Library of things: คอนเซ็ปต์ห้องสมุดแห่งยุค Sharing economy

เกล็น เฟอร์ดแมน บรรณารักษ์ชายชาวตะวันตก  รู้สึกว่าเขามีกีต้าร์อยู่มากเกินไป เขามีทางเลือกอยู่สองทางคือ ขายมัน หรือไม่ก็เลือกเก็บมันเข้ากรุไว้ เฟอร์ดแมน บรรณารักษ์ซึ่งนั่นหมายถึงงานของเขาคือการหาวิธีการที่จะทำการแบ่งปันการใช้งานทรัพยากร และการเพิ่มความแปลกใหม่ เขาจึงเอากีตาร์ที่ไม่ค่อยได้ใช้แล้วไปยัง ห้องสมุดประชาชน Somerville ที่ซึ่งเขาทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการอยู่ เขาให้เจ้าหน้าที่ในห้องสมุดให้บริการกีตาร์เหล่านั้นราวกับว่ามันเป็นหนังสือเล่มนึง นั่นคือ สามารถให้บริการยืม คืน ได้ และค้นพบว่าจะดีขึ้นไปกว่านั้น ถ้าพวกมันถูกยืมออกไปจากชั้น

Glenn Ferdman

หลังจากนั้น เหล่าพนักงานของเขาก็เริ่มบริจาค หัวหน้าบริการยืมคืนของห้องสมุด ซึ่งเป็นมือกีตาร์สมัครเล่น ผู้คลั่งไค้ James Taylor นักกีตาร์ อาสาเป็นผู้ดูแลเตรียมควมพร้อมกีตาร์ สำหรับการให้บริการ
ทนายความเมือง Somerville ก็ได้อาสาในการทำร่างสัญญาข้อตกลงการยืม กรณีที่เครื่องดนตรีที่ยืมไปเสียหายหรือสูญหายไป
ทุกวันนี้ คอลเลคชั่นมีตั้งแต่กีตาร์, อาคูเลเล่, กลองเจมเบ้ และสามารถสืบค้นผ่านเว็บไซต์ Minuteman Library Network ซึ่งสามารถค้นทรัพยากรของห้องสมุดสมาชิกทั้งหมด 43 แห่งในย่านชานเมือง บอสตัน ในสหรัฐ ซึ่งรายการสิ่งของเหล่านี้จะถูกจัดอยู่ในประเภท วัตถุสามมิติ 3-D OBJECT ในระบบของห้องสมุด
จากการขยายตัวของสื่อใหม่ ทำให้ห้องสมุดก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์โลก ขยายบทบาทของห้องสมุดประชาชนออกไปมากกว่าการบริการหนังสือ ผู้อ่านเปลี่ยนจากการอ่านจากหนังสือสิ่งพิมพ์ไปเป็นสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต การเข้าถึงห้องสมุดเริ่มลดลง

July 14, 2014. Somerville, MA.
The Somerville Public Library. Main Branch and West Branch.
© 2014 Marilyn Humphries

แม้ว่ามีห้องสมุดที่ให้บริการหนังสือผ่านสื่อยุคใหม่มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าตัวห้องสมุดจะล้าสมัย จากผลสำรวจของ  PEW Research ปี 2015 พบว่าการปิดตัวลงของห้องสมุดในชุมชนส่งผลกระทบต่อผู้คนในชุมชนเป็นอย่างมาก และพบว่าผู้ตอบแบบสำรวจมีความต้องการที่มากขึ้นกว่าการบริการห้องสมุดแบบธรรมดา พวกเขาต้องการให้ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางในการขยายโครงการด้านการศึกษารวมถึงต้องการศูนย์เทคโนโลยีที่มีเครื่องพิมพ์ 3 มิติและเครื่องมือดิจิทัลอื่น ๆ รวมทั้งบทเรียนและคลาสเรียนเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือดิจิทัลเหล่านั้น  นอกจากนี้พวกเขายังต้องการเห็นห้องสมุดที่ใช้พื้นที่เก็บหนังสือน้อยลงแต่เพิ่มพื้นที่เพื่อกิจกรรมของชุมชนมากขึ้น

Libraries of things ได้กลายเป็นสิ่งที่อยู่ในพื้นที่ของบอสตัน ในเมือง บรุกไลน์ (Brookline) สมาชิกห้องสมุดสามารถยืม ถาดทำขนม กลับไปทำขนมที่บ้านได้

และใน Wilmington Memorial Library’s มีบริการให้ยืม เกมส์สนาม (lawn games) และชุดอุปกรณ์สำหรับการเดินทาง (ซึ่งประกอบไปด้วยแผนที่และคู่มือการท่องเที่ยว รวมถึงไม้เซลฟี่)

ส่วนที่ Lexington ให้บริการยืม จักรเย็บผ้า และเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบพกพาได้


และที่น่าสนใจอีกแห่งคือ Billerica Public Library ซึ่งให้บริการห้องสมุดที่ไม่มี ‘หนังสือ’ สักเล่มให้อ่าน แต่จะให้บริการมนุษย์ด้วยกันกับเรานี่แหละในการพูดคุย ปรึกษาหารือกัน

เมื่อพูดถึงห้องสมุด แน่นอนอยู่แล้วว่าสร้างมาสำหรับหนังสือ ห้องสมุดสาธารณะซอเมอร์วิลล์ก็เป็นอาคารเก่าแก่ ที่สร้างขึ้นด้วยตัวอิฐและปูน คอลเลกชันเครื่องดนตรีเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในห้อง

