ครบปีที่พ่อจากไป สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์

ย้อนไปเมื่อ 13 ตุลาคม 2559 นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของประชาชนชาวไทย เมื่อสำนักพระราชวังออกประกาศ เรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต หลังจากเสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาล ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม 2559 ตามที่สำนักพระราชวังแถลงให้ทราบเป็นระยะแล้วนั้น แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ แต่พระอาการประชวรหาคลายไม่ ได้ทรุดหนักลงตามลำดับ ถึงวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม 2559 เวลา 15.52 น. เสด็จสวรรต ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษาปีที่ 89 ทรงครองราชย์สมบัติได้ 70 ปี

วันนี้ผู้เขียนจึงอยากชวนย้อนรำลึกถึง พระราชประวัติรัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ กษัตริย์ผู้สถิตย์ในดวงใจตลอดกาลของปวงชนชาวไทย

พระราชประวัติ
8863_161025100416V4
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น (MOUNT AUBURN) รัฐเมสสาชูเขตต์ (MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงเป็นพระราชโอรสองค์เล็กใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี (เดิมทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์)

การศึกษา

King_Bhumibol_Adulyadej_Portrait-1945เมื่อพระชนมายุได้ 5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร ต่อจากนั้นทรงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนเมียร์มองต์ (MERRIMENT) เมืองโลซานน์ (LASAGNA) ในปี พ.ศ. 2478 ได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่ CEDE NOUBELLE DE LA SUES ROMANCE CHILLY ส่วนระดับอุดมศึกษาทรงเข้าศึกษาใน แผนกวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมืองโลชานน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราช พระบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ

ครองราชย์

10347064_239983392864615_428173622628735679_n

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ขณะนั้นพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมพรรษา 18 พรรษา รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นครองราชย์สมบัติสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์  ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

thediplomat_2016-10-15_00-59-03-386x535

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

-1-2

เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุม โดยทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเช่นเดียวกับประชาชน และได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

พระบรมราชาภิเษก

n20161021145111_68131
วันที่ 5 พฤษภาคม 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”

พระราชธิดา และพระราชโอรส 4 พระองค์ดังนี้

1. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อ 5 เมษายน 2494 ณ โรงพยาบาลมองซัวนี่ โลซานน์
2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ประสูติเมื่อ 28 กรกฎาคม 2495 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมา ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร
3. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลนโสภาคย์ ประสูติเมื่อ 2 เมษายน 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ภายหลังทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อ 4 กรกฎาคม 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน

ทรงพระผนวช

8863_16102510091706

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม–5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงได้รับฉายาว่า ภูมิพโลภิกขุ หลังจากนั้น พระองค์เสด็จฯ ไปประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร

c1e96c91abb7c3c93d777275aa20010f--in-thailand-royal-families

ครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดในโลก

pbox

ในวันที่ 9 มิถุนายน 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์นานที่สุดในโลก ซึ่งในวันดังกล่าวรัฐบาลได้จัดงานมหามงคลการฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยมีพระประมุขและพระราชวงศ์ต่างประเทศ หรือผู้แทนของประเทศต่างๆ 25 ประเทศ ทั่วโลก เสด็จพระราชดำเนินมาร่วมชุมนุมถวายพระพรในมงคลวโรกาสครั้งนี้อย่างสมพระเกียรติ

รางวัลและเกียรติยศ

89862172bb924980bc6da3218a7fe25d_18

พ.ศ. 2514 สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยทูลเกล้าฯ ถวายเข็มทองคำศิลปะภาพถ่าย และสมาคมสหพันธ์ศิลปะการถ่ายภาพนานาชาติ หรือ FIAP ทูลเกล้าฯ ถวายเกียรติบัตรสูงสุดเพื่อสดุดีพระเกียรติคุณว่าทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ที่มีพระปรีชาสามารถเป็นเลิศในศิลปะการถ่ายภาพ
พ.ศ. 2519 ประธานรัฐสภายุโรปและสมาชิกร่วมกันทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญรัฐสภายุโรป”
พ.ศ. 2529 ประธานคณะกรรมาธิการเพื่อสันติของสมาคมอธิการบดีระหว่างประเทศทูลเกล้าฯ ถวาย “รางวัลสันติภาพ”
พ.ศ. 2530 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญทองเฉลิมพระเกียรติคุณในการนำชนบทให้พัฒนา”
พ.ศ. 2535 ผู้อำนวยการใหญ่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญทองประกาศพระเกียรติคุณด้านสิ่งแวดล้อม“ และผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญทองสาธารณสุขเพื่อมวลชน”
พ.ศ. 2436 คณะกรรมการสมาคมนิเวศวิทยาเชิงเคมีสากล ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญรางวัลเทิดพระเกียรติในการสงวนรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ“ และหัวหน้าสาขาเกษตร ฝ่ายวิชาการภูมิภาคเอเชียของธนาคารโลก ทูลเกล้าฯ ถวาย “รางวัลหญ้าแฝกชุบสำริด” สดุดีพระเกียรติคุณในฐานะที่ทรงเป็นนักอนุรักษ์ดินและน้ำ
พ.ศ. 2537 ผู้อำนวยการบริหารของยูเอ็นดีซีพี (UNDCP) แห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญทองคำสดุดีพระเกียรติคุณด้านการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด“
พ.ศ. 2539 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทูลเกล้าฯ ถวาย “เหรียญสดุดีพระเกียรติคุณในด้านการพัฒนาการเกษตร”

1212-f1Thailand-10
พ.ศ. 2549 สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ทูลเกล้าฯ ถวาย “รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” จากการที่ได้ทรงอุทิศกำลังพระวรกายและทรงพระวิริยอุตสาหะในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ เพื่อยังประโยชน์และความเจริญอย่างยั่งยืนมาสู่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศมาโดยตลอด
พ.ศ. 2551 องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล WIPO Global Leaders Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องด้วยงานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริมและพัฒนาประเทศรวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นอย่างโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก

ที่มา