การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบำรุงรักษาต้นไม้ใหญ่ : กรณีศึกษาเส้นทางลำเหมืองฝายผญาคำ ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อบทความเรื่อง :  การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบำรุงรักษาต้นไม้ใหญ่ : กรณีศึกษาเส้นทางลำเหมืองฝายผญาคำ ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

ผู้เขียน : สุพัฒนวรี  ทิพย์เจริญ

ชื่อวารสาร : วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

บรรณานุกรม :
สุพัฒนวรี  ทิพย์เจริญ. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบำรุงรักษาต้นไม้ใหญ่ : กรณีศึกษาเส้นทางลำเหมืองฝายผญาคำ ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11(3), 239-260.

     ตำบลหนองผึ้ง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ 1 บ้านหนองผึ้งเหนือ หมู่ 2 บ้านเชียงแสน หมู่ 3 บ้านดอนจีน หมู่ 4 บ้านหนองผึ้งใต้ หมู่ 5 บ้านป่าแคโยง หมู่ 6 บ้านกองทราย หมู่ 7 บ้านป่าเก็ตถี่ และหมู่ 8 บ้านสันคือ จัดเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะกึ่งชุมชนเมืองกึ่งชนบท ทำให้มีความหลากหลายในด้านของสภาพแวดล้อมอันเป็นผลมาจากความเป็นเมืองในขณะเดียวกันก็ยังคงมีพื้นที่แบบชนบทดั้งเดิมอยู่ การขยายความเป็นเมืองนำมาซึ่งผลกระทบต่อส่วนที่เป็นพื้นที่สีเขียวของชุมชนโดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่ที่ถือว่าเป็นปอดของชุมชนและเป็นเอกลักษณ์ของตำบลหนองผึ้ง ได้แก่ต้นยางนา ซึ่งจัดเป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีอายุยาวนานเป็นมรดกของชุมชนซึ่งแต่เดิมยังคงมีความสมบูรณ์ แต่ในปัจจุบันความเป็นเมืองขยายใหญ่ขึ้นทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจพื้นที่ต่างๆ ถูกเปลี่ยนไปเป็นอาคารพาณิชย์ ส่งผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของต้นยางนาและต้นไม้ใหญ่อื่นๆ ด้วย

ทางเทศบาลหนองผึ้งจึงได้เล็งเห็นปัญหาเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการ “ชุมชนรักษ์ชุมชนและสิ่งแวดล้อม” ขึ้นเพื่อพัฒนาสภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตำบลหนองผึ้ง จึงเกิดการบูรณาการความร่วมมือกันขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนโดยมีเป้าหมายและทิศทางการทำงานตามภารกิจที่ไม่ซ้ำซ้อนอันก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลหนองผึ้งจึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) กับเครือข่ายต่างๆ อันได้แก่โครงการหมอต้นไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เครือข่ายเขียวสวยหอม Big Tree in Town เทศบาลหนองผึ้ง วิทยาลัยเทคนิคสารภี และ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ทำให้เกิดกิจกรรมในการอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่และสิ่งแวดล้อมต่างๆ

ทั้งนี้การให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องกับในสถานการณ์ปัจจุบัน กล่าวคือเมืองเชียงใหม่ ถูกพิจารณาให้เป็นเมืองแห่งมรดกโลก อีกทั้งยังมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 20 ที่ถือว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่มีความท้าทายในการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติส่วนใหญ่ ถูกนำไปใช้ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มสูงขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจและชุมชนเมือง จากบันทึกข้อตกลงร่วมกันดังกล่าว มหาวิทยาลัยมีพันธกิจและบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนการให้บริการเผยแพร่ความรู้แก่เทศบาลตำบลหนองผึ้ง และสาธารณชนที่เกี่ยวข้องในรูปแบบต่างๆ นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนให้เกิดการทำงานวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้มีการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในชุมชนท้องถี่นและการจัดการเชิงวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการพัฒนาท้องถิ่น ด้วยเหตุนี้นักวิจัยจึงต้องเล็งเห็นถึงความสำคัญของความจำเป็นของแหล่งข้อมูลต้นไม้ใหญ่ ซึ่งไม่เพียงแต่ต้นยางนาเท่านั้น แต่ยังมีต้นไม้ใหญ่อีกมากมายที่ถือเป็นแหล่งปอดของชุมชนและมีความสัมพันธ์กับแหล่งน้ำ จึงมีแนวคิดในการศึกษาบริบทของต้นไม้ใหญ่ การเก็บข้อมูลและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบำรุงรักษาต้นไม้ใหญ่แบบมีส่วนร่วมโดยการศึกษาบริบทของต้นไม้ใหญ่ ตามแนวเหมืองฝ่ายพญาคำโดยมีการร่วมมือของทุกฝ่ายทั้งในส่วนของชุมชนเครือข่ายและนักวิจัย ด้วยเพราะการจะกำหนดนโยบายหรือการดำเนินการหรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนและเครือข่ายจำเป็นที่จะต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องมีระบบสารสนเทศอันจะนำไปสู่ฐานความรู้ในการพัฒนาและบำรุงรักษาต้นไม้ใหญ่ในชุมชนต่อไป 

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ :       
https://taejai.com/th/d/arboristfund
https://www.jatiewpainai.com

สนใจอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ :
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/FEU/article/view/95565/78104

สนใจอ่านวารวารฉบับนี้ได้ที่ :
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/FEU/issue/view/9037

หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ :
เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1
โทร 053-873510 ; 053-873511

Facebook:  MJU Library