การใช้บริการผู้ใช้สามารถเลือกเครื่องดนตรีที่ต้องการยืมจากรายการที่ด้านหน้า รายการที่ถูกยืมไปแล้วจะมีแผ่น Sticky note ติดไว้ว่า “OUT” ซึ่งมีระยะเวลาในการยืม 1 เดือน และการคืนจะต้องคืนผ่านเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่อนุญาตให้คืนผ่านทางตู้คืนหนังสือ

บริการต่างๆเหล่านี้ไม่ใช่เพียงการบริการสิ่งของต่างๆธรรมดา แต่เป็นการขยายการเข้าถึง ไม่เพียงแต่การเข้าถึงความรู้ แต่ยังรวมถึงกิจกรรมงานอดิเรก เครื่องมือและทักษะต่างๆ “ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาห้องสมุดกลายเป็นสถานที่ ที่ไม่เพียงแต่คุณสามารถแสวงหาข้อมูลได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นสถานที่ที่คุณมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นได้”

ไม่เพียงแต่ในอเมริกาแล้ว  ที่เมืองโทรอนโต (Toronto) ประเทศแคนาดา Ryan Dyment และ Lawrence Alvarez สองเพื่อนซี้ที่ร่วมกันทำกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและเรื่องทางเศรษฐกิจอยู่บ่อยๆ ในคราวนี้ก็เช่นกัน เมื่อเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวที่คนจำนวนไม่น้อยต้องประสบ ทั้งสองจึงพยายามมองหาวิธีที่จะช่วยให้ผู้คนจัดการกับปัญหาของการเสียเงินซื้อของที่นานๆ ถึงจะมีโอกาสได้ใช้เสียที หรือในอีกกรณี สำหรับบางคนก็ไม่สามารถซื้อหาข้าวของเครื่องใช้ราคาแพง อย่าง เครื่องตัดหญ้า เครื่องเป่าหิมะมาทำให้บ้านของเขาสวยงามเป็นระเบียบได้ ในระหว่างที่กำลังควานหาคำตอบอยู่นั้นเอง Dyment และ Alvarez ก็เจอเข้ากับเรื่องราวของ Tool Library หรือ ‘ห้องสมุดเครื่องไม้เครื่องมือ’ ที่เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในปี 1979 ที่ Berkley, California ก่อนจะกระจายขยายสาขาไปกว่า 40 แห่ง ทั่วอเมริกาเหนือ ซึ่ง Dyment และ Alvarez ก็ได้หยิบยืมไอเดียของ Tool Library มาสานต่อเป็น Tool Library แห่งแรกในย่าน Parkdale ของ Toronto และหลังจากประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม พวกเขาก็ขยายสาขาต่อไปเป็นแห่งที่สองที่สาม พร้อมกันนั้นก็ขยายคอนเซ็ปต์ของ Tool Library ให้กลายเป็น Library of Things ที่มีสิ่งของให้ยืมมากกว่าแค่เครื่องไม้เครื่องมือ แต่ยังมีข้าวของเครื่องใช้ในโอกาสต่างๆ อีกมากมาย เช่น อุปกรณ์กางเต็นท์ ของตกแต่งสำหรับปาร์ตี้ ของเล่นเด็ก ฯลฯ โดยทั้งหมดอยู่ภายใต้องค์กรของพวกเขาที่ใช้ชื่อว่า The Sharing Depot

“โลกของเราไม่มีทรัพยากรหรือพื้นที่เพียงพอให้เราทุกคนบนโลกสามารถเป็นเจ้าของข้าวของเหล่านี้ทั้งหมดได้” Alvarez เคยกล่าวเอาไว้ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า Library of Things ของพวกเขาไม่เพียงช่วยให้พวกเราได้ประหยัดเงินในการหาซื้อข้าวของพวกนั้นมาใช้งานเท่านั้น แต่ยังช่วยประหยัดทรัพยากรด้วยการให้เครื่องไม้เครื่องมือแต่ละชิ้นที่ถูกผลิตออกมาได้รับการใช้งานจากคนหลายๆ ครัวเรือนได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด และที่สำคัญอีกอย่างคือ การ ‘ยืม’ แทนที่จะ ‘ซื้อ’ หามาเป็นของตัวเองคนเดียวเช่นนี้ ยังช่วยให้ภายในบ้านของเราประหยัดพื้นที่ ไม่รกรุงรังไปด้วยข้าวของเกลื่อนกลาดอีกด้วย

ข้าวของส่วนหนึ่งใน Library of Things เป็นสิ่งของที่ได้รับบริจาคมา และทุกๆ สัปดาห์ ทาง The Sharing Depot ก็จะเปิดให้อาสาสมัครเข้ามาตรวจสภาพการใช้งานและซ่อมแซมของต่างๆ เหล่านั้น ส่วนคนที่จะสามารถเข้ามายืมของจาก Library of Things ได้ ก็ต้องเสียค่าสมาชิกที่มีตั้งแต่ 25-100 เหรียญแคนาดา ต่อหนึ่งปี ซึ่งค่าสมาชิกที่เพิ่มมากขึ้นก็หมายถึงขอบเขตของสิ่งของใน Library of Things ที่คุณสามารถยืมได้

ที่มา

https://www.bostonglobe.com/magazine/2017/07/19/now-available-your-local-library-non-books/v9rCJ2lKJXeOsi4CmPblhJ/story.html

http://creativecitizen.com/library-of-things/