Challenges in the Body System, Brain and Perception in the New Frontier of Thai Children Learning: New Normal

ชื่อบทความ : ความท้าทายในระบบร่างกาย สมอง และการรับรู้ ณ ขอบแดนใหม่แห่งการเรียนรู้ของเด็กไทย: ยุควิถีชีวิตปกติใหม่

ผู้เขียน :
บุญเลี้ยง ทุมทอง

ชื่อฐานข้อมูลDirectory of Open Access Journals โดย EBSCO Discovery Service

บรรณานุกรม : บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2564). ความท้าทายในระบบร่างกาย สมอง และการรับรู้ ณ ขอบแดนใหม่แห่งการเรียนรู้ของเด็กไทย: ยุควิถีชีวิตปกติใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(4), 7-21.

 ภาพแสดงการสืบค้นบทความจาก EBSCO Discovery Service

นื้อหา  : ในขณะโลกที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษาถูกเร่งให้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาด้วยหลากหลายปัจจัย แม้ไม่มี “ไวรัสโคโรนา 2019” เป็นตัวเร่งการศึกษาของไทยซึ่งจําเป็นต้องปรับเปลี่ยนอย่างสิ้นเชิง จึงไม่นับเป็นวิกฤตที่กระตุ้นให้วงการศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งครู ผู้ปกครองนักเรียน ผู้บริหาร ครู นักวิชาการ และทุกส่วนต้องปรับกระบวนทัศน์ กระบวนการ วิธี วิถีคิดให้อยู่รอดได้นั้น แต่ยังเป็นโอกาสและความท้าทาย เพื่อก้าวต่อไปข้างหน้า โดยใช้บทเรียนจากนานาชาติ ปรับประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทที่แท้จริงของเรา ซึ่งผู้เรียนที่เกิดในยุคหลังปี ค.ศ. 1996(พ.ศ. 2539) นี้ว่า Gen Z ที่มีศักยภาพที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง นําตนเอง มีเหตุผล มีจุดสนใจและสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ร่วมกัน ตัวอย่างเช่น

  1. ความคิดแบบขนาน ผู้คนในยุคนี้มีความสามารถพิเศษที่ทํางานหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน เดินไป พูดโทรศัพท์ไปทําการบ้านพร้อมฟังเพลง เล่นเน็ต ดูทีวีใน เวลาเดียวกันได้ หรือเรียกว่า “พวกมัลติทาส์ก(Muti-task)”
  2. การเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างผู้คนเกิดเป็นเครือข่ายสังคม Social network สามารถติดต่อสื่อสารเชื่อมต่อกับคนต่างๆ ระหว่างกันง่ายดาย สื่อสารกันโดยไม่ต้องเผชิญหน้า หรือสร้างคําศัพท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายเช่น อิอิ อุอุ งุงุ งิงิ อะอะ
  3. การมีจินตภาพ จินตนาการ ความนึกคิดจากภาพ หรือการดู ชอบดูรูปภาพ ดูคลิป ชอบอ่านการ์ตูนที่มีรูปภาพสื่อความหมาย
  4. การสร้างสิ่งเสมือนจริง มีการสร้างระบบสมมติให้เหมือนจริง มีสถานะเป็นโลกใหม่ที่เรียกว่า ไซเบอร์สเปช มีความสามารถอวตาร เป็น Avartar ดังที่เห็นในการเล่นเกมออนไลน์
  5. การประยุกต์บนก้อนเมฆ เป็นพวกไม่ชอบเก็บข้อมูล หรือจดจําไว้กับตัว ชอบฝากข้อมูลข่าวสารไว้กับคลาวด์
  6. มีความอดทนระยะสั้น ฝึกทําอะไรให้สําเร็จต้องใช้เวลาสั้น เบื่อง่าย เขียนหนังสือหรือข้อความแบบสั้นเหมือนส่ง SMS มีความอดทนต่อการรอคอยน้อย

 

 
ภาพประกอบในบทความ

สรุปผล : ความท้าท้ายสู่กรอบความคิดใหม่ (New Paradigm) ที่ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต ทําให้อินเทอร์เน็ตแพร่หลายใช้งานอย่างมาก เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ข่าวสารของผู้คนในโลกอย่างกว้างขวาง ขณะที่ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองก็เปลี่ยนแปลงอย่างมากเช่นกัน เพราะมีเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพัฒนาขึ้นมาใหม่ๆ

ดังนั้นสถานศึกษาควรมุ่งเน้นเป้าหมายให้การศึกษา ซึ่งเป็นเครื่องมือเพื่อยกระดับคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง โดยพยายามออกแบบ กระชับหลักสูตร เพิ่มความยืดหยุ่นของโครงสร้างเวลาเรียน ออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย และกระบวนการติดตามประเมินใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 และเหมาะสมตามสถานการณ์การปรับตัวในมิติของศักยภาพในการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดของคนรุ่นใหม่

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : EBSCO Discovery Service | EBSCOhost 

สนใจอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : Full Text

การใช้งานฐานข้อมูลนอกเครือข่ายมหาวิทยาลัยทำได้ 2 วิธีดังนี้

1. การใช้งานผ่าน OpenAthens โดยการ Log in หรือยืนยันตัวตนจากอีเมลมหาวิทยาลัยเช่น xxx@mju.ac.th
2. การสืบค้นโดยการเชื่อมต่อ VPN >>วิธีการตั้งค่าการเชื่อมต่อ VPN<<
หากไม่สามารถทำได้ทั้งสองวิธี กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่

หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ :
เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1
โทร 053-873510 ; 053-873511

Facebook:  MJU Library