ล้อ ยาง นวัตกรรมจากอดีตสู่อนาคต โดย มิชลิน

การออกแบบที่ซ่อนอยู่ในชีวิตประจำวัน ความมหัศจรรย์ที่เราไม่ทันสังเกต
ในโลกของเรานั้น ทุกสิ่งล้วนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา ปัญหาของอะไรบางสิ่งบางอย่างเราจึง คิด วิธีการที่จะแก้ปัญหาเพื่อมุ่งไปข้างหน้าสู่อนาคตโดย สร้าง เส้นทางในการก้าวไปข้างหน้า และต่อให้คิดและสร้างแล้ว ก็อาจไม่ประสบความสำเร็จหากพวกเรายังไม่ได้ “ออกแบบ” เส้นทางดังกล่าวนั้นอย่างถูกต้อง ซึ่งการออกแบบในที่นี้ไม่ใช่แค่การออกแบบในเชิงรูปธรรม หรือออกแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่หมายถึงการออกแบบในเชิงโครงสร้าง ออกแบบวิธีคิด และวิธีการทำงาน ด้วยเหตุนี้ต่อให้เจอปัญหาก็สามารถใช้กระบวนการคิดและออกแบบวิธีแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์

——————————————


ความสำคัญของ “ล้อ” ต่ออารยธรรมมนุษย์

ล้อถือเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญที่สุดของมนุษยชาติ และมีประโยชน์อย่างมากต่ออารยธรรมของเรา หากโลกนี้ไม่มีล้อ การคมนาคมขนส่งจะลำบากอย่างยิ่ง เราจะต้องใช้สัตว์ในการขนส่ง ซึ่งต้องการการดูแลและค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้ ล้อไม่ได้จำกัดแค่ยานพาหนะ แต่ยังหมายถึงอุปกรณ์ทรงกลมที่หมุนได้ทุกชนิด หากไม่มีล้อ เราจะไม่มีลิฟต์ การก่อสร้างอาคารสูงจะหายไป โรงงานอุตสาหกรรมจะหยุดชะงักเพราะไม่มีสายพานการผลิต และแม้แต่เฟืองในนาฬิกาหรือเครื่องยนต์กลไกต่างๆ ก็จะไม่มีอยู่ ล้อจึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ดูเรียบง่าย แต่มีผลกระทบมหาศาลต่อการขับเคลื่อนโลกใบนี้

——————————————

วิวัฒนาการของล้อ จากไม้แบนสู่ยางอัจฉริยะ

  • ล้อยุคแรกเริ่ม ในปี 2002 นักโบราณคดีได้ค้นพบล้อไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก พบในบึงใกล้เมือง Ljubljana ประเทศสโลวีเนีย โดยมีอายุกว่า 5,000 ปี ซึ่งใกล้เคียงกับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ล้อไม้โบราณนี้ซึ่งเก็บรักษาไว้ใต้ดินที่ชื้นแฉะ เดิมทีเป็นส่วนหนึ่งของเกวียนเทียมวัว และประดิษฐ์จากไม้แอชและไม้โอ๊ค ซึ่งเป็นส่วนผสมที่ทนทานมากจนยังคงเป็นมาตรฐานสำหรับช่างทำล้อในยุโรปจนถึงต้นศตวรรษที่ 20 
    Photo by สาระความรู้

     


  • การพัฒนาสู่ล้อซี่ หลังจากนั้นประมาณ 1,000 ปี ล้อก็มีการอัปเกรดให้มีน้ำหนักเบาลงและหมุนได้ง่ายขึ้น โดยมีลักษณะเป็นซี่ๆ ตรงกลาง คล้ายล้อเกวียนหรือล้อจักรยานในปัจจุบัน ล้อซี่ที่เก่าแก่ที่สุดพบในตุรกีเมื่อประมาณ 4,000 ปีที่แล้ว และภาพเขียนโบราณในอียิปต์เมื่อ 3,500 ปีที่แล้ว ก็แสดงให้เห็นถึงรถม้าที่มีล้อซี่ขนาดใหญ่ (เรื่องรถม้าก็น่าสนใจ และมีประวัติและวิวัฒนาการอันยาวนาน เดี๋ยวเราจะค่อยๆนำมาเล่าในตอนต่อๆไป)
    Photo by ต่วยตูนพิเศษ

