หลายวันมานี้หลายๆคนอาจจะได้เห็นโฆษณา Lazada 6th Birthday Festival ซึงเป็นมหกรรมลดราคาสุดยิ่งใหญ่ฉลองครบรอบ 6 ปี ของ LAZADA ตามสื่อต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่การเข้าไปติดตามข่าวสารในเว็บไซต์ก็จะมีโฆษณาจาก LAZADA ขึ้นมาให้เห็นกันบ่อยครั้ง รวมถึงการมาเมืองไทยของ Jack Ma มหาเศรษฐีชาวจีน เจ้าของ Alibaba e-commerce รายใหญ่จากเมืองจีน ที่สร้างปรากฏการณ์ขายทุเรียนออนไลน์ 80,000 ลูก ภายใน 1 นาที ที่เริ่มมีกระแสไม่แน่ใจว่าจะช่วยชาวสวนทุเรียนให้ดีหรือช่วยให้แย่ ก็ต้องดูกันยาวๆ แต่ที่แน่ๆขาช๊อปไม่ควรพลาด 25-27 เมษายน นี้ที่ lazada.co.th
ทำความรู้จักกับ LAZADA
Lazada ก่อตั้งโดย Rocket Internet สตาร์ทอัพจากเยอรมนี ในปี 2012 ด้วยแนวคิดที่อยากจะทำเว็บไซต์ E-Commerce แนวเดียวกับ Amazon และ Alibaba แต่ Lazada เลือกทำในสิ่งทั้ง 2 เจ้าไม่ทำนั่นคือเจาะตลาดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีจำนวนหลายประเทศและมีช่องว่างให้เห็นแนวโน้มที่จะเติบโต Lazada ขยายตลาดสู่ประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี 2014 โดยได้เจาะตลาดในประเทศ อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนามมาอย่างต่อเนื่อง มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์
Lazada ถือเป็นห้างสรรพสินค้าออนไลน์ชั้นนำที่อยู่เพียงแค่ปลายนิ้ว จัดส่งสินค้ารวดเร็ว เชื่อถือได้ และมอบความสะดวกสบายในการเลือกซื้อสินค้าแก่ลูกค้า ด้วยการนำเสนอสินค้ามากมายหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น แฟชั่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ ของเล่น อุปกรณ์กีฬา ไปจนถึงเครื่องใช้ในบ้าน พร้อมทั้งมีการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นวิธีการชำระเงินปลายทาง หรือบริการการคืนสินค้าฟรี และศูนย์บริการลูกค้าที่พร้อมจะให้คำแนะนำตลอดการเลือกซื้อสินค้า สามารถชอปปิ้งได้ทุกที่ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง
Lazada ในประเทศไทยเติบโตมาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็น e-commerce ที่มีผู้เข้าชมอันดับ 1 ของประเทศไทย โดยประมาณการการเข้าชมรายเดือน (มี.ค. 2018) กว่า 63,300,000 ครั้ง
LazadaxAlibaba
เดือนเมษายน 2016 Alibaba เจ้าพ่ออีคอมเมิร์ซจีนประกาศซื้อกิจการ Lazada ในเครือบริษัทร็อคเก็ตอินเทอร์เน็ต (Rocket Internet) สัญชาติเยอรมนี ความเชี่ยวชาญของ Alibaba จะช่วยให้Lazada เจาะตลาดอาเซียนได้อย่างสนุกสนานแน่นอน สำหรับดีลนี้ Alibaba ได้เข้าซื้อหุ้น 500 ล้านเหรียญสหรัฐ จากผู้ถือหุ้นเดิมของ Lazada และเพิ่มเงินลงทุนเข้าไปอีก 500 ล้านเหรียญสหรัฐ Lazada จะช่วยขยายฐานลูกค้านอกเหนือจากประเทศจีนให้ Alibaba โดยปักธงไว้ที่กลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง resource ต่างๆรวมถึงลูกค้าในมือของ Lazada จะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยเชื่อมโยงธุรกิจ E-Commerce ให้เติบโตทั่วโลกในอนาคต นับเป็นการลงทุนที่วางเป้าหมายไว้อย่างยิ่งใหญ่ การลงทุนเพื่อกุมบังเหียน Lazada ครั้งนี้ของ Alibaba