fbpx

พิสูจน์ ไร่อ้อยสุพรรณ จุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ปราบวัชพืชได้ผล

พิสูจน์ แล้ว ไร่อ้อยวสุพรรณ ใช้จุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์กำชัดวัชพืช ได้ผลจริง หลังก่อนหน้านี้ขอขึ้นทะเบียนกรมวิชาการไม่ได้

พิสูจน์ ไร่อ้อยสุพรรณ จุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ปราบวัชพืชได้ผล

10 พฤศจิกายน 2562 นายอลงกรณ์ พลบุตร  ที่ปรึกษารมว. เกษตรฯ พร้อมด้วยนายวรยุทธ บุญมี  ผอ. กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืนและ เจ้าหน้าที่ กนท.กกส.และกษ.สุพรรณบุรี
ตัวแทนนักวิจัย เอกชน ที่ร่วมกันศึกษา“จุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ “ ร่วมกับ ม. แม่โจ้ ได้ ร่วมกันเข้า ตรวจสอบ แปลงอ้อยอินทรีย์ของ นายสุรินทร์ ขันทอง บ้านหนองมะค่าโหม่ง ต.หนองมะค่าโหม่ง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งมีการปลูกอ้อยอินทรีย์ 600ไ ร่ โดยใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดวัชพืช เพื่อเป็นการพิสูจน์ ว่าสามารถใช้ได้ผลจริงหรือไม่ หลังจากพบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีการกำจัดวัชพืชที่ใช้ “จุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์” และไม่มีการใช้สารเคมี

นายอลงกรณ์ เปิดเผยว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว. เกษตรฯ ให้ตนพร้อมตัวแทนจากกระทรวงเกษตรฯ ลงตรวจสอบข้อมูลหลังจากที่ผ่านมา มีการเสนอข้อมูลจากนักวิจัยเอกชน บางกลุ่มที่ทำงานวิจัยร่วมกับ ม. เกษตรแม่โจ้  แจ้งว่ามีการศึกษาวิจัย เรื่องการ “จุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ “  ที่นำมาใช้ในการทำการเกษตรทั้งระบบและสามารถใช้ได้ผลจริง ตั้งแต่การปรับปรุงบำรังดินที่เคยใช้สารเคมี ให้กับมาเป็นดินที่ไม่มีสารเคมีตกค้าง
ขณะเดียวกันยังมีการศึกษา เรื่องการใช้ “จุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ “ ในการกำจัดวัชพืช ได้จริง  โดยก่อนหน้านี้ นาย เฉลิมชัย  รมว. เกษตรฯ ได้สั่งให้มีการตั้งคณะทำงานได้ศึกษา ในการหาสิ่งทดแทน ที่จะเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรหลังจากที่คณะกรรมการวัตถุอันตราย มีมติให้แบน 3 สารเคมี ที่เป็นสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดวัชพืชและแมลง ซึ่งหากไม่มีสิ่งทดแทนที่ชัดเจน อาจสร้างปัญหาให้กับเกษตรกรได้ จึงตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาและหาทางออก กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งระบบ

นายอลงกรณ์ เปิดเผยว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว. เกษตรฯ ให้ตนพร้อมตัวแทนจากกระทรวงเกษตรฯ ลงตรวจสอบข้อมูลหลังจากที่ผ่านมา มีการเสนอข้อมูลจากนักวิจัยเอกชน บางกลุ่มที่ทำงานวิจัยร่วมกับ ม. เกษตรแม่โจ้  แจ้งว่ามีการศึกษาวิจัย เรื่องการ “จุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ “  ที่นำมาใช้ในการทำการเกษตรทั้งระบบและสามารถใช้ได้ผลจริง ตั้งแต่การปรับปรุงบำรังดินที่เคยใช้สารเคมี ให้กับมาเป็นดินที่ไม่มีสารเคมีตกค้าง
 