  • กำเนิดยางและมิชลิน ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้ยาง และนำยางตันมาหุ้มล้อจักรยานเพื่อให้รองรับสภาพถนนได้ดีขึ้น แม้ว่ามันจะทำให้รถเด้งมาก ต่อมา ได้มีการคิดค้นยางแบบสูบลมได้ เพื่อให้สามารถปรับความยืดหยุ่นได้ อย่างไรก็ตาม ยางสูบลมในยุคแรกมักติดกาวเข้ากับล้อโลหะ ทำให้ยากต่อการเปลี่ยนเมื่อยางแบนหรือชำรุดPhoto by X

  • จุดเริ่มต้นของมิชลิน เกิดขึ้นเมื่อสองพี่น้องอันเดรและเอดัวร์ มิชลิน ซึ่งมีธุรกิจเกี่ยวกับยางอยู่แล้ว ได้พบกับเพื่อนที่จักรยานยางแบนและต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการเปลี่ยนยางที่ติดกาว จากความไม่พอใจนี้ พวกเขาจึงประดิษฐ์ยางแบบสูบลมที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ง่ายภายใน 15 นาที และจดสิทธิบัตรในปี 1891 เพื่อโปรโมทนวัตกรรมนี้ มิชลินได้ให้ ชาร์ลส์ แตร์รองต์ นักปั่นจักรยานชื่อดัง ใช้ยางของตนในการแข่งขันปั่นจักรยานปารีส–เบรสต์–ปารีส และชนะคู่แข่งถึง 8 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวที่งดงาม ยางในยุคแรกของมิชลินมีสีขาว ซึ่งสะท้อนถึงสีตามธรรมชาติของยางดิบ นี่คือเหตุผลที่ สัญลักษณ์ของมิชลิน (Michelin Man) มีสีขาว และแม้จะมีการทดลองเปลี่ยนเป็นสีดำในภายหลัง แต่ผู้คนก็ยังคงจดจำและชอบมิชลินแมนสีขาวมากกว่า

    Photo by commons.wikimedia.org
    Photo by  vogue.co.th
    Photo by Business Insider
    Photo by
    jiwdha

——————————————

มิชลิน: ขับเคลื่อนนวัตกรรม “บนถนนและเหนือกว่า” (On Road and Beyond)

  • จากจักรยานสู่รถยนต์และสถิติโลก ในปี 1895 มิชลินได้ผลิตยางสำหรับรถยนต์รุ่นแรกชื่อ “เอแคลร์” และในปี 1899 ยางของมิชลินได้สร้างประวัติศาสตร์
    ลองนึกภาพกระบอกโลหะยาวกว่า 4 เมตร ตั้งอยุ่บนล้อยางทั้ง 4 ล้อใช้ยาง Michelin โดยมีคนขับนั่งอยู่ด้านบนเหมือนคนขี่ม้าไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่มีรางเหล็ก(รถไฟ) ไม่มีความปลอดภัยในการขับขี่ที่ทันสมัยใด ๆ ขับรถยนต์ไปตามถนนที่ 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่  Achères   Yvelines  ใกล้ Paris นั่นคือ Le Jamais Contente หรือที่เรียกว่า  The Never Satisfied รถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนคันแรกของโลกที่วิ่งได้เร็วถึง 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความสำเร็จนี้สำเร็จครั้งนี้โดยฝีมือนักขับ Camille Jenatzy ชาวเบลเยียมผู้กล้าหาญ ที่ทำสถิตินี้ในวันที่ 29 เมษายน 1899
    ด้วยความมุ่งมั่นที่จะไม่หยุดยั้งการพัฒนา มิชลินจึงมีคติประจำใจว่า “Jamais Content” (ไม่เคยพอใจ) “ในที่นี้หมายถึง ยังไม่พอใจยังดีได้มากกว่านี้” ซึ่งก็คือการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง
    Photo by La Vie au Grand AirPhoto by Depris.cephes.free.fr
  • ขยายสู่ไลฟ์สไตล์และบริการ ในปี 1900 มิชลินได้ริเริ่มจัดทำ “มิชลิน ไกด์” (Michelin Guide) นั้นหมายถึง หนังสือคู่มือเล่มหนึ่ง ซึ่งเป็น Guide Book ชื่อดังระดับโลกที่ถูกจัดทำขึ้นโดยบริษัท Michelin โดยรายละเอียดในหนังสือจะเต็มไปด้วย ข้อมูลการเดินทางต่าง ๆ สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และร้านอาหารคุณภาพดีรสชาติอร่อย ที่ถูกรวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้เล่มเดียวซึ่งแต่เดิมมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนออกเดินทางด้วยรถยนต์ และต่อมาในปี 1926 หลังจากที่หนังสือ Michelin Guide เพิ่มคอลัมน์แนะนำร้านอาหารเข้ามา ก็เริ่มมีการให้คะแนนร้านอาหารต่าง ๆ ด้วยการให้ดาว โดยในช่วงแรกจะมีเพียงสัญลักษณ์แค่ดาวหนึ่งดวงเท่านั้น ก่อนจะปรับระบบการให้คะแนนไปเป็น 1-3 ดาว โดยใช้ชื่อเรียกว่า มิชลินสตาร์ เพื่อดึงดูดนักเดินทางให้สำรวจเส้นทางและลิ้มลองอาหารอร่อย นอกจากนี้ มิชลินยังมีบทบาทสำคัญในช่วงสงครามโลก โดยการผลิตยางสำหรับยุทโธปกรณ์และปรับเปลี่ยนโรงงานเป็นโรงพยาบาล
    Photo by guide.michelin.com
  • นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนในปัจจุบัน ในช่วง 50 ปีหลังของศตวรรษที่ 20 มิชลินได้มุ่งเน้นการพัฒนายางให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเน้นการประหยัดน้ำมัน ลดการปล่อยคาร์บอน และใช้วัตถุดิบรีไซเคิล
    Photo by michelin.co.th

