ชื่อเรื่อง : วิธีปั่นหัวคนด้วยสถิติ = How to lie with statistics
ผู้เขียน : ดาร์เรลล์ ฮัฟฟ์
ผู้แปล : นาถกมล บุญรอดพานิช
สืบค้นจาก : http://opac.library.mju.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=288090
บรรณานุกรม : ฮัฟฟ์, ดี. (2557). How to lie with statistics [วิธีปั่นหัวคนด้วยสถิติ]. วีเลิร์น.
ปัจจุบันเป็นยุคที่เราถูกข้อมูลกระหน่ำใส่ในทุกทิศทาง ข้อมูลเหล่านี้ทำให้เราฉลาดขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เราโง่ลงด้วยเช่นเดียวกัน นั่นเป็นเพราะมันเปิดช่องให้ใครบางคนใช้ความน่าเชื่อถือของตัวเลขสถิติต่างๆ มาปั่นหัวเราให้หลงเชื่อ บางครั้งถึงขั้นเชื่อฝังหัวเลยทีเดียว
ลองพิจารณาตัวเลขสติถิอันแสนคุ้นเคยเหล่านี้ดู
♥ รถยนต์รุ่นนี้ประหยัดน้ำมันที่สุด ขับจากเหนือลงใต้ใช้น้ำมันแค่ถังเดียว
♥ รับประกันผิวสวยสุขภาพดีขึ้นภายใน 7 วัน
♥ ผู้ทดลองใช้กว่า 90 เปอร์เซ็นพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าจะกลับมาใช้อีก
♥ แปรงสีฟันที่ทันตแพทย์ส่วนใหญ่เลือกใช้
♥ ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยมีรายได้เฉลี่ย 53,687.53 บาทต่อเดือน
เบื้องหน้าที่ดูเผินๆ เหมือนน่าเชื่อถือ แต่แท้จริงแล้วกลับแฝงไว้ด้วยเล่ห์เหลี่ยมสารพัดรูปแบบเพื่อบิดเบือนให้เข้าใจไปในแบบที่สวนทางกับข้อเท็จจริงเพื่อผลประโยชน์ของใครบางคน (ที่ไม่ใช่คุณ)
ในโลกที่ให้กับความสำคัญกับข้อเท็จจริง ภาษาอันลึกลับของสถิติได้ถูกนำมาใช้กระตุ้นความรู้สึก ต่อเติมเสริมแต่ง สร้างความสับสน หรือทำให้ดูง่ายจนเกินจริง ถึงแม้วิธีการและตัวเลขทางสถิติจะมีความจำเป็นต่อการรายงานข้อมูลจำนวนมหาศาลเกี่ยวกับแนวโน้มทางเศรษฐกิจและสังคม สถานการณ์ทางธุรกิจ การสำรวจความคิดเห็น หรือสำมะโนประชากร หากไม่ได้ใช้สถิติอย่างตรงไปตรงมาหรือขาดความเข้าใจ หรือหากผู้อ่านเองก็ไม่รู้วิธีตีความ มันก็คงจะเป็นเพียงตัวเลขไร้ความหมายที่นำมาร้อยเรียงกันเท่านั้น
หนังสือเล่มนี้จึงจะพาคุณไปรู้จักลูกเล่นสถิติที่ใช้ปั่นหัวคนกันอย่างเเพร่หลาย โดยถ่ายทอดด้วยภาษาที่อ่านเข้าใจง่ายเเละไม่ต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เเถมยังแฝงด้วยมุมมองอันเฉียบคมที่จะช่วยให้คุณวิเคราะห์ตัวเลขเเละข้อมูลที่ผ่านหูผ่านตาทุกวันได้อย่างทะลุปรุโปร่ง “ทันทีที่อ่านจบ คุณจะมีภูมิคุ้มกันจากเล่ห์กลต่างๆ ที่ผู้อื่นนำมาใช้ปั่นหัวคุณ ในทางกลับกัน คุณก็อาจนำกลเม็ดเหล่านี้ไปชักนำผู้อื่นให้คิดไปในทางที่คุณต้องการได้เช่นกัน”
สารบัญ
บทที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นกลาง
บทที่ 2 ค่าเฉลี่ยที่ดิ้นได้
บทที่ 3 ตัวเลขที่หายไป
บทที่ 4 ตื่นเต้นกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง
บทที่ 5 แผนภูมิวิเศษ
บทที่ 6 ภาพหนึ่งมิติ
บทที่ 7 ตัวเลขที่เหมือนจะเกี่ยวข้อง
บทที่ 8 การใช้เหตุผลแบบจับแพะชนแกะ
บทที่ 9 วิธีปั่นหัวคนด้วยสิถิติ
บทที่ 10 วิธีรับมือกับสถิติ
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ :
www.SE-ED.com
www.naiin.com
www.blockdit.com
www.Google.com
www.mercedescusick.com
สนใจหนังสือเล่มนี้ ติดต่อขอใช้บริการ :
Books Seeking & Delivery Service (บริการจัดส่งสำหรับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ :
เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1
โทร 053-873510 ; 053-873511
Facebook: MJU Library