Logical Communication

ชื่อเรื่อง :   สื่อสารอย่างมีตรรกะ ชนะ (ใจ) ทุกสถานการณ์

ผู้แต่ง : Nishimura Katsumi (นิชิมูระ คัตสึมิ ), Kaya Koichiro (คายะ โคอิจิโร่)

ผู้แปล  :  ประวัติ  เพียรเจริญ

สืบค้นจาก : http://opac.library.mju.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=230417

บรรณานุกรม :
คัตสึมิ, เอน และ โคอิจิโร่, เค. (2551). Logical communication [สื่อสารอย่างมีตรรกะ ชนะใจทุกสถานการณ์]. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

                                                                                           Logical Communication สื่อสารอย่างมีตรรกะ ชนะ(ใจ)ทุกสถานการณ์

 

     หนังสือเล่มนี้จะช่วยเพิ่มทักษะการสื่อสารของท่านได้เป็นอย่างดี   ยิ่งคนที่ต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวันหรือคนที่มีหน้าที่ดูแลเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ ที่วันๆแทบไม่ได้พบปะพูดคุยกับใครมักจะขาดโอกาสที่จะได้สานและสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ จึงทำให้โอกาสที่จะได้ฝึกฝนทักษะในการสื่อสารกับบุลคคลอื่นน้อยลงตามไปด้วย   หนังสือเล่มนี้ขอแนะนำเทคนิคที่ใช้ได้ผลอย่างดีในวงการธุรกิจที่มีชื่อว่า Logical Communication (การสื่อสารอย่างมีตรรกะ หรือ การสื่อสารแบบลอจิคอล) ซึ่งทุกคนสามารถนำไปใช้ได้จริง

Logical Communication คือ การสื่อสารอย่างมีตรรกะ สอดคล้อง และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล ถือเป็นเคล็ดลับการสื่อสารภายในและนอกองค์กรอันชาญฉลาดและเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ นำไปใช้ได้ทันทีทั้งในการทำงานและชีวิตประจำวัน แล้วคุณจะพบว่าการสื่อสารที่มีชีวิตชีวาเป็นอย่างไร !
 
     การสื่อสาร (Communication) นั้นจะเปรียบแล้วก็เหมือนกับการโยนรับลูกบอล (ข้อมูลข่าวสาร) ไปมานั่นเอง ฝ่ายหนึ่งรับลูกบอลที่อีกฝ่ายหนึ่งโยนมา แล้วก็โยนกลับไปยังตำแหน่งของฝ่ายที่โยนมาให้ถูกต้อง การโยนรับลูกบอลไปมาหลาย ๆ ครั้งทำให้ทั้งสองฝ่ายต่างมีข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องร่วมกัน อีกทั้งยังทำให้เข้าใจความคิดของกันและกันมากขึ้นและที่สำคัญที่สุดคือส่งผลให้ทั้งสองฝ่ายเชื่อใจกันมากขึ้นด้วย
     คนที่พูดเก่งไม่ได้หมายความว่าเป็นคนที่สื่อสารเก่งการพูดอยู่เพียงฝ่ายเดียว  ทำให้ข้อมูลข่าวสารถ่ายทอดแค่เพียงทางเดียว  ทุกครั้งที่ฝ่ายตรงข้ามกำลังจะเอ่ยอะไรออกมา ตัวเองกลับแย่งพูดก่อนไปหมด การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันจึงไม่เกิดขึ้น เช่น ขณะที่หัวหน้ากับลูกน้องกำลังสนทนากัน หัวหน้ามักเป็นฝ่ายพูดอยู่ฝ่ายเดียว ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ไม่สามารถเรียกได้เต็มปากว่าเป็น การสื่อสารที่สมบูรณ์
                                                                                                                      
สารบัญ
บทที่ 1 การสื่อสารแบบลอจิคอล
บทที่ 2 ถ่ายทอดอย่างมีตรรกะ เพื่อการสื่อสารที่สัมฤทธิผล
บทที่ 3 พูดและฟังแบบลอจิคอล
บทที่ 4 ถามแบบลอจิคอล
บทที่ 5 รู้จักสไตล์การสื่อสารของตนเอง
บทที่ 6 สื่อสารในองค์กรอย่างมีชีวิตชีวา

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ :
https://www.tpa.or.th
https://www.aobrom.com
http://www.thebookbun.com
http://www.dgtrans.co.th

สนใจหนังสือเล่มนี้ ติดต่อขอใช้บริการ :
Books Seeking & Delivery Service (บริการจัดส่งสำหรับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้)

หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ :
เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1
โทร 053-873510 ; 053-873511

Facebook:  MJU Library