——————————————

มิชลินยังคงคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายในปัจจุบันและอนาคต

  • ยางสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV)
    รถยนต์ EV มีอัตราเร่งสูงและน้ำหนักแบตเตอรี่มาก ทำให้ยางต้องรับแรงกระทำที่แตกต่างไปจากรถยนต์สันดาป มิชลินจึงออกแบบยางที่ทนทานต่อแรงบิดสูงและรองรับน้ำหนักของแบตเตอรี่ได้ดี
    Photo by michelin.co.th
  • ยางไร้ลม (Michelin Uptis) เป็นการย้อนกลับสู่แนวคิดยางแบบไม่ต้องสูบลม ซึ่งช่วยแก้ปัญหาเรื่องยางรั่วหรือยางแบน ยาง Uptis ทำจากวัสดุพิเศษที่ยืดหยุ่นและรองรับแรงกระแทกได้ดีโดยไม่ต้องพึ่งพาลม ยางไร้ลมนี้ดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เพราะช่วยลดปริมาณขยะยางได้ถึง 200 ล้านเส้นต่อปี และมีสโลแกนว่า “Performance made to Last” มิชลินมีเป้าหมายที่จะผลิตยางที่ยั่งยืน 100% ภายในปี 2050

    Photo by werd.com

  • ยางอัจฉริยะ (Smart/Connected Tires) ยางเหล่านี้มีเซ็นเซอร์และไมโครชิปที่สามารถวัดค่าต่างๆ เช่น อุณหภูมิ ความดัน และสภาพผิวถนน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการขับขี่ ข้อมูลเหล่านี้สามารถส่งไปยังคอมพิวเตอร์ของรถ เพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้ขับขี่เกี่ยวกับสภาพยางและการขับขี่ที่เหมาะสม

     

  •  

    Photo by iotworldtoday.com

    ——————————————

ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ “อนาคตอันไกลโพ้น”
  • ยางสำหรับสำรวจอวกาศ มิชลินมีประวัติร่วมงานกับ NASA มายาวนาน โดยผลิตยางให้ยานกระสวยอวกาศ (Space Shuttle) ซึ่งต้องรับความดันลมยางสูงถึง 300 PSI ในภารกิจกว่า 135 ครั้ง ปัจจุบัน มิชลินกำลังพัฒนาล้อและยางสำหรับรถสำรวจดวงจันทร์ (Lunar Rover) ในโครงการ Artemis ของ NASA การผลิตยางสำหรับดวงจันทร์มีความท้าทายอย่างมาก เนื่องจาก
    • อุณหภูมิที่รุนแรง ตั้งแต่ 100 องศาเซลเซียส (ร้อน) ถึง -240 องศาเซลเซียส (หนาว)
    • รังสีอันตราย: รังสี UV เข้มข้นและรังสีคอสมิกที่ไม่มีชั้นบรรยากาศกรอง
    • ฝุ่นดวงจันทร์ (Regolith): มีลักษณะแหลมคมและกัดกร่อนสูง ทำให้ยางเสื่อมสภาพเร็ว
    • ข้อจำกัดด้านพลังงาน: ยางต้องประหยัดพลังงานที่สุดเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านแบตเตอรี่
    • ความทนทาน: ยางต้องทนทานใช้งานได้เป็น 10 ปี เพราะไม่สามารถเปลี่ยนยางบนดวงจันทร์ได้
    • ล้อสำหรับดวงจันทร์ที่ออกแบบมา มีชื่อรุ่นว่า “Moonracer” หรือ “MiLAW” ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากรูปทรงธรรมชาติ เช่น เปลือกหอยนอติลุส

