Column: Believe it or not
อ. นพ.นรินทร์ อจละนันท์ จากสาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้แสดงความคิดเห็นในนิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ ว่าจากกรณีที่มีข่าวเมื่อหลายเดือนก่อนเกี่ยวกับการรับประทานชานมไข่มุก แล้วพบในผู้หญิงท่านหนึ่งว่ามีไข่มุกติดค้างอยู่ในร่างกายนั้น จากที่ได้เห็นภาพแล้ว คิดว่าไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง เหตุผลมีอยู่ 2 อย่างคือ
- ชานมไข่มุกมีคุณสมบัติเป็นแป้ง ภาพที่เห็นในเอ็กซเรย์เป็นสีขาว ซึ่งสีขาวแบบนี้โดยทั่วไปแล้ว เป็นสิ่งที่ค่อนข้างมีความแข็งพอสมควร เช่น กระดูก หรือโลหะบางอย่าง หรืออุจจาระที่อัดแน่น
- เม็ดของไข่มุกเนี่ย จะเป็นแป้ง ซึ่งเป็นแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งพอรับประทานเข้าไปแล้ว จะย่อยสลายตั้งแต่ลำไส้เล็กแล้ว จึงทำให้ไม่เห็นลักษณะของเม็ดไข่มุกในระบบลำไส้ใหญ่
ตัวไข่มุกไม่น่าจะทำให้เกิดการอุดตันในลำไส้ได้ ยกเว้นถ้าผู้ที่รับประทานมีโรคที่ผิดปกติอยู่ เช่น ลำไส้เล็กตีบ จากเพราะพังผืด จากก้อน หรือจากแผลบางอย่างที่กดลำไส้
โดยทั่วไป ถ้าเป็นเม็ดไข่มุกที่ทำมาจากแป้งมันสำปะหลังธรรมดา ย่อมไม่สามารถจะอุดตันได้ แต่ถ้าเกิดสิ่งที่ผสมเข้ามา เกิดไม่ใช่แป้ง อาจจะเป็นเม็ดพลาสติก หรืออะไรที่ผสมเข้ามา เรียกว่าเป็นเม็ดไข่มุกปลอมดีกว่า ก็อาจจะทำให้เกิดการอุดตันได้
ที่มา : นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพโรงพยาบาลรามาธิบดี