หากคุณพูดจาไม่รู้เรื่อง อ่านหนังสือไม่ค่อยเข้าหัว ขี้ลืม วอกแวกง่าย ขี้หงุดหงิด ขี้รำคาญ เบื่อง่าย ขาดความกระตือรือร้น ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องธรรมดาอย่างที่หลายคนคิด แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนที่บอกว่า คุณกำลังเผชิญกับอาการ “สมองแก่” เข้าให้แล้ว
สำหรับหนังสือเรื่อง อยู่อย่างไรให้สมองไม่แก่ ผู้เขียนเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านสมอง เลยทราบว่าโครงสร้างหนังสือควรจะเป็นแบบไหน หนังสือกำหนดโครงสร้าง 15 พฤติกรรมออกเป็น 3 ส่วน
1. ปรับรูปแบบการใช้ชีวิต ว่าเราควรจะมีพฤติกรรมอย่างไรบ้างเพื่อให้สมองเราได้มีพัฒนาการคงที่หรือเพิ่มขึ้น เช่น เราควรออกกำลังกายให้เลือดไหลเวียน วอร์มอัพสมองด้วยการออกกำลังกาย เดินให้เลือดไหลไปสู่สมองมากขึ้น (เป็นสาเหตุว่ามักจะคิดงานออกในช่วงที่เดิน) ทำงานจุกจิกเล็กน้อย นอนให้เร็ว หลายอย่างดูแล้วต้องเอามาปรับใช้จริงๆ ครับ คุณหมอรูปแบบการใช้ชีวิตแบบนี้ต้องค่อยๆ ปรับให้ชินจนเป็นนิสัย เราดื้อได้ แต่ไม่ใช่ว่าดื้อบ่อยจนเป็นนิสัย
2. ฝึกพัฒนาการสมอง คุณหมอจะเน้นที่การพัฒนาสมองกลีบหน้ามากเป็นพิเศษ พัฒนาทั้งด้านความจำ การทำงาน การประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างความเชื่อมโยงของข้อมูลที่รับเข้ามา เช่น เราต้องท้าท้ายตัวเองอยู่เสอม กำหนดเส้นตายหรือกรอบการทำงานให้ตัวเองบ่อยๆ อย่างเช่น ต้องพูดหัวข้อ “xxx” ให้กับ “yyy” เข้าใจได้ภายในเวลา 15 นาที การทำแบบนี้จะช่วยให้เราจัดระเบียบความคิดเพื่อรีดเร้นเอาหัวข้อสำคัญและจำเป็นจริงๆ ที่คิดว่า “yyy” จะเข้าใจได้ในเวลาที่กำหนดนั้นออกมา ไม่พูดเยิ้นเย้อนอกเรื่อง หรือแม้กระทั่งการนอนที่จำเป็นมาก เพราะการนอนหลับนั้นจะทำให้สมองจัดระเบียบข้อมูลที่ได้รับมาทั้งวัน ให้ดีมากยิ่งขึ้น
3. การดูแลรักษา อย่างหนึ่งที่คุณหมอพูดบ่อยมากคือการลดน้ำหนัก และความดันโลหิต ในแง่ของการบำรุงรักษาสมอง เพราะเมื่อความดันโลหิตสูงเท่าไหร่ สมองย่อมได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงลำบากมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ทำให้ดูเฉื่อยชาหรือง่วงอยู่ตลอดเวลาทั้ง ๆ ที่พักผ่อนเพียงพอ
ในส่วนท้าย คุณหมอได้พูดถึงเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจมาก เพราะหลายคนน่าจะมีอาการแบบนี้บ่อย ๆ นั่นก็คือเรื่องของการลืมนั่นลืมบ่อยๆ นี่เอง เรื่องนี้ไม่ได้มาจากความสะเพร่าอย่างเดียว แต่เป็นเพราะตอนที่ทำเรื่องนั้น เช่น วางกระเป๋าสตางค์ ขานรับเมื่อมีคนช่วยวานให้ทำงานให้ นั้นเราทำไปโดยอัตโนมัติ ข้อมูลนั้นไม่ผ่านเข้าสู่สมองการเรียกคืนความจำที่มีต่อเรื่องๆ นั้นจึงเป็นไปได้ยาก หรือไม่มีทางเป็นไปได้เลย วิธีการหนึ่งที่ช่วยได้คือการพูดออกเสียง