      Photo Illustration by michelin.com
      Photo Illustration by michelin.com
  • ยางงอกได้ (Vision Concept) มิชลินได้นำเสนอแนวคิดยางแห่งอนาคตที่สามารถ “งอก” หรือสร้างเนื้อยางใหม่ได้เอง คล้ายกับปะการัง ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนยางทั้งเส้น แต่สามารถนำไปเข้าศูนย์เพื่อให้เครื่องพิมพ์ 3D พ่นเนื้อยางเสริมตามความสึกหรอ หรือเปลี่ยนลวดลายดอกยางให้เหมาะสมกับสภาพการขับขี่ เช่น การขับบนหิมะ แนวคิดนี้จะช่วยลดขยะยางได้อย่างมหาศาล ในอนาคต รถยนต์ของเราจะมีความฉลาด และยางของเราก็จะมีความฉลาดขึ้น นั่นคือสิ่งที่มิชลินเสนอ แนวคิดวิสัยทัศน์ของบริษัทที่เปิดตัวในปีนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยียางนั้นถือเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ ประการแรก ยางรุ่นนี้ไม่ต้องใช้ลม จึงไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำหนักต่อตารางนิ้วอีกต่อไป นอกจากนี้ ยางรุ่นนี้ยังผลิตจากวัสดุรีไซเคิลเพื่อลดขยะ แต่คุณสมบัติที่น่าประทับใจที่สุดอาจเป็นดอกยางที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้เพื่อให้เหมาะกับสภาพถนนต่างๆ โดยไม่ต้องเปลี่ยนยางเอง ความท้าทายอยู่ที่การหาวิธีทำอย่างรวดเร็ว เทอร์รี เกตตี้ส์ ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการกล่าวว่า “เพราะผู้บริโภคต้องการให้ยางพร้อมใช้งานภายในเวลาไม่กี่นาที” มิชลินประเมินว่ายางรุ่นที่ทันสมัยนี้อาจต้องใช้เวลาอีกถึง 20 ปี แต่คุณสมบัติบางอย่างของยางรุ่นนี้ เช่น การออกแบบไม่ต้องใช้ลมและเซ็นเซอร์ที่แจ้งเตือนผู้ขับขี่เมื่อดอกยางสึก อาจกลายเป็นกระแสหลักในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า Photo Illustration by Allison Schaller

——————————————

นวัตกรรมที่ “เกินกว่า” ยาง มิชลินยังขยายแนวคิดการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าไปยังเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพองลมและวัสดุศาสตร์

    • ใบเรือพลังลม (Wing Sail Mobility – WISAMO) เป็นใบเรือแบบพองลมที่ช่วยให้เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่สามารถใช้พลังงานลมในการขับเคลื่อนเรือได้ ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงและลดการปล่อยคาร์บอน ใบเรือเหล่านี้มีเซ็นเซอร์ไฮเทคที่ช่วยปรับทิศทางเพื่อรับลมได้ดีที่สุด

      Photo by marineindustrynews.co.uk

    • อุปกรณ์ทางการแพทย์แบบพองลม มิชลินได้พัฒนาหมอนรองร่างกายแบบพองลมเพื่อช่วยรองรับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเดินหายใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อให้จัดท่านอนที่เหมาะสมที่สุด นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดห้องปฏิบัติการหรือโรงพยาบาลเคลื่อนที่แบบพองลม ที่สามารถขนย้ายไปติดตั้งในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ และควบคุมสภาพแวดล้อมภายในให้ปลอดเชื้อได้

       

    •  

       

