รูปแบบการดําเนินงานของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนจังหวัดเชียงใหม่

ชื่อบทความเรื่อง : รูปแบบการดําเนินงานของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนจังหวัดเชียงใหม่
The Model of Community Enterprise Networks Operation under the Sustainable Development Concept, Chiang Mai Province

ผู้เขียน : นายณัฐพนธ์ สกุลพงษ์  รองศาสตราจารย์ ดร. จักรพงษ์ พวงงามชื่น  รองศาสตราจารย์ ดร. นคเรศ รังควัต  รองศาสตราจารย์ ดร. พุฒิสรรค์ เครือคำ

ชื่อวารสาร :
วารสารผลิตกรรมการเกษตร ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2565 หน้า 104-115

บรรณานุกรม :
ณัฐพนธ์ สกุลพงษ์, จักรพงษ์ พวงงามชื่น, นคเรศ รังควัต และ พุฒิสรรค์ เครือคำ. (2565). รูปแบบการดําเนินงานของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนจังหวัดเชียงใหม่. วารสารผลิตกรรมการเกษตร, 4(2), 104-115.

     การพัฒนาประเทศไทยที่ผ่านมายึดหลักการพัฒนาตามระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโดยมุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ มีเป้าหมายนําประเทศไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม ถึงแม้ชุมชนจะพยายามพึ่งตนเองแต่ก็หลีกไม่พ้นกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ทําให้เกิดความเหลื่อมลํ้าทางสังคม โดยปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคนในทุกระดับชนชั้น ในประเทศ กระทั่งวันหนึ่งที่ปัญหาที่สะสมมานานเกิดปะทุขึ้นเหมือนระเบิดภูเขาไฟในรูปของพิษเศรษฐกิจหรือที่เรียกว่าวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ฟองสบู่แตก โดยส่งผลกระทบมากที่สุดต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งเป็นภาคการผลิตที่เป็นหัวใจในกระบวนการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจในประเทศ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั่วประเทศ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงปรับแนวคิดจากการเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการเน้นคนให้เป็นศูนย์กลางของการพัฒนารัฐบาลได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนนำทุนทางสังคมอันเป็นรากฐานที่สําคัญที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจในชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้ นอกจากนี้รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาสินค้าโครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์โดยมีเป้าหมายให้แต่ละชุมชนได้นําภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการ  เป็นการสร้างรายได้และอาชีพแก่ผู้อาศัยอยู่ในชุมชน

     ในช่วงปีพ.ศ. 2558-2563 การจดทะเบียนเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในภาพรวมของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะที่จังหวัดเชียงใหม่พบว่าเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนมีจํานวนลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนในระดับประเทศดังนั้นการศึกษาถึงปัจจัยในการดําเนินงานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนโดยทําการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 182 คน ซึ่งเป็นสมาชิกเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่จํานวน 7 เครือข่าย รวม 25 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนาและอนุมาน และเก็บข้อมูลด้วยชุดคําถามร่วมกับเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกกับประธานและกรรมการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้งสิ้น 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงเหตุผล ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (78.57%) เป็นสมาชิกเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนประเภทการผลิตสินค้าที่ก่อตั้งโดยผู้นํากลุ่ม (63.74%) โดยกลุ่มตัวอย่างประมาณหนึ่งในสี่ (23.26%) จัดจําหน่ายผลผลิตตามคําสั่งซื้อ และใช้ทุนตนเอง (29.10%) โดยมีการเข้าร่วมเครือข่ายมาแล้วเฉลี่ย 3.35 ปี กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่ง (57.14%) เคยมีการติดต่อแต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ (56.59%) ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างมีความแนบแน่นต่อกันในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.23) ในขณะที่การมีส่วนร่วมในภาพรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.90) ซึ่งนําไปสู่การดําเนินงานอย่างยั่งยืนในภาพรวมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.00) อีกทั้งพบ 7 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดําเนินงานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ การมีส่วนร่วมในภาพรวม รายได้ (ตํ่ากว่า 84,000 บาท/ปี) การมีส่วนร่วมแบ่งผลประโยชน์แหล่งเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การได้รับความช่วยเหลือจากนักส่งเสริมการเกษตร การเข้าร่วมเครือข่าย (ตํ่ากว่า 1 ปี) และระดับการศึกษาสูงสุด (ปริญญาตรีขึ้นไป)

ที่มา: 
http://jap.mju.ac.th
https://smce.doae.go.th/ProductCategory/SmceCategory.php?region_id=&province_id=50&amphur_id=14&key_word=

สนใจอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ :
http://jap.mju.ac.th/file/journal/20220826203200_journal.pdf

สนใจดูบทความอื่นๆในวารสาร :
http://jap.mju.ac.th


หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ :
เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1
โทร 053-873510 ; 053-873511

Facebook:  MJU Library