เรื่อง : ผู้ซึ่งหิมาลัยไว้ชีวิต
ผู้แต่ง ชุมพล ครุฑแก้ว (ดร.จุ๋ง)
ผู้เรียบเรียง : เกริกศิษฏ์ พละมาตร์
สืบค้นจาก http://opac.library.mju.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=340620
“ดร.จุ๋ง-ชุมพล ครุฑแก้ว” คือนักวิ่งข้ามภูเขาหิมาลัยคนแรกของเมืองไทย ที่ตัดสินใจลาออกจากงานประจำที่ทำมาสิบกว่าปีออกวิ่งผจญภัย 1,600 กิโลเมตรตามแนวเทือกเขาหิมาลัยข้ามประเทศเนปาล เพื่อท้าทายและก้าวข้ามเป้าหมายของตัวเอง ตลอดการเดินทางกว่า 1,600 กิโลเมตร ความสูงรวม 83,000 เมตร ในเวลา 48 วันครั้งนั้นทำให้ ดร.จุ๋งเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทั้งหมดที่ได้รับนำมาถ่ายทอดผ่านหนังสือและภาพยนตร์สารคดี “ผู้ซึ่งหิมาลัยไว้ชีวิต” ทั้งนี้ก็เพื่ออยากส่งต่อแรงบันดาลใจดีๆ ให้แก่ผู้อื่นต่อไป
ชีวิตก่อนออก “วิ่ง” มีอาชีพเป็นนักวิจัยด้านคอมพิวเตอร์ จบมาจากประเทศญี่ปุ่น และเริ่มต้นชีวิตการทำงานโดยกลับมาใช้ทุนของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่ NECTEC สวทช. ทำงานไปพร้อมๆ กับการรณรงค์ให้คนรักษาสุขภาพและยังได้เขียนเพจเขียนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวิ่ง และได้กลายมาเป็นนักวิ่งค่อยๆ พัฒนาตัวเองมาทีละสเต็ป เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น จากระยะทางเริ่มต้น 10 กิโลเมตร มาเป็น 21 กิโลเมตร มาเป็นวิ่งมาราธอน วิ่ง 50 กิโลเมตร วิ่ง 100 กิโลเมตร วิ่งเทรล ไตรกีฬา เป็นต้น
ลงสนามแข่งวิ่งปีละ 1 ครั้ง เพื่อก้าวข้ามเป้าหมายที่ตั้งไว้ครั้งแรกตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะวิ่ง 170 กิโลเมตร รอบภูเขาไฟฟูจิ ประเทศญี่ปุ่น ครั้งต่อไปวิ่งเทรล 350 กิโลเมตร รอบแนวเทือกเขาแอลป์ ในอิตาลีและหลังจากที่ไปวิ่งเทรล 350 กิโลเมตร ที่เทือกเขาแอลป์ อิตาลี เป้าหมายถัดมาไปคืออยากวิ่งตามแนวเทือกเขาหิมาลัย ข้ามประเทศเนปาล ซึ่งเทือกเขาหิมาลัยถือเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลกและเป้าหมายครั้งนี้ถือว่าก้าวกระโดดและท้าทายมากๆ จึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำที่ทำมา 16 ปีและพร้อมที่ก้าวออกไปทำในสิ่งที่ตัวเองเลือกใช้ประสบการณ์การวิ่งที่ผมสั่งสมมาทั้งหมด สมัครวิ่งใน รายการวิ่ง ‘เกรตฮิมัลเรซ 2017’ ตามแนวเทือกเขาหิมาลัยข้ามประเทศเนปาล ระยะทาง 1,600 กิโลเมตร ความสูงสะสมรวม 83,000 เมตร ระยะเวลาทั้งสิ้น 48 วัน โดยสามารถพักและตั้งแคมป์ได้ทุกคืน
สนามวิ่งนี้มีคนลงสมัครทั้งหมด 30 คน ส่วนใหญ่เป็นสัญชาติฝรั่งเศส อเมริกัน แคนาดา เบลเยียม เอเชียจะมีไทย มาเลเซีย ฯลฯ รวมสตาฟชาวเนปาลด้วยเป็น 40 คน คนที่จะสมัครรายการนี้ได้จะต้องผ่านเกณฑ์หลายๆ อย่าง เช่น ต้องวิ่ง 100 กิโลเมตรได้ภายในกี่ชั่วโมง ต้องมีทักษะการปีนเขา โรยตัวเป็น มีทักษะการช่วยชีวิต ปฐมพยาบาลได้ ดำรงชีวิตในแคมป์ได้ ทำอาหารเองได้ ที่สำคัญต้องเคยผ่านความสูงเกิน 5,000 เมตรมาแล้ว ซึ่งการแข่งขันครั้งนั้นมีนักวิ่งถึงจุดหมายเข้าเส้นชัยทั้งหมด 11 คน ซึ่ง ดร.จุ๋ง ก็เป็นหนึ่งในนั้น
“ผู้ซึ่งหิมาลัยไว้ชีวิต” เล่มนี้ จะนำพาผู้อ่านไปพบกับบันทึกสองเท้าของนักวิ่ง 1,600 km บนเส้นทางอันแสนทรหดของเทือกเขาหิมาลัย ภายใน 48 วันที่เดินทางจากพรมแดนฝั่งตะวันออกจนถึงฝั่งตะวันตกของเนปาล ได้บันทึกภาพและคำพูดระหว่างการเดินทางไว้มากกว่า 1,000 คลิป และสามารถถอดภาพและข้อความมาร้อยเรียงเรี่ยงราวต่างๆที่พบเจอระหว่างเดินทางจนออกมาเป็นหนังสือเล่มนี้ แบบกระชับ ให้ผู้อ่าน เพลิดเพลิน เห็นภาพ จินตนาการ และได้รับรู้ประสบการณ์ต่างๆเสมือนได้เป็นผู้ร่วมเดินทางไปด้วย
สารบัญ
1. เมื่อชีวิตมาถึงทางเลือก
2. สิ่งเล็ก ๆ จากการเตรียมตัวคือหนึ่งเดียวกับการซ้อม
3. กว่าจะถึงจุดสตาร์ท 1: บันทึกเริ่มต้นที่กาฐมาณฑุ
4. กว่าจะถึงจุดสตาร์ท 2: ชีวิตไม่ง่าย
5. กว่าจะถึงจุดสตาร์ท 3: (รอนแรม) ไปปักหมุดที่จุดเริ่มต้น
6. กว่าจะถึงจุดสตาร์ท 4: ปรับความสูง
7. กว่าจะถึงจุดสตาร์ท 5: ความป่วยไข้
8. สายควันแห่งมนต์พิธี และบทเริ่มเกรทฮิมัลเรซ
9. หินและหิมะ
10. ที่ราบอันยิ่งใหญ่บนภูเขา
ฯลฯ
สนใจสอบถามได้ที่ เคาน์เตอร์ยืมคืน ชั้น 2 โทร 053-873510 , Facebook MJU Library
หรือใช้บริการ Books Seeking & Delivery Service (บริการยืมสำหรับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : บทสัมภาษณ์ https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000023512 ; https://mgronline.com ; http://weeklynews.online/?p=939 ; https://www.blockdit.com/