แรงบันดานใจจากต้นสุพรรณิการ์ สู่การทำสีย้อมจากธรรมชาติและเส้นใย

มีประโยค ๆ หนึ่ง ที่มักมีคนหยิบยกมาพูดเสมอ ๆ ว่า “คนเรามักมองไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวจนกว่าจะมีอะไรก็ตามมากระตุ้นและชักจูงให้มองเห็นค่าของสิ่ง ๆ นั้น” …แล้ววันหนึ่ง…ที่เราเริ่มน าประโยค ๆ นี้มาพิจารณา และหยุด…เพื่อพัก…ไม่ว่าจะด้วยความเหนื่อยล้า หรืออะไรก็ตาม สิ่งที่มองหาจริง ๆ แล้วเป็นเพียงแค่ที่พักพิงที่คิดว่าดีและปลอดภัยที่สุดส าหรับตัวเอง และนั่น คือสิ่งใกล้ตัวที่เรามองหา สิ่งแรกที่นึกถึงคือ “บ้าน” บ้านในความคิดของข้าพเจ้าคืออะไร…คือบ้านสวน คือบ้านของเราที่อยู่ในสวน เป็นบ้านที่มีสวน มีต้นมะม่วงเยอะแยะมากมาย บ้านแห่งนี้มีชื่อว่า “สวนมะม่วงอาจารย์ประทีป” สวน…ที่มีอาจารย์ประทีปเป็นผู้สร้างมันขึ้นมา และในวันหนึ่งที่ได้กลับมามองสวนแห่งนี้…ด้วยความรักและความสุข จนอยากจะท าให้เกิดเป็นความสนุก พืชพันธุ์ต่างๆที่อยู่ภายในสวนของพ่อ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ข้าพเจ้าจะหยิบยกมาสร้างสรรค์เป็นพื้นฐานแห่งความรู้ต่อไป..

จากเนื้อหาบางส่วนของคำนำจากผู้เขียนหนังสือ ebook “สีสันจากในสวน” โดย รองศาสตราจารย์ประภากร สุคนธมณี อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะสิ่งทอ ภาควิชาประยุกตศิลป์ศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ได้กล่าวไว้ จึงนำไปสู่การเขียนหนังสือโดยให้ความรู้ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ เกี่ยวกับการย้อมผ้าจากสีธรรมชาติ

 

สีและการย้อม

ที่ประกอบไปด้วยการทำความสะอาดเส้นใย การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการย้อม การเตรียมสารช่วยติด/ สารกระตุ้น/ สารช่วยย้อม 
การใช้สารช่วยติด สารช่วยติด หรือสารกระตุ้น หรือสารช่วยย้อม และการสกัดน้ำด่างจากขี้เถ้า (วัสดุจากในสวน)

สีย้อมจากในสวน

ที่ได้นำพืชชนิดต่าง ๆ มาทำเป็นสีย้อม เช่น มะม่วง สุพรรณิการ์ อัญชัน ขนุน สตาร์แอปเปิ้ล/ลูกน้ำนม มะม่วงหาว ดาวเรือง มะยม มะพร้าวน้ำหอม แก้ว หม่อน เป็นต้น

สีย้อมกับการสร้างสรรค์

เมื่อได้สีธรรมชาติสำหรับการย้อมแล้ว ก็มาถึงการสร้างสรรค์งานผ้าด้วยเทคนิคมัดย้อมจากสีธรรมชาติ การมัดย้อมด้วยสีจากมะม่วงหาว การมัดย้อมด้วยสีจากคราม

และจากคำกล่าวของผู้เขียนที่ว่า “สีธรรมชาติที่ใช้ในการย้อมได้จากพืชพันธุ์ในสวน ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ และ ผล อีกทั้งขบวนการย้อมมิได้ใช้สารเคมีใด ๆ มีเพียงสารจากธรรมชาติช่วยย้อม เช่น น้ำด่าง ได้จากเถ้าของส่วนต่าง ๆ ของเปลือกต้นกล้วย น้ำโคลน ได้ยากดินในบ่อน้ำในสวน ที่มีขังอยู่ตลอดปี หรือสังกะสี ได้จากเศษสังกะสีเก่า เศษตะปู เศษเหล็ก กระบวนการย้อมสีธรรมชาติทั้งหมดนี้ จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ต่อสิ่งแวดล้อมและผู้คนรอบข้างทั้งสิน” แสดงให้เห็นว่าทุกกระบวนการในการย้อมสีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ยังไม่มีอัตรายกับผู้ที่สวมใส่เสื้อผ้าที่ได้จากการย้อมแบบธรรมชาติอีกด้วย หากอยากศึกษาและเรียนรู้วิธีการย้อมเพื่อนำไปทดลองทำ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ สีสันจากในสวน  ในรูปแบบ ebook เล่มนี้

 

ข้อมูลหนังสือ
ชื่อหนังสือ สีสันจากในสวน
ผู้แต่ง ประภากร สุคนธมณี
เลขหมู่ 667.3 ป341ส
ลักษณะทางกายภาพ 96 หน้า: ภาพประกอบ
พิมพลักษณ์ กรุงเทพฯ: ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2562
URL http://mdc.library.mju.ac.th/ebook/350412.pdf