10 ทักษะจำเป็นที่ต้องมีในปี 2025
ทักษะที่ 1 ทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking)
คือ ความคิดใหม่ ๆ แนวทางใหม่ ๆ ทัศนคติใหม่ ๆ ความเข้าใจและการมองปัญหาในรูปแบบใหม่ ผลลัพธ์ของความคิดสร้างสรรค์ที่ชัดเจน ความคิดเชื่อมโยงที่พยายามหาทางออกหลาย ๆทาง ใช้ความคิดที่หลากหลาย แสวงหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ และนอกกรอบ
ทักษะที่ 2 ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence; EQ)
การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness) หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจ และรับรู้อารมณ์ของตนเอง
การควบคุมตัวเอง (Self-Management) หลังจากที่เรารับรู้อารมณ์ของตนและผลกระทบที่มีต่อผู้อื่นแล้ว สามารถควบคุมและจัดการกับอารมณ์ของตนได้ แล้วแสดงออกอย่างเหมาะสม
การจูงใจ (Motivation) เป็นคนที่มีแรงจูงใจจากภายใน (Intrinsic motivation) เต็มไปด้วยพลังที่ขับเคลื่อนจากภายใน มากกว่าแรงจูงใจจากภายนอก (External motivation)
การเข้าใจผู้อื่น (Empathy) หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และแสดงความใส่ใจเป็นพิเศษหากเขารู้สึกไม่ดี กังวล เศร้า
การอยู่ร่วมกับผู้อื่น (Social Skills) การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นก็เป็นสิ่งสำคัญ ทำให้บรรยากาศในการทำงานดีและผู้อื่นอยากที่จะทำงานด้วย
ทักษะที่ 3 ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking)
หมายถึง กระบวนการคิดในรูปแบบใหม่ๆ ความสามารถในการรับรู้ความคิดใหม่ ๆ ความคิดสร้างสรรค์มักเรียกกันว่า “การคิดนอกกรอบ”
การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking) หมายถึง กระบวนการคิดในรายละเอียด ความสามารถในการแยกแยะส่วนต่างๆออกเป็นส่วนพื้นฐาน
การคิดเชิงอย่างมีเหตุผล (Critical thinking) หมายถึง กระบวนการคิดโดยใช้วิจารณญาณหรือการตัดสินอย่างมีเหตุผลรอบด้าน
การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic thinking) หมายถึง กระบวนการคิด โดยการวิเคราะห์และประเมินเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง
การคิดเชิงบวก (Positive thinking) หมายถึง กระบวนการคิดและเข้าใจในสิ่งที่เป็นทั้งด้านบวกและด้านลบ
การคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative thinking) หมายถึงกระบวนการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆและนวัตกรรม จากทักษะและกระบวนการคิดแบบต่างๆ
การคิดเชิงระบบ (System thinking) หมายถึง กระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นตอน
ทักษะที่ 4 ทักษะความกระหายที่จะเรียนรู้ (Appetite for Learning)
คือ ความต้องการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง หรือการเป็นน้ำครึ่งแก้วที่พร้อมเติมเต็มความรู้เข้าไปอยู่เสมอ
“รู้จักตัวเอง” เริ่มต้นจากการรู้จักตัวเองว่าเราชอบการเรียนรู้แบบไหน เพราะการเรียนรู้เองก็มีหลายวิธี ทั้งการอ่านหนังสือ การฟังผู้เชี่ยวชาญ
“มองตัวเองเป็น” การเอานิสัยสมัยตอนคุณเป็นเด็กฝึกงานมาใช้จะช่วยทำให้คุณพร้อมที่จะเปิดรับสิ่งใหม่ๆ เข้ามาหรือสิ่งที่ได้เจอเสมอ กล้าลองผิดลองถูก และที่สำคัญคือยอมรับว่าคุณเองก็ไม่ได้สมบูรณ์แบบต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ที่จะพัฒนาต่อเนื่องเหมือนกัน