เพราะการพูดออกเสียงนั้นช่วยเอาความคิดของเรามาเรียบเรียงเป็นคำเพื่อส่งไปแปลงเป็นคำพูด เพื่อพูดออกมา หูของเราจะได้ยินเสียง และส่งกลับมายังสมองอีกที ทั้งนี้การจดบันทึกด้วยมือยังเป็นใช้ได้เหมือนกันอีกด้วย นั่นเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมเราจึงจำสิ่งที่เราเขียนได้มากกว่าสิ่งที่เราอ่านในใจ โดยสรุปแล้ว หนังสือเล่มนี้เป็นเนื้อหาเบื้องต้นและข้อควรระวังสำหรับช่วยบริหารสมองให้มีพัฒนาการคงที่หรือไม่น้อยลงไปกว่าเดิม
ในทีนี้เราจะขอสรุปถึงพฤติกรรมหลัก ๆ ที่เราสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิต ของเราดังนี้
เข้านอนและตื่นเป็นเวลา
เรื่องแรกนี้เป็นเรื่องที่บางครั้งทำได้ง่ายแต่บางครั้งก็ยากสำหรับเราเพราะบางทีก็ไม่สามารถเข้านอนและตื่นเป็นเวลาเดียวกันได้ค่ะ
ขยับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้แก่ แขน ขา และปากในตอนเช้า
ก่อนเริ่มการทำงานในวันใหม่ควรเริ่มต้นด้วยการขยับแข้งขยับขาเช่น เดินเล่น แกว่งแขน หรือยืดเส้นยืดสายเบา ๆ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมอง (เพราะสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้าอยู่บริเวณด้านบนของกระโหลก ดังน้นการเดินจึงทำให้เลือดสูบชีดไปเลี้ยงสมอง)
หรืออีกวิธีหนึ่งนั่นคือกล่าวทักทาย และพูดคุยสั้น ๆ กับเพื่อนร่วมงาน อันเป็นการบริหารสมองส่วนการเคลื่อนไหว เพื่อให้สมองส่วนควบคุมความคิดใช้งานได้ดียิ่งขึ้น
กำหนดเป้าหมายการทำงานในแต่ล่ะวันและทำให้เสร็จทันตามกำหนด
สาเหตุที่ต้องทำแบบนี้ก็เพื่อให้สมองรู้จักการกำหนดความสำคัญ ยกตัวอย่างเช่นในหนึ่งวันเราอาจมีงานหลายงานเข้ามาพร้อมกันและเราตั้งใจให้งานทั้งหมดเสร็จวันเดียวกัน ดังนั้นภายใต้เวลาที่จำกัดเราจึงจำเป็นต้องเลือกว่าจะหยิบงานไหนมาทำก่อน และงานไหนควรหยิบมาทำเป็นชิ้นต่อไปอย่างนี้เป็นต้นค่ะ
บันทึกข้อผิดพลาด
จดบันทึกข้อผิดพลาดในแต่ล่ะวันเพื่อที่เราจะได้ไม่ทำซ้ำ และเอาไว้ใช้ทบทวนเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นในครั้งถัดไป เพราะถ้าไม่จดเราก็มีโอกาสที่จะลืมและทำผิดซ้ำเรื่องเดิมในครั้งต่อไปทั้งนี้ก็เพื่อให้สมองของเราไม่เสื่อมก่อนวัยอันควร
ถ้าใครบังเอิญโชคดีมีคนคอยให้คำแนะนำ ถือเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ เลยนะคะ เพราะบางครั้งเราเองก็มักจะมองไม่เห็นข้อผิดพลาดของตัวเอง ดังนั้นการมีคนรอบข้างตักเตือนจึงถือเป็นเรื่องที่ดีค่ะ
สำหรับหนังสือเล่มนี้ห้องสมุดเรามีให้บริการแล้วนะคะ สามารถตรวจสอบสถานะได้นะคะ (คลิกเพื่อตรวจสอบสถานะ)
ข้อมูลหนังสือ
อยู่อย่างไรให้สมองไม่แก่
ผู้เขียน: ซุกิยะมะ ทะคะชิ
ผู้แปล: ภาณุพันธ์ ปัญญาใจ
สำนักพิมพ์: วีเลิร์น (WE LEARN)
จำนวนหน้า: 238 หน้า ปกอ่อน
พิมพ์ครั้งที่ 1 — สิงหาคม 2560
ISBN: 9786162872198
ขอบคุณข้อมูลจาก : we.in.th ; medium.com ; readery.co