กลุ่มอาการที่พบจากการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน

ชื่อบทความ : กลุ่มอาการที่พบจากการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน (The physical symptoms from personnel computer using)
ผู้เขียน : วรินทร์ทิพย์ คงฤทธิ์
ชื่อฐานข้อมูล : Academic Search Ultimate. โดย EBSCO Discovery Service

บรรณานุกรม : วรินทร์ทิพย์ คงฤทธิ์. (2564). กลุ่มอาการที่พบจากการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(5), 369-375.

นื้อหา  :  การทํางานคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสถานที่ทําางานที่ตั้งคอมพิวเตอร์ไม่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ ท่าทางการทํางานคอมพิวเตอร์ การทํางาน ซ้ำๆ และการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ล้วนแล้วแต่มีผลต่อการบาดเจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะการทํางานที่ต้องอยู่ในท่าเดิมนานๆ และซ้ำๆ มีโอกาสทําให้เกิดอาการบาดเจ็บจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ และความผิดปกติจากการบาดเจ็บสะสมเรื้อรังสูง ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกอวัยวะในร่างกาย อย่างที่เกิดในข้อมือจากการใช้คีย์บอร์ด และเมาส์นานๆ ทําให้เกิดการบาดเจ็บต่อมือ แขน และไหล่ได้

ภาพแสดงการสืบค้นบทความจาก EBSCO Discovery Service

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ กลุ่มอาการและตระหนักถึงอาการที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรของคณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา ทั้งสายอาจารย์และสายสนับสนุน จากจำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 44 คน โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

     ภาพประกอบจาก indianexpress

สรุปผล : กลุ่มตัวอย่างใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน 5 วันต่อสัปดาห์ มีระยะการใช้คอมพิวเตอร์อยู่ในช่วง 6-9 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ระยะเวลาการการพักอยู่ในช่วง 30 นาที-1 ชั่วโมง โดยประเภทการหยุดพักที่พบมากที่สุด ได้แก่ การลุกจากที่นั่ง สลับงานอื่น กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีการใช้สายตาในการเล่นโทรศัพท์มือถือ ซึ่งส่วนใหญ่มีระยะเวลาการใช้อยู่ในช่วง 1-2 ชั่วโมง

            จากการสํารวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความชุกของกลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ที่พบสูงสุดคือ หลังส่วนล่างด้านซ้ายและขวา ไหล่ด้านซ้าย และบริเวณท้ายทอย คอ ไหล่ขวา หลังส่วนบนซ้าย ตามลําดับ บริเวณที่มีอาการปวดเมื่อยตลอดเวลาต้องกินยา คือ ท้ายทอย คอ หลังส่วนบนซ้าย บริเวณที่ปวดเมื่อยและหยุดพักแล้วแต่อาการไม่หาย ได้แก่ ไหล่ซ้ายปวดเมื่อย แต่เมื่อหยุดพักงานอาการหายไป ได้แก่ หลังส่วนล่างซ้ายและขวา กลุ่มดวงตาและระบบการมองเห็น พบอาการ แสบตา อาการปวดตา และตาสู้แสงไม่ได้ ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย : ควรมีการทําาวิจัยค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีในการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน เพื่อลดกลุ่มอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน โดยทําการเปรียบเทียบกลุ่มอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการนําแนวปฏิบัติ ที่ทําการวิจัยไปทดลองใช้ ซึ่งในการค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีนั้น จะนําไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทํางานของบุคลากรให้มีความเหมาะสม และสร้างเสริมให้บุคลากรมีภาวะสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : EBSCO Discovery Service | EBSCOhost 

สนใจอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : FullText

การใช้งานฐานข้อมูลนอกเครือข่ายมหาวิทยาลัยทำได้ 2 วิธีดังนี้

1. การใช้งานผ่าน OpenAthens โดยการ Log in หรือยืนยันตัวตนจากอีเมลมหาวิทยาลัยเช่น xxx@mju.ac.th
2. การสืบค้นโดยการเชื่อมต่อ VPN >>วิธีการตั้งค่าการเชื่อมต่อ VPN<<
หากไม่สามารถทำได้ทั้งสองวิธี กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่

หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ :
เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1
โทร 053-873510 ; 053-873511

Facebook:  MJU Library