ผลการใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังพฤติกรรมจริยธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ชื่อบทความ : ผลการใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังพฤติกรรมจริยธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี
ผู้เขียน : สุนทรี  สกุลพราห, พิชชาดา ประสิทธ, ณมน จีรังสุวรรณ และ กมลวรรณ คารมปรา
ชื่อฐานข้อมูล : Complementary Index  โดย EBSCO Discovery Service
บรรณานุกรม :
สุนทรี สกุลพราห, พิชชาดา ประสิทธ, ณมน จีรังสุวรรณ และ กมลวรรณ คารมปรา. (2565). ผลการใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังพฤติกรรมจริยธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 28(1), 61-79.


 ภาพแสดงการสืบค้นบทความจาก EBSCO Discovery Service

นื้อหา  : ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้รูปแบบการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป ต้องการวิธีหาความรู้เพิ่มเติมโดยนิยมเรียนรู้โดยใช้สื่อ ซึ่งรูปแบบการเรียนรู้ในยุคข้อมูลข่าวสารจะมีช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยเฉพาะการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ มีโอกาสสูงที่คนรุ่นใหม่จะเข้าถึงได้ อาทิ หลักสูตรออนไลน์แบบเปิดสำหรับมวลชน (MOOCS) สื่อวีดิทัศน์ (YouTube) เกมคอมพิวเตอร์ (Games) สื่อสังคม (Social media) สื่อทางเสียง (Audiobooks and podcasts) ฯลฯ

การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้กับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีถือว่ามีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็น ช่วงวัยที่กำลังจะเข้าสู่วัยทำงานและก้าวเข้าสู่การเป็นสมาชิกของสังคมโดยสมบูรณ์ หากได้รับการพัฒนาให้เป็นบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรมก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพราะจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มความสามารถ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจิตลักษณะและพฤติกรรมจริยธรรมของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนโดยใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังพฤติกรรมจริยธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีกับการเรียนแบบปกติกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือผู้เรียนระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 200 คน  แบ่งเป็น

     กลุ่มที่ 1 ที่เรียนโดยใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังพฤติกรรมจริยธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีร่วมกับการเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรม

     กลุ่มที่ 2 ที่เรียนโดยใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังพฤติกรรมจริยธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีไม่ได้เรียนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรม และ

     กลุ่มที่ 3  ควบคุมที่เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรมแบบปกติ


ภาพประกอบจาก Pixabay

สรุปผล : สามารถสรุปผลวิจัยได้ดังนี้

ด้านเจตคติ  พบว่า พฤติกรรมจริยธรรมของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนโดยใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังพฤติกรรมจริยธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีกับการเรียนแบบปกติ พบว่า นิสิตนักศึกษาที่เรียนผ่านสื่อการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังพฤติกรรมจริยธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทั้งเรียนร่วมกับการเรียนแบบปกติและสื่อการเรียนรู้ฯ อย่างเดียวมีของเจตคติที่มีต่อพฤติกรรมจริยธรรมแตกต่างจากกลุ่มที่เรียนแบบปกติ สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

ด้านเหตุผลเชิงจริยธรรม พบว่า นิสิตนักศึกษาที่เรียนผ่านสื่อการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังพฤติกรรมจริยธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทั้งเรียนร่วมกับการเรียนแบบปกติมีคะแนนเฉลี่ยของเหตุผลเชิงจริยธรรมแตกต่างจากกลุ่มที่เรียนแบบปกติ สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้บางส่วน

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ
 ผลการวิจัยได้ว่า การใช้สื่อเพื่อปลูกฝังพฤติกรรมจริยธรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ในครั้งนีในช่วงเวลา 5 สัปดาห์ เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านเหตุผลเชิงจริยธรรมและเจตคติต่อ แต่ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแม้จะแตกต่างกัน แต่ยังไม่มีความสำคัญทางสถิติ ดังนั้นจึงควรนำสื่อการเรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้งานโดยเพิ่มระยะเวลาในการเรียนรู้ด้วยสื่อการสอนเพื่อปลูกฝังพฤติกรรมจริยธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของจิตลักษณะของผู้เรียนต่อไป

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1) มหาวิทยาลัยหรือสถาบันทางการศึกษาควรกำหนดนโยบายและส่งเสริมการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านคุณธรรมจริยธรรมของนิสิตระดับปริญญาตรี และควรมีมาตรการในการกระตุ้น และส่งเสริมให้อาจารย์นำสื่อสังคมออนไลน์มาเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรม

2) เนื้อหาที่ใช้ในสื่อการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังพฤติกรรมจริยธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีควรมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในชีวิตจริง และสร้างความท้าทายให้กับผู้เรียน

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1) ควรมีการศึกษาโดยการทำการวิจัย โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์ของการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนแบบปกติ เพื่อตรวจสอบผลการวิจัยเปรียบเทียบกับการศึกษาในครั้งนี้ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์

2) ควรมีการศึกษาโดยการทำการวิจัย โดยใช้เทคนิควิธีการวิจัยอื่น ๆ เช่น การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กรณีศึกษา (Case study) การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมด้านอื่น ๆ

3) ควรทำการวิจัยเปรียบเทียบผลการใช้สื่อในการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น สื่อภาพยนตร์เพื่อการศึกษา บอร์ดเกม เกมออนไลน์ เป็นต้น ที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เพื่อตรวจสอบคุณภาพของสื่อในการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และควรใช้วิธีการหรือเครื่องมือวัดและประเมินที่หลากหลาย เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ การสังเกต และแฟ้มสะสมงาน เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : EBSCO Discovery Service | EBSCOhost 

สนใจอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : Full Text

การใช้งานฐานข้อมูลนอกเครือข่ายมหาวิทยาลัยทำได้ 2 วิธีดังนี้

1. การใช้งานผ่าน OpenAthens โดยการ Log in หรือยืนยันตัวตนจากอีเมลมหาวิทยาลัยเช่น xxx@mju.ac.th
2. การสืบค้นโดยการเชื่อมต่อ VPN >>วิธีการตั้งค่าการเชื่อมต่อ VPN<<
หากไม่สามารถทำได้ทั้งสองวิธี กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่

หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ :
เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1
โทร 053-873510 ; 053-873511

Facebook:  MJU Library