การหาสภาวะที่เหมาะสมในการทำปลานิลแดดเดียวด้วยโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์โดยวิธีพื้นที่ผิวตอบสนอง, Optimization of Nile Tilapia Drying Using Solar Green House by Response Surface Methodology

การหาสภาวะที่เหมาะสมในการทำปลานิลแดดเดียวด้วยโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์โดยวิธีพื้นที่ผิวตอบสนอง, Optimization of Nile Tilapia Drying Using Solar Green House by Response Surface Methodology

ปรียา สาพา, ปริฉัตร ปรากฎรัตน์ และ นงพงา แสงเจริญ. (2566). การหาสภาวะที่เหมาะสมในการทำปลานิลแดดเดียวด้วยโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์โดยวิธีพื้นที่ผิวตอบสนอง. เทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ, 17(1). 15-30. https://fishtech.mju.ac.th/FishNew1/Journal_FT_Attach/AbstractFile/P15-30-V17-1-Y2566.pdf

https://fishtech.mju.ac.th/FishNew1/Journal_FT_Attach/AbstractFile/P15-30-V17-1-Y2566.pdf

ชื่อวารสาร เทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ปีที่ 17 เล่มที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2566

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทำปลานิลแดดเดียวด้วยโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์โดยวิธีพื้นที่ผิวตอบสนอง (RSM) และออกแบบการทดลองแบบ Box-Behnken Design ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) ขนาดของปลา (X1) คือ 200, 300 และ 400 กรัม/ตัว (2) ความเข้มข้นของน้ำเกลือ (X2) คือ 0, 5 และ 10% (โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) และ (3) ระยะเวลาในการทำแห้ง (X3 ) คือ 5, 6 และ 7 ชั่วโมง ผลการศึกษาจากกราฟพื้นที่ผิวตอบสนองพบว่า เมื่อระยะเวลาในการทำแห้งเพิ่มขึ้นปริมาณความชื้นของปลานิลแดดเดียวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในขณะที่เมื่อขนาดของปลาและความเข้มข้นของน้ำเกลือเพิ่มขึ้นปริมาณความชื้นของปลานิลแดดเดียวเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p>0.05) ปลานิลแดดเดียวที่ผู้ทดสอบทางประสาทสัมผัสจำนวน 30 คน ให้การยอมรับมากที่สุดคือปลานิลที่ผ่านการทำเค็มและมีขนาด 300 และ 400 กรัม/ตัว ทำให้สภาวะที่เหมาะสมในการทำปลานิลแดดเดียวคือ ใช้ปลานิลขนาด 400 กรัม น้ำเกลือความเข้มข้น 1.8% และระยะเวลาในการทำแห้ง 5.3 ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้ปลานิลแดดเดียวที่ได้มีความชื้นเท่ากับ 80.87% อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ปลานิลแดดเดียวที่ได้มีปริมาณความชื้นตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนปลาแดดเดียว (มผช. 298/2549) กำหนดคือไม่เกิน 65% จะต้องใช้ระยะเวลาในการทำแห้งมากกว่า 8.2 ชั่วโมงซึ่งคำนวณจากสมการที่ได้จากการทดลอง