“เข้าไปอยู่ในสังคมคนเก่ง” ยิ่งคุณได้อยู่ในสังคมคนที่เก่งในเรื่องที่เราอยากเรียนรู้ นอกจากจะได้เทคนิคดีๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นแล้ว ยังทำให้เราเกิดการแข่งขันกับตัวเองเพื่อที่จะได้ชำนาญความรู้ในเรื่องนั้นได้เร็ววันอีกด้วย
“คิดแล้วทำเลย” เพราะการลงมือทำจะทำให้ได้ลองผิดลองถูก หาวิธีทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาในแบบที่ตัวเองทำได้
“แบ่งปันความรู้กับคนอื่น” การแชร์ความรู้หรือให้คำปรึกษาที่เรามีให้กับคนอื่น ทำให้เกิดการทวนความรู้ที่มี
ทักษะที่ 5 ทักษะการตัดสินใจ(Decision Making)
คือการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดจากทางเลือกหลายๆทางเลือก เพื่อให้องค์กรได้ประโยชน์สูงสุด และไม่มีความเสียหายผิดพลาดหรือมีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
“วิเคราะห์สถานการณ์” อะไรทำให้ต้องตัดสินใจ ถ้าไม่ตัดสินใจจะเกิดอะไร ใครจะได้รับผลจากการตัดสินใจครั้งนี้ (ทั้งทางตรงและทางอ้อม)
ต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้างเพื่อประกอบการตัดสินใจ
“ถามความเห็นผู้เกี่ยวข้องก่อนตัดสินใจ” ไม่ช้าก็เร็วทุกคนก็ต้องทราบผลการตัดสินใจของคุณ พวกเขาจะคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไรกับการตัดสินใจของคุณ ถ้ามันมีผลกระทบต่อคนอื่น ๆ ไม่ควรตัดสินใจเพียงลำพัง
“วิเคราะห์ผลดี ผลเสีย ที่จะเกิดตามมา” ชั่งน้ำหนักข้อดีและข้อเสียในระยะยาวให้ดีก่อนตัดสินใจ บางเรื่องข้อดีมากกว่า แต่อาจเป็นผลดีในระยะสั้น แต่มีผลเสียในระยะยาวก็ได้
“ตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้อง” ทางเลือกที่คนส่วนมากพึงพอใจอาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป เรื่องบางเรื่องสามารถประนีประนอมได้ แต่บางเรื่องที่เกี่ยวกับจุดยืน จรรยาบรรณ ความซื่อสัตย์ก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรประนีประนอม
“ตัดสินใจให้ทันเวลา” คุณอาจต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูล เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง แต่โอกาสและเวลาไม่อาจรอคุณผู้นำระดับสูงใช้ข้อมูลจำเป็นและสำคัญเพียง 60% ก็เพียงพอต่อการตัดสินใจแล้ว
“มีแผนสำรองเสมอ” บททดสอบที่สำคัญสำหรับนักบริหารคือเมื่อตัดสินใจผิดพลาดผู้นำที่เก่งฉกาจจะเตรียมรับมือกับผลลัพธ์ที่นอกเหนือความคาดหมายด้วยแผนสองเสมอ
ทักษะที่ 6 ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
คือการสื่อสารแบบซึ่งหน้า (Face to Face) เช่น การพูดคุยทั่วไป, การติดต่อประสานงาน, การสั่งงานระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง รวมถึงการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีอย่างโทรศัพท์และวิดีโอคอลต่าง ๆ
“รู้มารยาทพื้นฐานในการสนทนา” มารยาทพื้นฐานในการสนทนาเป็นสิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญ เพราะมารยาทการร่วมวงสนทนาที่ดีจะช่วยสร้างความประทับใจต่อผู้พบเห็นได้ เช่น การยิ้มแย้มขณะพูดคุยการไม่พูดแทรกในขณะที่ผู้อื่นพูดคุยกัน หรือการเปิดโอกาสให้คู่สนทนาได้แสดงความคิดเห็นบ้าง
“เป็นผู้ฟังที่ดี” การฟังคือการตั้งใจทำความเข้าใจเรื่องที่อีกฝ่ายพูดเพื่อเชื่อมโยงความรู้ที่มีเข้ากับข้อมูลใหม่ นอกจากนี้การตั้งใจฟังก็ ช่วยป้องกันการเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นด้วย และในขณะที่ฟังอยู่ก็ควรแสดงออกว่าเรากำลังตั้งใจฟังอยู่
