การเจ็บป่วยซ้ำของผู้ที่มีปัญหาจิตเวช: บทบาทพยาบาลในการดูแลต่อเนื่อง

ชื่อบทความ : การเจ็บป่วยซ้ำของผู้ที่มีปัญหาจิตเวช: บทบาทพยาบาลในการดูแลต่อเนื่อง (Recurrence of Psychiatric Patient Hospitalization: The Nursing Role in Continuing Care)

ผู้เขียน : อาจารย์ ดร. สุจรรยา โลหาชีวะ (Suchanya Lohacheewa)

ชื่อวารสาร : วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2564

               โรคทางจิตเวชเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง  อาจต้องการการดูแลตลอดชีวิตเพราะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และความเสื่อมของบุคลิกภาพจะลดลงเรื่อย ๆ หลังป่วยแต่ละครั้ง ซึ่งผู้ป่วยจะเสียการรับรู้เกี่ยวกับความเป็นจริง ทําให้เกิดอาการหูแว่ว ประสาทหลอน ก้าวร้าว อารมณ์ซึมเศร้า ไม่สนใจประกอบอาชีพ ไม่สนใจดูแลตนเอง รับประทานยาไม่ต่อเนื่อง บกพร่องในการทํากิจวัตรประจําวัน  การทําหน้าที่ในครอบครัว  และสังคม  และผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่มักจะไม่ยอมรับความเจ็บป่วยส่งผลให้ไม่ยอมเข้ารับการรักษา ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลให้มีอาการทางจิตรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งส่งผลให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยและญาติแย่ลง  และเพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษาซ้ำอีกด้วย

               ในปัจจุบันพบว่าในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่ต้องกลับมามีอาการซ้ำหรือกลับมารักษาซ้ำถึงร้อยละ 70 ดังนั้นผู้ป่วยด้วยโรคทางจิตเวช ควรที่จะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการ กลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล กิจกรรมการพยาบาลในระบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคทางจิตเวช มีความสําคัญและความจําเป็นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ โดยเริ่มตั้งแต่แรกรับจนจําหน่ายออกจากโรงพยาบาล ซึ่งต้องเป็นการปฏิบัติงานร่วมกันกับทีมสุขภาพที่ให้การดูแลผู้ป่วยโรคทางจิตเวช โดยวิธีการส่งต่อผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยพร้อมที่จะกลับบ้าน  เพื่อให้ผู้ป่วยโรคทางจิตเวชได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง  ลดการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลและสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้นานที่สุด ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่ต้องการคือเพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีต่อผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน จากสภาพปัญหาดังกล่าวจึงจําเป็นต้องหาสาเหตุและแนวทางในการแก้ปัญหากลับเป็นซ้ำโดยการส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชไปยังสถานบริการสุขภาพใกล้บ้าน  และเครือข่ายของสถานบริการนั้น ๆ ในชุมชน เพราะชุมชนเป็นส่วนหนึ่งที่สําาคัญในการดูแลผู้ป่วย  ทําาให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องส่งผลให้การกลับเป็นซ้ำลดลงได้

               ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าลักษณะสําคัญของพยาบาลจิตเวชในการป้องกันการกลับมีอาการซ้ำของผู้ป่วยจิตเวช  คือ  การให้ผู้ป่วยจิตเวชและครอบครัวเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม  มีคุณภาพ การดูแลสุขภาพเริ่มตั้งแต่ก่อนเจ็บป่วย  ขณะมีอาการเจ็บป่วย  และช่วงฟื้นฟูสภาพ  โดยกระทําอย่างต่อเนื่องเป็นองค์รวม  ครอบคลุมทั้งด้านส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ให้การรักษาและฟื้นฟูสภาพ  ซึ่งในบทบาทการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่อง  จําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทีมสุขภาพ ผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน และเครือข่ายทางสุขภาพ  โดยเฉพาะการทําางานประสานกันระหว่างพยาบาลจิตเวชที่ปฏิบัติงานในระดับตติยภูมิหรือทุติยภูมิโดยทําาหน้าที่ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยจิตเวชมีอาการทางจิตลดลง เตรียมความพร้อมในการทําาหน้าที่ทางสังคมเหมือนกับคนอื่น ๆ  ช่วยให้ผู้ป่วยมีกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคมที่ดีสามารถดําารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี  และเมื่อผู้ป่วยเหล่านี้มีความพร้อมที่จะกลับบ้านหรือสามารถดูแลตนเองได้ ผู้ป่วยเตรียมพร้อมจะกลับบ้าน กลับชุมชน ดําเนินการส่งต่อให้พยาบาลจิตเวชในชุมชนหรือพยาบาลที่ปฏิบัติงานในส่วนของโรงพยาบาลระดับปฐมภูมิเพื่อดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ต่อทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดําารงชีวิตอยู่กับครอบครัว ชุมชน สังคมของตนเองได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : 

https://www.tci-thaijo.org/
https://www.hsri.or.th/researcher/media/news/detail/7860
https://www.thaihealth.or.th/

สนใจอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/trcnj/article/view/253311/172228

สนใจขอบทความฉบับเต็มได้ที่ : article-delivery 

หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ :

เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1

โทร 053-873510

Facebook MJU Library