ขณะเดียวกันยังมีการศึกษา เรื่องการใช้ “จุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ “ ในการกำจัดวัชพืช ได้จริง  โดยก่อนหน้านี้ นาย เฉลิมชัย  รมว. เกษตรฯ ได้สั่งให้มีการตั้งคณะทำงานได้ศึกษา ในการหาสิ่งทดแทน ที่จะเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรหลังจากที่คณะกรรมการวัตถุอันตราย มีมติให้แบน 3 สารเคมี ที่เป็นสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดวัชพืชและแมลง ซึ่งหากไม่มีสิ่งทดแทนที่ชัดเจน อาจสร้างปัญหาให้กับเกษตรกรได้ จึงตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาและหาทางออก กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งระบบ

 
โดยหลังจากมีนักวิจัยกลุ่มหนึ่งได้นำข้อมูลที่มีการศึกษาวิจัยมาให้กระทรวงเกษตร พิจารณาส่งเสริมให้มีการผลิต “ “จุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ “ และมีการใช้ จริงในพื้นที่ สุพรรณบุรี จึงลงตรวจสอบในพื้นที่ และจาการสอบถามข้อมูลทั้งจาก กลุ่มนักวิจัย และ ผู้ใช้ จริงก็ พบว่าที่ผ่านมา จุลินทรีย์ และชีวภัณฑ์ ที่มีการผลิต มีการใช้ ในกลุ่มคนบางกลุ่ม เพราะมีปัญหาเรื่องการขึ้นที่ทะเบียนของทางกรมวิชาการเพราะ กรมวิชาการจะมี การขึ้นทะเบียนให้เฉพาะชีวภัณฑ์เชิงเดี่ยว เท่านั้น จึงติดเงื่อนไขการขึ้นทะเบียน ทั้งหมด เพราะจุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ ที่ทดลองใช้ เป็นเชิงอนุพันธ์ จึงมีปัญหา เพราะตามกฎหมายในการขึ้นทะเบียน และ ชีวภัณฑ์ ทางเลือกทุกชนิดที่จะสามารถจำหน่ายได้ ต้องการผ่านการรับรองจากกรมวิชาการทั้งหมด เพื่อให้การคุ้มครองเกษตรกร เช่นเดียวกับสารเคมีทั้งหมดเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตามการประชุมคณะกรรมการศึกษาผลกระทบหลังยกเลิก 3 สาร  ที่มีการประชุมครั้งแรกก็ พบว่าหลังมีการแบน สารเคมี 3 ชนิด  ที่ผ่านมา ยังไม่มีการเตรียมพร้อมเรื่องสิ่งทดแทน ในส่วนสารเคมีที่ถูกแบน จึงได้สั่งการ ให้ทางกรมวิชาการเสนอทางเลือก เข้ามา ปรากฏว่า ในส่วนของกรมวิชการการเสนอมา ส่วนใหญ่เป็นสารเคมี  ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเหมาะสม เมื่อแบน สารเคมี และต้องการยกเลิกการใช้สารเคมี ก็ไม่ควรนำสารเคมีมาทดแทน
 
หลังจากการตรวจสอบก็พบว่า มีจุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ ที่ เป็น ทางเลือกอีกทางไม่มีการเสนอมา จึงได้มีการสอบถาม ก็ พบว่า ยังไม่เคยมีการขึ้นทะเบียนรับรอง จึงไม่สามารถเสนอต่อที่ประชุมได้  แต่ในที่ประชุม ก็ ด้มีการนำเสนอข้อมูลจาก ทางนายวรยุทธ บุญมี  ผอ. กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน หรือกนท.ว่ามีจุลินทรีย์ ชีวภัณฑ์ ที่มีการใช้จริง ตนจึงเข้ามาตรวจสอบ เพื่อสรุปข้อมูลต่อที่ประชุมอีกครั้ง ซึ่งจะมีการประชุม ในวันที่ 14 พฤศจิกายน นี้  โดยจากข้อมูลที่มีการสอบถาม นักวิจัย และเกษตรกรที่ใช้จริง พบว่า มีต้นทุนการผลิต โดย เฉลี่ย พอกับ ต้นทุน ของสารเคมีที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายที่แบนก่อนหน้านี้ แต่มีข้อดีคือ  ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์ ทั้งหมด ซึ่งปลอดภัย สามารถพิสูจน์ได้

https://www.komchadluek.net/news/agricultural/398247

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

บันทึกการตั้งค่า