วันนี้ขอแนะนำ e-book ด้านการเกษตร ซึ่งเป็นเอกสารคำแนะนำจากกลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นองค์กรหลักที่ผลิตและพัฒนาสื่อ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป โดยให้ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ “สื่อเกษตรครบวงจร” (http://agrimedia.agritech.doae.go.th/) สำหรับวันนี้ มีเอกสารมาแนะนำกันหลายเล่มเลยค่ะ ไปติดตามอ่านกันเลยว่ามีเรื่องอะไรบ้าง
เอกสารคำแนะนำความรู้ทางการเกษตร เรื่อง ไร่นาสวนผสม จัดทำขื้นเพื่อสนันสนุนส่งเสริมการทำไร่นาสวนผสมและเป็นแนวทางในการขยายผลแนวความคิดไปสู่ภาคปฏิบัติในไร่นาของเกษตรกร เนื้อหาในเอกสารเล่มนี้ประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์ของการทำไร่นาสวนผสม ปัจจัยในการพิจารณารูปแบบการทำไร่นาสวนผสม การปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่นามาเป็นไร่นาสวนผสมในสภาพพื้นที่ต่าง ๆ เช่น พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ดอน ตัวอย่างของเกษตรกรที่ทำไร่นาสวนผสมประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการประกอบการตัดสินใจของเกษตรเกษตรในการทำไรนาสวนผสม
อ่านแบบ e-book
ดาวน์โหลดแบบ PDF
ศัตรูพืช เป็นปัญหาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกษตร ทำให้ผลผลิตเสียหาย เพิ่มต้นทุนการผลิตด้านการป้องกันกำจัด หากมีการใช้สามีเคมีกำจัด ก็จะส่งเสียต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ใช้ รวมทั้งมีพิษตกค้างในผลผลิต ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม เมื่อแมลงศัตรูพืชมีความต้านทานต่อสารเคมี ทำให้ต้องใช้สารเคมีในปริมาณที่สูงขึ้น ใช้บ่อยขึ้น หรือใช้สารที่มีพิษมากขึ้น ที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานส่งเสริมให้ควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี เช่น การให้ตัวห้ำ ตัวเบียน ใช้สารสกัดจากพืช ใช้ชีวภัณฑ์ ตลอดจนรณรงค์ให้เกษตรกรมีการจัดการแปลงที่ดี โดยเฉพาะส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและใช้เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช จนได้รับความนิยมจากเกษตรกรและบุคคลทั่วไป
อ่านแบบ e-book
ดาวน์โหลดแบบ PDF
ปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมกระแสรักสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันโรคภัยต่าง ๆ ที่มีวิวัฒนาการก่อตัวของเชื้อโรคใหม่ ๆ อย่างมากมาย ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่จึงต้องมีความพิถีพิถันในการเลือกรับประทานอาหารที่สดใหม่ สะอาด ปลอดสารพิษ และมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดีีและสามารถต่อสู้กับโรคภัยต่าง ๆ ได้ ดังนั้น ต้นอ่อนพืชจึงเป็นอีกหนึ่ง
ทางเลือกสำหรับผู้รักสุขภาพ ซึ่งมีให้เลือกรับประทานหลากหลายชนิด ได้แก่ ต้นอ่อนทานตะวัน ไควาเระ (ต้นอ่อนหัวผักกาด) โต้วเหมี่ยว (ต้นอ่อนถั่วลันเตา) ต้นอ่อนข้าวสาลี อัลฟาฟ่า ถั่วเขียวงอก ถั่วเหลืองงอก ถั่วดำงอก เป็นต้น โดยสามารถนำมาปรุงประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู รับประทำนได้ทั้งสดและสุก อีกทั้งยังมีคุณค่าทำงโภชนาการที่หลากหลายอีกด้วย
อ่านแบบ e-book
ดาวน์โหลดแบบ PDF
การผลิตข้าวของประเทศไทยปัจจุบัน เกินความต้องการใช้ในประเทศจำนวนมาก ประกอบกับการส่งออกข้าวของไทยมีการแข่งขันเพิ่มขึ้นจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาต่ำกว่า ทำให้ปริมาณผลผลิตข้าวคงคลังในโกดังกลางของรัฐบาลมีจำนวนมากและส่งผลต่อราคาข้าวในฤดูกาลผลิตใหม่ รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้แต่งตั้งคณะทำงาน วางแผนการผลิตข้าวครบวงจร เพื่อพิจารณาวางแผนการผลิต และการตลาดข้าวครบวงจร โดยใช้หลัก “ตลาดนำการผลิต” ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้บริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกข้าว โดยการลดรอบพื้นที่เพาะปลูกข้าวฤดูนาปรัง และหากิจกรรมทางเลือกพืชที่เหมาะสมเข้าไปทดแทน ซึ่งในอดีต พื้นที่นาเหล่านี้มีการทำนาเชิงระบบ กล่าวคือ ปลูกข้าวร่วมกับพืชอื่น โดยผลผลิตพืชที่ปลูกสลับการทำนา ใช้เป็นวัตถุดิบ ป้อนโรงงานอาหารสัตว์ และแปรรูปอาหาร ซึ่งในแต่ละปีมีความต้องการจำนวนมาก ปัจจุบันการเข้าไปสนับสนุน ให้ชาวนาลดรอบการทำนาไปปลูกพืชอื่นที่มีความเหมาะสม จึงช่วยลดความเสี่ยเรื่องราคาผลผลิตข้าวตกต่ำ ทำให้ชาวนามีรายได้จากการเพาะปลูกพืชอื่น ที่มีผลตอบแทนที่ดี ส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในอำชีพทำนาต่อไป
อ่านแบบ e-book
ดาวน์โหลดแบบ PDF
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับมีความเข้มแข็ง มีความยั่งยืน
ในสภาวะปัจจุบันที่ตลาดมีการแข่งขันสูง โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1. การลดต้นทุนการผลิต เช่น วัสดุทางการเกษตร แรงงาน ที่ดิน ฯลฯ 2. การเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ รวมทั้ง ลดการสูญเสียผลผลิตตลอดกระบวนการผลิตจนถึงปลายทาง และ 3. การพัฒนาคุณภาพผลผลิต โดยผลิตให้ตรงตามความต้องการของตลาด ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีผลตอบแทนสุทธิหรือกำไรจากการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่เหมาะสม ร่วมกับการบริหารจัดการแปลงและผลผลิต
เอกสารคำแนะนำความรู้ทางการเกษตร เรื่อง “เทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ” เล่มนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร จัดทำขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรใช้เป็นคู่มือส่งเสริมเกษตรกรในการพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับ รวมทั้งให้เกษตรกรได้นำไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของตนเอง โดยรวบรวมและเรียบเรียงเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ดอกไม้ประดับชนิดต่าง ๆ ที่นิยมปลูกมากในปัจจุบัน ทั้งนี้ หวังว่าจะเกิด
ประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ เกษตรกร และผู้สนใจในการประกอบอาชีพไม้ดอกไม้ประดับ ให้มีความมั่นคงและยั่งยืน
อ่านแบบ e-book
ดาวน์โหลดแบบ PDF
ขอบคุณข้อมูลจาก : สื่อเกษตรครบวงจร