ชื่อบทความ : พฤติกรรมการติดเกม การซื้อสินค้าเสมือนในเกม ลูทบ็อกซ์และการติดพนัน ในเกมออนไลน์ของวัยรุ่นไทย.
ผู้เขียน : ณัฏฐพงษ์ สายพิณ
ชื่อฐานข้อมูล : Academic Search Ultimate. โดย EBSCO Discovery Service
บรรณานุกรม : ณัฏฐพงษ์ สายพิณ. (2564). พฤติกรรมการติดเกม การซื้อสินค้าเสมือนในเกม ลูทบ็อกซ์และการติดพนัน ในเกมออนไลน์ของวัยรุ่นไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 27(2), 21-38.
ภาพแสดงการสืบค้นบทความจาก EBSCO Discovery Service
เนื้อหา : องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) กำหนดให้ติดการพนันเป็นความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่งเรียกว่า Pathological Gambling หรือโรคติดพนัน อาการคือแม้ผู้เล่นการพนันจะมีความทุกข์จากการเล่นพนัน แต่ก็หยุดไม่ได้ยังคงต้องเล่นต่อไป และผู้ที่มีปัญหาจากการพนันหรือผู้ติดการพนัน คือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยตาม เกณฑ์การวินิจฉัยของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ในทางการแพทย์เรียกว่าโรคติดพนัน (Gambling disorder)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการติดเกม การซื้อสินค้าเสมือนในเกม ลูทบ็อกซ์ และการติดพนัน ในเกมออนไลน์ของวัยรุ่นไทย และศึกษาแนวทางการจัดการ การส่งเสริม การป้องกัน การแก้ปัญหา เพื่อสร้างความปลอดภัย และมาตรการรองรับที่จำเป็น ด้วยการวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือในการสำรวจวิจัยจากการวิเคราะห์เอกสาร (Document analysis) เกี่ยวกับพฤติกรรมการติดเกม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interview) และแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยกลุ่มตัวอย่างผู้เล่นเกมออนไลน์ที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาหรืออุดมศึกษาที่มีพฤติกรรมเล่นเกมและเสี่ยงต่อการติดเกมจำนวน 400 คน
ภาพประกอบจาก Pixabay
สรุปผล : สามารถสรุปได้ว่า พฤติกรรมการเล่นเกมและความเสี่ยงติดเกมของวัยรุ่นชายและวัยรุ่นหญิงส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน โดยรวมจัดอยู่ในกลุ่มปกติ รองลงมาเป็นกลุ่มคลั่งใคล้ และเป็นกลุ่มน่าจะติดเกม โดยผลการวิจัยพบว่า
1) พฤติกรรมการเล่นเกมและความเสี่ยงติดเกม (GAST) ของวัยรุ่นไทย ไม่แตกต่างกันทั้งเพศชายและเพศหญิง โดยเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มคลั่งใคล้ และกลุ่มน่าจะติดเกม ตามลาดับ
2) แนวโน้มการติดซื้อสินค้า ไอเทม หรือการพนันในเกมออนไลน์ (PGSI) ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นนักพนันหน้าใหม่ รองลงมาเป็นนักพนันที่มีปัญหา และเป็นผู้เสพติดการพนัน
3) แนวทางการบริหารจัดการพฤติกรรมการเล่นเกมที่เหมาะสมเพื่อสร้างความปลอดภัย ได้แก่ การบริหารจัดการอย่างบูรณาการของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยสร้างการรู้เท่าทันสื่อ มีจรรยาบรรณ และความรับผิดชอบต่อสังคม การยกร่างกฎหมายเกม พระราชบัญญัติการกำกับดูแลเกมและการประกอบกิจการเกม และการป้องกันด้วยการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์
4) พฤติกรรมการเล่นเกมและความเสี่ยงติดเกม (GAST) ของวัยรุ่นชายและวัยรุ่นหญิงไม่แตกต่างกัน โดยพบว่า วัยรุ่นไทยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเล่นเกมและความเสี่ยงติดเกมจัดอยู่ในกลุ่มปกติ รองลงมาเป็นกลุ่มคลั่งใคล้ และเป็นกลุ่มน่าจะติดเกมตามลาดับ เมื่อพิจารณาตามลักษณะประชากร คือ เพศ อายุ และพฤติกรรมการเล่นเกมและความเสี่ยงติดเกมของวัยรุ่นไทย 3 กลุ่ม (กลุ่มปกติ กลุ่มคลั่งใคล้ และกลุ่มน่าจะติดเกม)
ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ
1) หน่วยงานที่ทำงานด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว ต้องให้ความสำคัญกับปัญหาพฤติกรรมการติดเกม การซื้อสินค้าเสมือนในเกม การติดพนันในเกมออนไลน์ โดยต้องบูรณาการทำงานร่วมกันทั้งระบบทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม องค์กรภาคีเครือข่ายภายในและภายนอก โดยสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างการรู้เท่าทัน อยู่บนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อสังคม
2) จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบหลัก โดยกำหนดเจ้าภาพหลักที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในแต่ละด้านในการดำเนินการโดยในเรื่องของการติดเกมและการพนันในเกมออนไลน์ มุ่งเน้นการลดผลกระทบ มีตัวแทนจากทุกภาคส่วน เพื่อเร่งจัดทำแผนงานและมาตรการป้องกันวัยรุ่น โดยเฉพาะการพนันผ่านช่องทางการซื้อขายสินค้า
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1) สร้างการรู้เท่าทันสื่อ (Media, Information & Digital Literacy – MIDL) โดยส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้ และทัศนคติที่ถูกต้องในเรื่องของ เกม ออนไลน์ การติดเกม การพนันในเกม และภัยออนไลน์ในทุกวัย
2) ส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนป้องกันและลดผลกระทบจากการติดเกมและการพนันในเกมออนไลน์ โดยนำรายได้จากผลประกอบการของกลุ่มผู้ประกอบกิจการเกมมาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการป้องกันปัญหาการติดเกมและการพนันในเกมออนไลน์
3) ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยปัญหาเกี่ยวกับการพนัน สาเหตุและผลกระทบจากการพนัน รวมทั้งมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการพนัน
4) ส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการพนัน สร้างการรู้เท่าทัน และการเสริมสร้างเครือข่ายเยาวชนเพื่อป้องกันการติดการพนัน
5) ต้องมีการขับเคลื่อนนโยบายและผลักดันให้มีการยกร่างกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเกมออนไลน์ การติดเกม การพนันในเกมออนไลน์ การโฆษณาแฝง และภัยออนไลน์ ให้เป็นวาระเร่งด่วนในระดับชาติและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพนัน เช่น พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ. 2478 เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : EBSCO Discovery Service | EBSCOhost
สนใจอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : Full Text
การใช้งานฐานข้อมูลนอกเครือข่ายมหาวิทยาลัยทำได้ 2 วิธีดังนี้
1. การใช้งานผ่าน OpenAthens โดยการ Log in หรือยืนยันตัวตนจากอีเมลมหาวิทยาลัยเช่น xxx@mju.ac.th
2. การสืบค้นโดยการเชื่อมต่อ VPN >>วิธีการตั้งค่าการเชื่อมต่อ VPN<<
หากไม่สามารถทำได้ทั้งสองวิธี กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่
หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ :
เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1
โทร 053-873510 ; 053-873511
Facebook: MJU Library