      Photo by abloc.eu

      ——————————————

ล้อประหลาดแห่งโลก (Weird Wheels)
 
  • ล้อที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไม่ใช่ล้อของรถบรรทุกในเหมือง แต่เป็นยางรถยนต์ของมิชลินที่ผลิตขึ้นตามคำสั่งของเจ้าของร้านขายยางในอเมริกา ชื่อเฮสเตอร์ เพื่อตั้งโชว์หน้าร้าน ยางเส้นนี้มีความสูงถึง 4 เมตร (14 ฟุต) และมีราคาประมาณ 55,000 ดอลลาร์สหรัฐ
  • ล้อที่เล็กที่สุดในโลก คือ “นาโนคาร์” (Nano Car) รถยนต์ที่ประกอบขึ้นจากโมเลกุลไม่กี่โมเลกุล มีความยาวเพียงประมาณ 3 นาโนเมตร และสามารถขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าได้เทคโนโลยีนี้ได้รับรางวัลโนเบลและมีการจัดการแข่งขันนาโนคาร์จริงๆ ซึ่งแม้รถจะวิ่งได้เพียงไม่กี่พันนาโนเมตร แต่ก็เป็นการแสดงถึงความก้าวหน้าในระดับนาโนเทคโนโลยี

  • ล้อรูปทรงประหลาด แม้ล้อทั่วไปจะเป็นทรงกลม แต่ก็มีล้อรูปทรงอื่นที่สามารถใช้งานได้
    • ล้อสี่เหลี่ยมหรือสามเหลี่ยมแบบตีนตะขาบ บางครั้งเราอาจเห็นล้อรูปทรงแปลกๆ ที่ดูเหมือนจะวิ่งได้ แต่แท้จริงแล้วมันทำงานแบบตีนตะขาบ ไม่ได้หมุนเป็นรูปทรงนั้นจริงๆ

      970208-M-8708Y-001
      A test Humvee, equipped with four separate tracks for over the snow mobility, is used to support training at the Mountain Warfare Training Center, Bridgeport, Calif. DoD photo by Lance Cpl. E.J. Young, U.S. Marine Corps.
    • สามเหลี่ยมรูโล (Reuleaux Triangle) เป็นสามเหลี่ยมพิเศษที่มีรูปทรงโค้งมน ทำให้เมื่อหมุนแล้วความสูงของล้อจะคงที่ตลอดเวลา จักรยานที่ใช้ล้อทรงสามเหลี่ยมรูโลจึงสามารถวิ่งได้เหมือนล้อปกติ โดยที่แกนหมุนตรงกลางจะเคลื่อนที่ไปเป็นวงกลม
      Gif by Photo by indiatimes.com
    • ล้อรูปทรงใดก็ได้ที่วิ่งด้วยความเร็วสูง หากวิ่งเร็วพอจนถึงจุดหนึ่ง ล้อรูปทรงใดๆ ก็สามารถทำงานได้เสมือนล้อกลม เพราะช่วงที่รถ “ลอย” ขึ้นจากพื้นจะสั้นมากจนขาหรือล้อถัดไปสามารถรับน้ำหนักได้ทัน

——————————————

ล้อ สิ่งประดิษฐ์ที่บ่งบอกความเป็นมนุษย์มากที่สุด เพราะในธรรมชาติ ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดที่มีล้อเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ เนื่องจากระบบเส้นประสาทและเส้นเลือดที่ซับซ้อนภายในร่างกายจะพันกันหากมีการหมุนอย่างต่อเนื่อง สิ่งมีชีวิตที่ใกล้เคียงที่สุดคือด้วงขี้ ที่กลิ้งมูลเป็นทรงกลม

หรือไส้ในของแบคทีเรีย (แฟลกเจลลัม) ที่เป็นมอเตอร์หมุนได้อิสระ ซึ่งเป็นไปได้เพราะมันเป็นเพียงสัตว์เซลล์เดียวที่ไม่มีระบบภายในที่ซับซ้อน
ดังนั้น ล้อจึงเป็นสัญลักษณ์ของความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ การสร้างเครื่องมือเพื่อช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายและก้าวหน้ายิ่งขึ้น ล้อขับเคลื่อนทั้งเทคโนโลยี
นวัตกรรม และโลกใบนี้ให้เดินหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
มิชลินจึงเป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นผ่านแนวคิด “On Road and Beyond”