมองปัญหาและแก้ไขปัญหาในแต่ละศาสตร์ (402-403)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/83.pdf

307 ธ669ช

ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2553). ชุมชมศึกษา.  แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

84

แนวคิดและปรัชญาในการพัฒนาชนบท

ชนบทเป็นพื้นที่ผลิตอาหาร และเป็นพื้นที่รองรับสินค้าอุตสาหกรรม พร้อมทั้งมีประชากรเป็นจำนวนมาก แต่ชนบทกลับเป็นพื้นที่ล้าหลัง ยากจน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้มีความเท่าเทียม และให้ประชาชนในชนบทให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นพร้อมกันด้วย (17-18)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/84.pdf

307.14 น648น

นิรันดร์  จงวุฒิเวศย์. (2550). แนวคิดแนวทางการพัฒนาชุมชน. รำไทยเพรส จำกัด.

85

แนวคิดและแนวทางการพัฒนาชุมชน

การพัฒนาชุมชนถือว่าเป็นการพัฒนามนุษย์ให้ครบถ้วนถึงพร้อมในทุกด้าน ในการจัดการปัญหาและความต้องการต่างๆ ดังนั้นการดำเนินการพัฒนาจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และผู้ปฏิบัติจะต้องเป็นผู้ที่มีสมรรถภาพสูง เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้นได้ (39-41)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/85.pdf

307.14 น648น

นิรันดร์  จงวุฒิเวศย์. (2550). แนวคิดแนวทางการพัฒนาชุมชน. รำไทยเพรส จำกัด.

86

แนวคิดในการพัฒนาอาษาพัฒนาชุมชน

อาสาพัฒนาชุมชนต้องเข้าใจกระบวนการพัฒนาชุมชน หรืออีกนัยหนึ่งคือ ต้องเข้าใจกระบวนการแก้ไขปัญหาของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ต้องรู้ปัญหาของชาวบ้าน ต้องทำงานร่วมกับชาวบ้านได้ (115-117)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/86.pdf

307.14 น648น

นิรันดร์  จงวุฒิเวศย์. (2550). แนวคิดแนวทางการพัฒนาชุมชน. รำไทยเพรส จำกัด.

87

ทฤษฎีว่าด้วยรูปลักษณ์ของวัฒนธรรม

เชื่อว่ารูปลักษณ์ของวัฒนธรรม ที่แต่ละสังคมมีอยู่ จะมีหลายรูปแบบ แต่จะมีเพียงไม่กี่รูปแบบที่เป็นแบบอย่าง หรือคนส่วนใหญ่เชื่อถือเป็นแนวปฏิบัติอยู่เป็นประจำ โดยอิทธิพลดังกล่าวจะทำให้สมาชิกส่วนใหญ่ในสังคมมีบุคลิกภาพแบบปกติ (Normal) (54-56)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/87.pdf

301 จ678ส11

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551).  สังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 11). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

88

ทฤษฎีว่าด้วยโครงสร้างบุคลิกภาพพื้นฐานหรือลักษณะประจำชาติ

โดยสมมติฐานเชื่อว่า กระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่แพร่หลายอยู่ในสังคมเดียวกันจะมีส่วนที่เหมือนกัน ฉนั้นบุคลิกภาพของคนในสังคมเดียวกันก็จะมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนกัน และเป็นลักษณะพื้นฐานที่สมาชิกในสังคมทุกคนจะต้องมี (56-58)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/88.pdf

301 จ678ส11

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551).  สังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 11). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

89

ทฤษฎีบางประการที่เกี่ยวกับช่วงชั้นทางสังคม

ชนชั้น หรือการจัดลำดับทางสังคมนั้นเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์หรือให้โทษต่อสังคม ต้องควบคุมให้อยู่ในระเบียบไม่ให้เกิดความเอารัดเอาเปรียบทางสังคม เพื่อให้สังคมอยู่ได้อย่างมีความสุข (102-104)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/89.pdf

301 จ678ส11

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551).  สังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 11). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

90

ทฤษฎีเชิงขัดแย้ง

กลุ่มคนชั้นสูงมักจะกระทำทุกอย่างโดยอาศัยมนุษยธรรมเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง  ส่วนชนชั้นต่ำจะถูกริดรอนสิทธิและผลประโยชน์ต่างๆ โดยที่ไม่มีสิทธิหรืออำนาจในการต่อรอง

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/90.pdf

301 จ678ส11

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551).  สังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 11). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

91

ทฤษฎีเชิงหน้าที่

เป็นแนวคิดตรงกันข้ามกับทฤษฎีเชิงขัดแย้ง โดยมองว่าการที่สังคมมีหลากหลายชนชั้นก็เพื่อความอยู่รอดของสังคม ชนชั้นสูง หรือผู้นำจะมีหน้าที่ในการพัฒนา บริหารสังคมให้อยู่รอดไปได้

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/91.pdf

301 จ678ส11

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551).  สังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 11). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

92

แนวคิดการพัฒนาเชิงวัฒนธรรม

กล่าวคือการพัฒนาเศรษฐกิจ ชุมชน สิ่งแวดล้อมจะต้องนำเอาวัฒนธรรมมาเป็นแกนกลางหรือเป็นหัวใจในการพัฒนา ไม่พัฒนาเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง เพราะจะเกิดความไม่สมดุลในสังคมขึ้นได้ (15-16)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/92.pdf

338.927 ธ231ก

ธนากร  สังเขป. (2555). การพัฒนาที่ยั่งยืน. วี พริ้นต์ (1991) จำกัด.