ได้รับความสนใจจากทั่วโลก เนื่องจาก Alibaba นั้นเป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์ซื้อขายสินค้าออนไลน์รายใหญ่ที่สุดของจีน โดยแม้จีนจะได้ชื่อว่าเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อมหาศาล ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่าตลาดสหรัฐฯ ยุโรป หรือแม้แต่ประเทศตะวันตก แต่เพราะข้อจำกัดเรื่องการขยายส่วนแบ่งตลาด ทำให้บริษัทที่อยู่ภายใต้การบริหารของมหาเศรษฐีแจ็ก หม่า (Jack Ma) ตัดสินใจเดินทางมาขุดทองในโลกอาเซียน หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง Lazada กรุยทางไว้แล้ว
สำหรับ Alibaba นั้นมีดีกรีเป็นต้นสังกัดของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซทั้งเบอร์หนึ่ง และเบอร์สองของจีน โดย เถาเป่า (Taobao) เป็นร้านออนไลน์เบอร์หนึ่ง ขณะที่ ทีมอล (Tmall) เป็นร้านออนไลน์ที่ชาวจีนให้ความนิยมอันดับสอง เรียกว่า Alibaba กินรวบส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดในตลาดจีนมาแล้ว ก่อนที่จะหันมาลงทุนใน Lazada เพื่อบุกตลาดอาเซียนจริงจัง
Alibaba เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลายประเภทรวมกันทั้งอีคอมเมิร์ซ ค้าปลีก อินเทอร์เน็ต เอไอและเทคโนโลยีข้ามชาติของจีน ก่อตั้งในปี 2542 ซึ่งให้บริการขายแบบลูกค้าต่อลูกค้า ธุรกิจต่อลูกค้า และธุรกิจต่อธุรกิจผ่านเว็บพอร์ทัล ตลอดจนบริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ เสิร์จเอนจินซื้อสินค้า และบริการคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์ บริษัทเป็นเจ้าของและดำเนินการธุรกิจหลากประเภททั่วโลกในหลายส่วน และฟอร์จูนออกชื่อว่าเป็นบริษัทที่ได้รับความชื่นชมมากที่สุดในโลกบริษัทหนึ่ง และเป็นผู้ค้าปลีกรายใหญ่สุดและมีมูลค่ามากที่สุดในโลกตั้งแต่เดือนมษายน 2559 โดยมีกิจการในกว่า 200 ประเทศ
การลงทุนเพิ่มครั้งนี้ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ Alibaba ในการรุกตลาดมากขึ้น โดย Lazada สามารถเข้าถึงประชากรมากกว่า 560 ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตลาดนี้ e-commerce ยังมีส่วนแบ่งแค่ 3% จากการค้าปลีกทั้งหมด ทำให้ Alibaba ยังมีพื้นที่ขยายตัวอีกมาก ทั้งนี้ความแข็งแกร่งของ Lazada ทั้งในด้านการขนส่งและประสบการณ์ผู้ใช้จะช่วยขยายตลาดให้มากขึ้น
ทำความรู้จักกับ Alibaba และ Jack Ma เพิ่มเติมจากหนังสือในห้องสมุด
1. Alibaba อาณาจักรการค้าในโลกออนไลน์
ผู้แต่ง: หลิว ซืออิน และ มาร์ธา เอเวอร์
ผู้แปล: วรรธนา วงษ์ฉัตร
สำนักพิมพ์: ยิปซี กรุ๊ป, 2559
จำนวนหน้า: 318 หน้า
ISBN: 9786163015587
ตรวจสอบสถานะของหนังสือ
2. อาลีบาบา มังกรปฏิวัติโลก = Alibaba’s world
ผู้แต่ง: พอร์เตอร์ เอริสแมน
ผู้แปล: ธนธรณ ศิลอยู่
สำนักพิมพ์: เนชั่นบุ๊คส์, 2558
จำนวนหน้า: 265 หน้า
ISBN: 9786165156332
ตรวจสอบสถานะของหนังสือ
3. ที่หนึ่งของโลก แจ็ค หม่า กับอาณาจักรอาลีบาบา = World’ s no.1 : Alibaba empire
ผู้แต่ง: หลิวซื่ออิง, เผิงเจิง
ผู้แปล: ชาญ ธนประกอบ
สำนักพิมพ์: โพสต์, 2559
จำนวนหน้า: 423 หน้า
ISBN: 9789742282516
ตรวจสอบสถานะของหนังสือ
อ้างอิง