“สื่อสารอย่างตรงประเด็น” การสื่อสารอย่างตรงประเด็นจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจจุดประสงค์ที่เราต้องการได้เร็วกว่า ซึ่งจะทำให้การสื่อสารของเราบรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น หากหัวข้อที่ต้องการพูดมีความซับซ้อน เราควรเรียบเรียงความคิดว่าจะพูดอะไรก่อน – หลัง เลือกใช้คำที่เหมาะสม
ทักษะที่ 7 ทักษะความเป็นผู้นำ (Leadership)
หมายถึงความสามารถของบุคคลในการนำพาผู้ติดตามหรือสมาชิกในองค์กร เพื่อให้ประสบความสําเร็จ ผู้นำที่ดีต้องมีความสามารถในการตัดสินใจที่ดี สามารถสร้างและสื่อสารวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนได้และสามารถชักจูงผู้ติดตามไปสู่เป้าหมายร่วม ที่ผู้นำคนเดียวไม่สามารถทำได้
“มุ่งมั่นในการทำงาน” ผู้นำต้องมีพลังในการทำงาน มุ่งมั่นสู่เป้าหมาย เพื่อขับเคลื่อนทีมให้กระตือรือร้นไปพร้อม ๆ กัน
“การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Effective Communication)” คือผู้นำดีต้องเป็นนักสื่อสารที่ดีด้วย สื่อสารได้ตรงประเด็น แม่นยำ ไม่อ้อมค้อม
“การมอบหมายงานอย่างมีประสิทธิภาพ” ผู้นำที่ดีไม่ต้องทำเองหมดทุกอย่าง เมื่อมอบหมายงานให้ทีมหลักสำคัญคือควรทำให้ลูกทีมรู้สึกว่าเขามีความสำคัญ
“ผู้ฟังที่ดี” ผู้นำที่ดีจะเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย ต้องฟังเป็นและถามเป็น เพื่อที่จะได้ข้อมูลและเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นช่วยตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพเข้าถึงประเด็นต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
“มีระบบและระเบียบ” ผู้นำที่มีระบบและระเบียบจะช่วยทำให้ทุกอย่างชัดเจน ไม่วุ่นวายไม่สับสน ช่วยให้ทีมงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
“รู้จักลูกทีม” ผู้นำต้องรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของลูกน้อง และรู้ว่าว่าอะไรบ้างที่ทำให้ทีมทำงานได้ดี ผู้นำควรจะต้องรู้ถึงชีวิตส่วนตัวลูกทีมด้วย
“มีส่วนร่วมกับทีม” การเป็นผู้นำไม่ใช่การสั่งการหรือควบคุมเท่านั้นแต่ต้องมีส่วนร่วมกับทีม โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ทีมมีปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือ
เป็นผู้ตามที่ดี ผู้นำที่ดีจะเป็นผู้ตามที่ดีด้วย ด้วยการให้ค่าของทุกคนในทีม สร้างแรงบันดาลใจร่วม
“เป็นเจ้าของงานและความรับผิดชอบ” ถึงจะมีการแบ่งงานให้ลูกน้องในทีมไปแล้ว แต่ผู้นำยังคงความเป็นเจ้าของงานและความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ตลอดเวลา
“กล้าหาญและตรงไปตรงมา” ผู้นำต้องกล้าเผชิญกับปัญหา กล้าพูดให้ทีมรู้ถึงจุดอ่อนของตัวเอง หรือสิ่งที่งานออกมาไม่ได้อย่างที่คาดหวัง เพื่อที่ทีมจะช่วยแก้ปัญหาได้ชัดเจนและไม่สับสน
ทักษะที่ 8 ทักษะการยอมรับในความหลากหลาย (Diversity in Workplace)
Diversity คือ ความหลากหลายของผู้คนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอายุ เพศกำเนิด ศาสนา เชื้อชาติ สัญชาติ ชาติพันธุ์ สีผิว การศึกษา วัฒนธรรม สังคม ความพิการ ความเจ็บป่วย รสนิยมทางเพศ สถานภาพการสมรส สถานภาพทางสังคม หรือความเห็นทางการเมือง
