ชื่อบทความ : มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า
ผู้แต่ง : กมลพร ยศนันท์
ชื่อวารสาร : วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์
บรรณานุกรม :
กมลพร ยศนันท์. (2563). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า. วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์ , 13(4), 443-457.
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งศึกษาถึงแนวทางที่จะทำให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับในทางกฎหมายเที่ยบเท่ากับบุหรี่ โดยศึกษาข้อมูลทั่วไปของบุหรี่ไฟฟ้า ประวัติความเป็นมาของบุหรี่ไฟฟ้า ส่วนประกอบของบุหรี่ไฟฟ้า สารเคมีในบุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้า ผลกระทบทางชีววิทยาและสุขภาพ การวิจัยทางสุขภาพและการวิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ รวมถึงมูลค่าการตลาดของบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีผู้สูบบุหรี่เป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มการสูบที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดต่อสุขภาพของผู้บริโภค จากการศึกษาปัญหาและโทษจากบุหรี่ พบว่าบุหรี่ถือเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ มากมาย อย่างไรก็ตามบุหรี่ไม่ได้มีโทษต่อร่างกายของผู้สูบเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของบุคคลรอบข้างผู้สูบด้วย และพบว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” เป็นทางออกหนึ่งที่สามารถช่วยลดอันตรายอันจะเกิดต่อสุขภาพดังที่กล่าวมาได้ บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้พลังไฟฟ้าเป้นกลไกเพื่อส่งสารนิโคตินเหลวระเหยด้วยความร้อนเข้าสู่ร่างกายของผู้สูบโดยไม่ผ่านการเผาไหม้ จากการศึกษาภาพรวมของกฎหมายไทยกำหนดให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าผิดกฎหมาย ทั้งที่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นสินค้าเทียบเคียงกับบุหรี่อยู่ในหมวดของ “ผลิตภัณฑ์ยาสูบ” และกฎหมายที่เกี่ยวข้องบางส่วนยังมีความไม่ชัดเจน ขัดแย้งกันในหลายประเด็น และไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร ทำให้ผู้ใช้กฎหมายเกิดความไม่เข้าใจ รวมถึงผู้บังคับใช้กฎหมายเองก็เกิดความสับสนจนนำมาซึ่งการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในการตัดสินความถูกผิดของพฤติการณ์ต่างๆ แทนการใช้ตัวกฎหมายในการกำหนดความผิดเป็นหลักนอกจากกนี้กฎหมายไทยไม่มีมาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าเป็นการเฉพาะ ทำให้เสมือนเป็นการเปิดโอกาสให้มีสินค้าที่ไม่ปลอดภัยอยู่ในตลาด ซึ่งส่งผลเสียโดยตรงต่อผู้บริโภค เกิดการลักลอบนำเข้าและซื้อขายอันนำมาสู่สภาวะเศรษฐกิจนอกระบบ และทำให้ภาครัฐขาดรายได้จากภาษีอันพึงจะได้รับจากผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าซึ่งเป็นสินค้านำเข้าและเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย
ด้วยเหตุนี้เพื่อเป็นการพัฒนากฎหมายไทยที่เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าผู้เขียนได้ทำการเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายไทยในส่วนดังกล่าว โดยให้บุหรี่ไฟฟ้าอยู่ในหมวดหมู่ของ “ผลิตภัณฑ์ยาสูบ” ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ด้วยแก้ไขเพิ่มเติมคำนิยามในมาตรา 4 ให้มีความหมายครอบคลุมถึงบุหรี่ไฟฟ้า เช่นเดียวกับกฎหมายของสหรัฐอเมริกาเพื่อให้มีหน่วยงานทำหน้าที่กำกับดูแล และกำหนดมาตรการบังคับแยกต่างหาก เป็นการเฉพาะเพื่อให้สะดวกต่อการควบคุม และตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ปริมาณนิโคติน รวมถึงขั้นตอนการจัดจำหน่ายและการนำเสนอผลิตภัณฑ์ โดยใช้แนวทางตามกฎหมายของสหราชอาณาจักร ใช้เป็นต้นแบบในการสร้างกรอบควบคุมผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ :
https://rabbitcare.com/blog/read-all-health-insurance/vaporizor-can-help-quit-smoking
https://www.siampods.com/en/blog/13699/blog-13699
สนใจอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ :
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/242436/165817
สนใจดูบทความอื่นๆในวารสาร :
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/issue/view/16704
หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่
เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1
โทร 053-873510 ; 053-873511
Facebook MJU Library