การบริโภคแมลงส่งผลต่อมนุษย์อย่างไร

ชื่อบทความเรื่อง : การบริโภคแมลงส่งผลต่อมนุษย์อย่างไร How does insect eating affect human being?

ผู้เขียน : สุปาณี เลี้ยงพรพรรณ

ชื่อวารสาร : วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2550

บรรณานุกรม :
สุปาณี เลี้ยงพรพรรณ. (2550). การบริโภคแมลงส่งผลต่อมนุษย์อย่างไร. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 10(2), 1-11.

     มนุษย์รู้จักบริโภคแมลงมาตั้งแต่อดีตกาล โดยได้พัฒนาและถ่ายทอดพฤติกรรมดังกล่าวต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ซึ่งการบริโภคแมลงดังกล่าวส่งผลดีคือ ช่วยส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมการบริโภคแมลง ได้แมลงเป็นแหล่งอาหารโปรตีนทดแทน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงแมลงเป็นอาชีพ และช่วยลดการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช ส่วนผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการบริโภคแมลงคือ อาจได้รับพิษจากแมลงที่นํามาเป็นอาหาร และอาจทําให้การควบคุมจํานวนแมลงในระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นจึงควรรู้จักวิธีการบริโภคแมลงให้ปลอดภัยต่อตนเองและเกิดผลดีต่อระบบนิเวศด้วย

     วัฒนธรรมการบริโภคแมลงได้รับการสืบทอดต่อกันมาตามสภาวะทางเศรษฐกิจ เนื่องจากต้องการหาแหล่งอาหารอื่นที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารมาทดแทนเนื้อสัตว์ที่มีราคาแพง

 

     แมลงแต่ละชนิดจะให้คุณค่าทางอาหารต่างกัน  ดังเช่นการศึกษาของ สุทธิ (2528) ที่วิเคราะห์หาส่วนประกอบใกล้เคียง (proximate analysis) ในสภาพตัวอย่างแมลงบดเป็นผงแห้งสนิท (dry basis) 8 ชนิด พบว่าแมลงกุดจี่และแมลงกินูนมีส่วนประกอบโปรตีนสูงสุด ต่อมาองุ่น และคณะ (2542) ได้วิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของแมลงกินได้ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจํานวน 15 ชนิด พบว่า ตั๊กแตนปาทังก้าให้โปรตีนมากที่สุด  หนอนเยื่อไผ่ให้ไขมันมากที่สุด ตั๊กแตนหญ้าคาให้พลังงานมากที่สุด หนอนให้แคลเซียมมากที่สุด และแมลงทับขาแดงให้ฟอสฟอรัสมากที่สุด ส่วนทางภาคใต้จิตเกษม (2544) วิเคราะห์แมลงกินได้ 15 ชนิดในภาคใต้ตอนบน พบว่า จักจั่นให้โปรตีนสูงสุด ด้วงงวงมะพร้าวให้ไขมันสูงสุด และผึ้งมิ้มให้พลังงานสูงสุด

     ซึ่งจากการศึกษาทั้งหมดนี้สามารถสรุปไปในทิศทางเดียวกันได้ว่า แมลงเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่า โดยมีสารอาหารประเภทโปรตีนสูงสามารถใช้เป็นแหล่งโปรตีนเสริมได้ แต่อย่างไรก็ตามการจะส่งเสริมให้บริโภคแมลงชนิดใด ก็จะต้องคํานึงถึงปริมาณที่มีอยู่ในขณะนั้นด้วยว่าเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร เช่น การกินกว่างซางเหนือของชาวบ้านทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งนิยมกินตัวเมียที่มีไข่อยู่เต็มท้อง สามารถพบได้ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูผสมพันธุ์และวางไข่ ดังนั้นการกินกว่างตัวเมียก็เท่ากับเป็นการลดการวางไข่ลงไปโดยปริยาย

 

 

ข้อควรปฏิบัติในการบริโภคแมลง

1)   เป็นแมลงที่มีคนนํามากินเป็นประจํา ทราบชื่อชนิดของแมลงชัดเจน

2)   ควรเลือกบริโภคแมลงที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ป่า ธรรมชาติ หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันกําจัดแมลงศัตรูพืชเลย 

3)   เป็นแมลงที่จับได้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และนํามาปรุงอาหารทันที ส่วนแมลงที่ตายแล้วก่อนจับได้ไม่ควรนํามาปรุงเป็นอาหาร

4)   ควรหลีกเลี่ยงแมลงที่มีสีสันสดใส เนื่องจากมักเป็นแมลงที่มีพิษ

5)   ควรเด็ดปีก ขน ขา หรือหนามแข็งของแมลงออกก่อนที่จะนําไปปรุงอาหาร

6)   ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคแมลงในคนที่เป็นโรคภูมิแพ้

     จากที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดจะเห็นได้ว่า การบริโภคแมลงไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไปแล้ว อีกทั้งสภาพสังคมในปัจจุบันก็กําลังเผชิญกับความถดถอยทางเศรษฐกิจ ในอนาคตแมลงอาจมีบทบาทสําคัญในการนํามาบริโภคเป็นอาหาร แต่ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการบริโภคควรทําตามข้อแนะนํา ในการบริโภคแมลงให้ปลอดภัยอย่างเคร่งครัดด้วย

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ :
https://www.bing.com

สนใจอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ :
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/tsujournal/article/view/68352/55659

สนใจดูบทความอื่นๆในวารสาร :
https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/tsujournal/issue/view/6461

หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ :
เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1
โทร 053-873510 ; 053-873511

Facebook MJU Library