Equity คือ การที่คนในองค์กรได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการในการคัดเลือกพนักงานเข้าทำงาน อัตราค่าตอบแทน การพัฒนาศักยภาพพนักงาน การเลื่อนขั้น สภาพการทำงาน โดยปราศจากอคติที่มีต่อความหลากหลายและแตกต่าง แต่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทักษะและความสามารถเป็นหลัก
Inclusion คือ การยอมรับและผสานความแตกต่างของบุคคลในองค์กรเข้าด้วยกัน เช่น การส่งเสริมและให้คุณค่ากับความแตกต่างของบุคคลในองค์กร การสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร เคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมกับองค์กร
ทักษะที่ 9 ทักษะทางเทคโนโลยี (Digital Literacy)
ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
“อัพเดตทุกข้อมูลข่าวสาร” คือ การปรับปรุงแฟ้มข้อมูลในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการทำงาน อาจเป็นการเพิ่ม ลด หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลก็ได้ พูดง่าย ๆ ก็คือ ปรับให้เป็นปัจจุบันให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้ล้าสมัย ดูคำอื่นๆในหมวดคำศัพท์คอมพิวเตอร์
“รู้เท่าทันสื่อ” การที่เราไม่หลงเชื่อเนื้อหาที่ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง แต่สามารถคิด วิเคราะห์ สงสัย และรู้จักตั้งคำถามว่า สิ่งนั้นจริงหรือไม่จริง ใครเป็นคนให้ข้อมูลเขาต้องการสื่ออะไร หรือมีจุดมุ่งหมายแอบแฝงหรือไม่
“รอบรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ” เป็นทักษะที่สําคัญ ที่จะต้องมี ความสามารถในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระบบการสื่อสาร อย่างถูกต้อง และอย่างชาญฉลาด
“ฉลาดสื่อสาร” ต้องเข้าใจเทคโนโลยีที่อยู่รายรอบการสื่อสารทั้งหมด ถ้าย้อนไป 5-6 ปีก่อน คือ ต้องเข้าใจโซเชียลมีเดียอย่างลึกซึ้ง การสื่อสารผ่านข้อความ วิดีโอ และรูปภาพ จะต้องพอเหมาะพอเจาะกับแพลตฟอร์มเหล่านั้น เพราะบริบทแบบดิจิทัล คือ การโต้ตอบแบบทันทีทันใด รวมถึงมีความโปร่งใสของข้อมูล
ทักษะที่ 10 ทักษะการเตรียมความรับการเปลี่ยนแปลง (Techniques to deal with change)
“การเตรียมพร้อม” คิดไว้เสมอว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติและเดี๋ยวมันก็ผ่านไป มันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา มองว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาส ที่จะนำสิ่งดีๆ มาเสมอ
“ปรับเปลี่ยนมุมมองให้เป็นบวก” ข้อนี้สำคัญ ความคิดของเรามีอิทธิพลต่อตัวเรามาก เราต้องคิดและมองให้เป็น บวก ต้องเปิดใจ เปิดความคิด เปิดทัศนคติให้กว้าง มองเหตุการณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้รอบด้าน จะทำให้เราเห็นแง่มุมอื่นๆ
“มองความผิดพลาดไม่กล่าวโทษใคร” เราต้องเผื่อใจไว้มองความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นด้วย หากเกิดขึ้นเราก็ต้องคิดหาแนวทางแก้ไข หากแก้ไขไม่ได้ ก็เก็บไว้เป็นบทเรียนในครั้งต่อๆไป
“ต้องมั่นใจในการก้าวผ่าน” เราต้องบอกกับตัวเองเสมอว่า ‘สามารถรับมือกับทุกการเปลี่ยนแปลง’ ยอมรับความจริง และ ปรับตัว เราก็จะก้าวผ่านทุกๆความเปลี่ยนแปลงได้
สุดท้ายแล้ว เราต้องมีทักษะดีๆ 10 อย่างนี้ในอนาคต เริ่มต้นเรียนรู้กันได้แล้ว อีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้แล้วนะ!
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ :
http://www.callcentermaster.com
https://www.sasimasuk.com
https://www.learn.co.th
https://blog.jobthai.com
https://adecco.co.th