93

แนวคิดการพัฒนาตามแนวพระพุทธศาสนา

เป็นแนวคิดใช้หลักคำสอนทางพุทธศาสนามาใช้ในการพัฒนา คืออริยสัจ4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (18-20)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/93.pdf

338.927 ธ231ก

ธนากร  สังเขป. (2555). การพัฒนาที่ยั่งยืน. วี พริ้นต์ (1991) จำกัด.

94

ทฤษฎีใหม่

เป็นแนวทางและวิธีการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริสำหรับเกษตรกรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการจัดการพื้นที่ และนำเอาทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่มาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ (22-25)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/94.pdf

338.927 ธ231ก

ธนากร  สังเขป. (2555). การพัฒนาที่ยั่งยืน. วี พริ้นต์ (1991) จำกัด.

95

ทฤษฎีการพัฒนาแนวมนุษยนิยม

เป็นแนวคิดตามปรัชญาการพัฒนาที่เอามนุษย์มาเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยตั้งสมมุติฐานว่าทำอย่างไรสังคมจึงจะมีมนุษยธรรม ทำอย่างไรความเป็นมนุษย์จึงจะกลับคืนมาสู่มนุษย์อีกครั้งหนึ่ง (29-32)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/95.pdf

338.927 ธ231ก

ธนากร  สังเขป. (2555). การพัฒนาที่ยั่งยืน. วี พริ้นต์ (1991) จำกัด.

96

แนวคิดเรื่องความขัดแย้ง

โดยความเข้าใจทั่วไปมักจะมองว่า ความขัดแย้งเป็นผลเสียเพราะจะทำให้เกิดปัญหาตามมา แต่ผลดีของความขัดแย้งก็มีมากเช่น ทำให้มีความคิดที่ละเอียดรอบคอบ ไม่ทำอะไรไปโดยความประมาท ต้องพิจารณา ไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนก่อน ผสมผสานข้อดีของแต่ละฝ่ายก่อนนำไปปฏิบัติแก้ไขปัญหาต่อไป (65-67)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/96.pdf

338.927 ธ231ก

ธนากร  สังเขป. (2555). การพัฒนาที่ยั่งยืน. วี พริ้นต์ (1991) จำกัด.

97

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา           

–  การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

– นโยบายจากภาครัฐ ที่ให้ผลประโยชน์ต่อส่วนรวม (55-56)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/97.pdf

361.3 ท365ก5

ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. (2545). การสังคมสงเคราะห์ชุมชน มรรควิธีสู่ขุมชนเข้มแข็ง (พิมพ์ครั้งที่ 5).  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

98

ทฤษฎีศักยภาพการพัฒนาและการแพร่กระจาย

–  การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ 

–  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 

–  องค์การสังคม (การปฏิบัติหน้าที่ การประสานงาน การทำงานที่มีประสิทธิภาพ)

–  ภาวะผู้นำ (ความรู้ ความสามารถ การตัดสินใจ ภาวะผู้นำ) (56-57)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/98.pdf

361.3 ท365ก5

ทัศนีย์  ลักขณาภิชนชัช. (2545). การสังคมสงเคราะห์ชุมชน มรรควิธีสู่ขุมชนเข้มแข็ง (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

99

แนวคิดประชาสังคม

ธีรยุทธ บุญมี

– การเกิดจิตสำนึกสังคม

– การเกิดขององค์การสังคม

– การเกิดอุดมการณ์ร่วมของสังคม

– การเป็นสถาบันและกลุ่มองค์กรต่างๆ (57-58)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/99.pdf

361.3 ท365ก5

ทัศนีย์  ลักขณาภิชนชัช. (2545). การสังคมสงเคราะห์ชุมชน มรรควิธีสู่ขุมชนเข้มแข็ง (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

100

แนวคิดประชาสังคม

ประเวศ  วะสี

– เกิดความสุขเมื่ออยู่ร่วมกัน

– มีประสิทธิภาพเพื่อการทำงานที่จะประสบความสำเร็จ

– มีองค์กร มีการเรียนรู้ด้วยกัน (58)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/100.pdf

361.3 ท365ก5

ทัศนีย์  ลักขณาภิชนชัช. (2545). การสังคมสงเคราะห์ชุมชน มรรควิธีสู่ขุมชนเข้มแข็ง (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

101

แนวคิดประชาสังคม

อเนก เหล่าธรรมทัศน์

– เป็นการร่วมกลุ่มของคนแปลกหน้า

– ร่วมกลุ่มแบบความสมัครใจ

– มีการทำงานอย่างเท่าเทียมกัน (58-59)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/101.pdf

361.3 ท365ก5

ทัศนีย์  ลักขณาภิชนชัช. (2545). การสังคมสงเคราะห์ชุมชน มรรควิธีสู่ขุมชนเข้มแข็ง (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

102

แนวคิดด้านสังคมสงเคราะห์แบบก้าวหน้า

– พยายามสร้างสรรค์บริการที่แปลกใหม่ และอย่างเป็นอิสระ

-ให้บริการต่างๆ ถึงมือประชาชนอย่างแท้จริง (179-181)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/102.pdf

361.3 ท365ก5

ทัศนีย์  ลักขณาภิชนชัช. (2545). การสังคมสงเคราะห์ชุมชน มรรควิธีสู่ขุมชนเข้มแข็ง (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

103

แนวคิดด้านการใช้ชุมชนเป็นฐาน

– บริการทางสาธารณสุขขั้นมูลฐาน

– การพัฒนาชนบท (185-187)

https://thelibrary.mju.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/103.pdf

361.3 ท365ก5

ทัศนีย์  ลักขณาภิชนชัช. (2545). การสังคมสงเคราะห์ชุมชน มรรควิธีสู่ขุมชนเข้มแข็ง (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

 

หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่

เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1

โทร 053-873510 ; 053-873511

Facebook MJU Library