นิทรรศการออนไลน์ : กินอย่างไร ให้สุขภาพดีในช่วงฤดูฝน

ย่างเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเต็มตัว (พฤษภาคม – ตุลาคม) ช่วงนี้เป็นช่วงที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวก็ร้อน เดี๋ยวฝนตก เพราะฉะนั้น จึงควรให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการเลือกบริโภคอาหาร เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสภาพต่อการ เปลี่ยนแปลงของอากาศได้

การเลือกรับประทานอาหารให้ปลอดภัย

  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ เพื่อป้องกันการเกิดความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารที่มักจะมาพร้อมกับฤดูฝน เช่น ท้องเสียอาหารเป็นพิษ
  • เลือกรับประทานอาหารที่ผ่านความร้อนอย่างทั่วถึง เช่น อาหารประเภทแกง ต้มจืด ต้มยำ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่สุก ๆ ดิบ ๆ 
  • ซื้ออาหารสำเร็จถ้ายังไม่รับประทานควรเก็บไว้ในตู้เย็น
  • ควรอุ่นอาหารก่อนรับประทาน

 

การเลือกรับประทานอาหารปรุงเอง

  • เลือกซื้อวัตถุดิบ อาหารที่สด สะอาด จากแหล่งที่เชื่อถือได้
  • วัตถุดิบ อาหารต่างๆ ก่อนนำมาปรุงต้องล้างให้สะอาด
  • ปรุงอาหารให้สุกโดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิสูง
  • ภาชนะที่นำมาใส่อาหารที่ปรุงเสร็จต้องสะอาด
  • เมื่อปรุงอาหารเสร็จใหม่ๆ ก็ควรรับประทานเลย ไม่ควรทิ้งไว้นาน

การเลือกรับประทานอาหารนอกบ้าน

  • เลือกร้านที่สะอาดทั้งสถานที่สะอาดทั้งสถานที่ อุปกรณ์ทำครัว 
  • ก่อนรับประทานอาหารต้องล้างมือให้สะอาด
  • ควรใช้ช้อนกลาง หากต้องรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • เมนูอาหารที่เลือกสั่งมารับประทาน ควรเป็นอาหารที่ปรุงสุก ไม่ใช่สุกๆ ดิบ หรือดิบ

อาหารที่ป้องกันโรคในช่วงฤดูฝน

  • อาหารรสเผ็ดทุกชนิด อาหารที่มีพริก รสเผ็ดนำ เช่น แกงส้มมะละกอ จะมีเครื่องแกงที่ช่วยทำให้หายใจโล่ง ไม่คัดจมูก เช่น หอมแดง กระเทียม ส่วนมะละกอก็มีประโยชน์ช่วยต้านไวรัส
  • ซุปไก่ ซุปไก่นั้นอุดมไปด้วยสารอาหารเข้มข้น จึงช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้เราได้ ใครมีอาการไอ เป็นหวัด ปอดอักเสบ การได้ซดซุปไก่ร้อนๆ จะช่วยทำให้อาการดีขึ้น
  • ซุปขิง น้ำขิง บัวลอยน้ำขิง ขิงช่วยล้างสารพิษ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหารได้ดี ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของซุปขิงหรือน้ำขิงร้อนๆ ก็ตาม ใครที่เป็นหวัด น้ำขิงร้อนๆ จะช่วยขับเหงื่อและขับสารพิษออกมาทางผิวหนัง และช่วยให้ปรับอุณหภูมิร่างกายให้อุ่นขึ้น 
  • ผัดผักบุ้งใส่กระเทียม ผักบุ้งนอกจากจะช่วยเรื่องสายตาแล้ว โบราณท่านว่ายังมีสรรพคุณอีกหลายอย่าง แต่ที่แน่ๆ คือได้ไฟเบอร์จากผัก ยิ่งกินกระเทียมด้วย จะช่วยให้หายจากไข้หวัด
  • ชาร้อน ในตัวชา จะมีสารที่ช่วยลดอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ช่วยให้หายใจคล่อง ไม่เวียนศีรษะ แก้อาการไอแห้ง
  • น้ำผัก ผลไม้ ผักที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น แครอท ผักใบเขียวจัด และผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม ฝรั่ง มะนาว องุ่น สรตอว์เบอรี่ เสาวรส ช่วยสร้างภูมิต้านทานหวัด 
  • โยเกิร์ต โยเกิร์ตช่วยให้หายหวัดได้เร็ว และห่างไกลจากโรคภูมิแพ้ เนื่องจากโยเกิร์ตช่วยเพิ่มการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว และสร้างสารแอนติบอดีในร่างกายเพิ่มขึ้น

การดูแลร่างกายในช่วงฤดูฝน

  • การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงเช่น มะขามป้อม มะขามเทศ ฝรั่ง ลิ้นจี่ มะละกอสุก เงาะ ส้มโอ พริกหวาน มะรุม คะน้า กะหล่ำปลี เป็นต้น
  • การทานวิตามินซีที่เป็นอาหารเสริม เป็นอีกตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยทานผักผลไม้ โดยมีทั้งรูปแบบเม็ด แคปซูล หรือเม็ดฟู่ละลายน้ำ ถ้าทานครบปริมาณที่แพทย์แนะนำจะสามารถลดความรุนแรงของการเป็นหวัดลงได้ และยังทำให้หายเร็วขึ้นอีกด้วย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 7-9 ชั่วโมง เพราะการนอนเป็นช่วงที่ร่างกายได้ฟื้นฟู และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เพิ่มภูมิต้านทานในการต่อสู้กับเชื้อโรคต่างได้อย่างดี
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ให้เหมาะสมกับช่วงวัย และทำต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง สัปดาห์ละ 3 ครั้งเพียงเท่านี้ก็จะทำให้สุขภาพแข็งแรง

บทสรุป

ฤดูฝนถึงจะเย็นฉ่ำแต่ก็แฝงไปด้วยอันตราย หากเรารู้ถึงวิธีการกิน การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และป้องกันตัวเองจากโรคภัยที่มากับฤดูฝนได้  เราก็จะสามารถมีความสุขกับฤดูฝนนี้ได้

 

ขอบคุณข้อมูล :

กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://www.brh.go.th/
https://www.naewna.com/
https://www.springnews.co.th/
https://www.okmd.or.th/