เหตุไฉน ไม้ด่าง จึง กระแสแรง ?

ชื่อบทความเรื่อง : เหตุไฉน ไม้ด่าง จึง กระแสแรง ?

ผู้เขียน  : ปกป้อง ป้อมฤทธิ์

ชื่อวารสาร : เคหการเกษตร ปีที่ 45 ฉบับที่ 8 (ส.ค. 2564)

       ณ เวลานี้คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า วงการไม้ประดับ (ไม้ใบ ไม้ด่าง) ได้รับอานิสงส์จากการระบาดของ COVID-19 จนเรียกได้ว่าเป็นช่วงขาขึ้น ผลของการหยุดอยู่บ้านทำให้คนหันมาปลูกต้นไม้เป็นงานอดิเรกทำให้ ตลาดไม้ด่างกลายเป็นกระแสที่สนใจอย่างรวดเร็วโดยมีองค์ประกอบ ดังนี้

 

     1.การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้หลายคนมองหางานอดิเรกทำ หนึ่งในนั้นคือการปลูกเลี้ยงตั้นไม้

     2.ความหลากหลายของไม้ดอกไม้ประดับรวมถึงลูกเล่นต่างๆที่ทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงรายใหม่หลงไหลได้ไม่ยาก

     3.อิทธิพลจากสื่อโซเชียลมิเดีย เช่น เฟซบุ๊ก อินสตราแกรม ยูทูป

     4.อิทธิพลจากดารานักแสดงซึ่งปลูกเลี้ยงต้นไม้เป็นงานอดิเรกและโพสรูปลงอินสตราแกรมหรือเฟซบุ๊ก

     5.ความก้าวหน้าของระบบขนส่งซึ่งมีให้เลือกหลายบริษัท ต้นไม้จึงถูกจัดส่งถึงหน้าบ้านภายใน 1-2 วัน

      ทั้งนี้กระแสความนิยมต้นไม้และราคาต้นไม้ อาจสูงขึ้นแบบหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนไป ซึ่งแต่ละวงรอบอาจใช้เวลา 15-20 ปี (สุรวิช : 2564) ซึ่งหากคิดย้อนอดีตกลับไปในช่วงที่กระแสไม้ใบ ไม้ด่างกำลังบูม จะอยู่ในช่วงราวๆ ปี 2544 – 2550 (ปราโมทย์ : 2564)ซึ่งช่วงนั้นชาวต่างชาติ ทั้งที่เป็นนักสะสมและผู้ค้าต้นไม้ที่เดินทางมาเลือกซื้อต้นไม้ด้วยตนเอง ได้มีส่วนทำให้กระแสของไม้ใบ ไม้ด่าง บูมขึ้นมาแต่ปัจจุบันเนื่องด้วยการระบาดของโรคโควิด-19 จึงเกิดการชะลอหรือสั่งห้ามเดินทางข้ามประเทศ ทำให้ชาวต่างชาติไม่สามารถเข้ามาเลือกซื้อต้นไม้ที่ประเทศไทยได้เฉกเช่นเมื่อก่อน


       พื้นที่ปลูกและมูลค่าการส่งออกไม้ประดับ พบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกไม้ประดับทั้งสิ้น 53,862.34 ไร่และมีมูลค่าการส่งออกไม้ประดับทั้งสิ้น 791,584,337.72 บาท ซึ่งในส่วนของมูลค่าการส่งออกไม้ประดับที่มีลักษณะด่างที่ประเทศไทยส่งออกไปต่างประเทศมีมูลค่าทั้งสิ้น 1,691,553.37 บาทแบ่งออกเป็นไม้ประดับด่าง ไม่แยกสกุล และไม้ประดับด่างแบบแยกสกุล

 

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ :

Today I Have Plants

สนใจขอบทความฉบับเต็มได้ที่:

http://opac.library.mju.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=359859

หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่

เคาน์เตอร์ยืมคืน ชั้น 1

โทร 053-873510

Facebook MJU Library