ชื่อบทความเรื่อง : ปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดอุดรธานี
Factor Determining the Success of Small and Medium AgriculturalSupplies Entrepreneur in Udon Thani Province
ผู้เขียน : ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร. สาธิต อดิตโต และ นางสาวสุรีย์พร หาจัตุรัส
ชื่อวารสาร :
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2565 หน้า 155-166
บรรณานุกรม :
สาธิต อดิตโต และ สุรีย์พร หาจัตุรัส. (2565). ปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 39(2), 155-166.
ปัจจุบันธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในหลายด้าน อาทิ การสร้างงาน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ การลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และการเป็นจุดเริ่มต้นในการลงทุนดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ เป็นต้น โดยประเภทของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประกอบด้วยกิจการการผลิตสินค้า กิจการการบริการ และกิจการค้าส่งและค้าปลีก ครอบคลุมทั้งในภาคการเกษตรและภาคการผลิตอื่นๆ ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) มูลค่า 15,452,882 ล้านบาท โดยเป็น GDP จากธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คิดเป็นมูลค่า 6,551,718 ล้านบาท อย่างไรก็ตามการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังมีปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจหลายด้าน อาทิ ความสามารถในการเข้าถึงผู้บริโภค การต้องพึ่งพาธุรกิจขนาดใหญ่ การไม่ให้ความสำคัญกับระบบทรัพย์สินทางปัญญา และการขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถและมีความคิดสร้างสรรค์
จังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดยจะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP)ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 124,306 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2556 เป็น 139,116 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2560 โดยสาขาที่มีสัดส่วนมูลค่าGPP สูงที่สุดได้แก่ สาขาการขายส่ง–ขายปลีก รองลงมาได้แก่ สาขาอุตสาหกรรม และสาขาเกษตรกรรม ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าจังหวัดอุดรธานีเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่ส าคัญหลายชนิดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยในปี พ.ศ. 2560 จังหวัดอุดรธานีมีพื้นที่ปลูกอ้อยจ านวน 0.61 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 14.74 ของพื้นที่ปลูกอ้อยทั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ปลูกยางพาราจำนวน 0.53 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 10.14 ของพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังจำนวน 0.26 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 5.32 ของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงหนือและมีพื้นที่ปลูกข้าวนาปีจำนวน 1.73 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.73 ของพื้นที่ปลูกข้าวนาปีทั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดอุดรธานี โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 125 ราย วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณได้ถูกนำมาใช้เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ประกอบการกับองค์ประกอบปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จ ผลการศึกษาพบว่า สามารถแบ่งกลุ่มองค์ประกอบปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จ ได้แก่ ปัจจัยการตลาด ปัจจัยธุรกิจและคู่แข่ง ปัจจัยกฎระเบียบและการเมือง ปัจจัยผู้ประกอบการ ปัจจัยการจัดการภายใน ปัจจัยนโยบายภาครัฐ ปัจจัยความมุ่งมั่นและกล้าเสี่ยง ปัจจัยการวางแผนทางการเงิน และปัจจัยการบริการหลังการขาย ส่วนผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด จำนวนเงินลงทุนเริ่มแรก และประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ภาครัฐควรกำหนดนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างหลากหลาย เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการในแต่ละกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน ทั้งนี้เนื่องจากผู้ประกอบการมีลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน และมีมุมมองในปัจจัย ที่กำหนดความสำเร็จของกิจการแตกต่างกัน
ที่มา :
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN
https://khupandin.com/news/1156.html
สนใจอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ :
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/241094/174574
สนใจดูบทความอื่นๆในวารสาร :
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/issue/archive
หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ :
เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1
โทร 053-873510 ; 053-873511
Facebook: MJU Library