ท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง

ชื่อหนังสือ : ท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง

ชื่อเรื่องเพิ่มเติม : Temples and Elephants : The narrative of journey of exploration through upper Siam and Lao By Carl Bock

ผู้เขียน : เสถียร  พันธรังสี, อัมพร  ทีขะระ

สืบค้นจาก : http://opac.library.mju.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=203152

หนังสือ “ท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง” เล่มนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียร พันธรังษี และคุณอัมพร ทีขะระ แปลมาจากหนังสือชื่อ Temples and Elephants ของ Carl Bock หนังสือในภาคภาษาไทยเล่มนี้ เคยจัดพิมพ์เป็นตอนๆ ครั้งแรกตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ “ชาวไทย” ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ.2503 ถึงมกราคม พ.ศ.2504 และต่อมาเมื่อ สำนักพิมพ์ “ศิลปวัฒนธรรม” ฉบับพิเศษ ได้นำกลับมาจัดพิมพ์ใหม่เป็นครั้งที่ 3 ใน พ.ศ.2529 จึงได้เปลี่ยนชื่อหนังสือในภาคภาษาไทยเป็น “ท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง”

โดยหนังสือเล่มนี้ได้เพิ่มและเสริมภาพประกอบให้สมบูรณ์และตรงต่อเนื้อหาเรื่องราวที่คาร์ล บ็อค ได้นำเสนอและตีพิมพ์ในภาคภาษาอังกฤษ เพื่อให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น คาร์ล บ็อค (Carl Bock) เป็นนักธรรมชาติวิทยาและนักสำรวจชาวนอร์เวย์ เขาได้เข้ามาสำรวจดินแดนในประเทศสยาม ทางด้านภูมิศาสตร์ ในช่วง พ.ศ.๒๔๒๔ และเดินทางจากสยามกลับสู่ยุโรปในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2425 โดยเดินทางสำรวจดินแดนแถบภาคเหนือของสยามประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่ปลาย พ.ศ.2424 ด้วยการออกเดินทางตามเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ กำแพงเพชร ไปจนถึงลำปาง และต่อไปจนถึงลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย กระทั่งเข้าสู่ดินแดนไทใหญ่ในอาณาเขตยูนนาน หรือสิบสองปันนาในเวลานั้น ไม่เพียงเท่านั้น ในระหว่างที่รอคอยการเดินทางเพื่อขึ้นไปสำรวจดินแดนทางตอนเหนือของสยาม เขายังได้เดินทางสำรวจตรวจตราไปในท้องถิ่นต่างๆ ของสยามหลายแห่งไม่ว่าเพชรบุรี หรือกาญจนบุรี พร้อมกันไปอีกด้วย การสำรวจและการเดินทางของเขาในครั้งนั้นถูกเขียนขึ้นเป็นเอกสารและได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกออกเป็นภาษาเยอรมันใน พ.ศ.๒๔๒๖ และต่อมาได้มีการแปลหนังสือเล่มนั้นออกเป็นภาษาอังกฤษ ในอีกปีต่อมาคือใน พ.ศ.2427 โดยใช้ชื่อในภาคภาษาอังกฤษว่า Temples and Elephants

 วัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งในการเข้ามาศึกษาเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการขยายอำนาจของมหาอำนาจยุโรป เพื่อช่วงชิงพื้นที่หาผลประโยชน์ โดยตลอดเส้นทางจะมีการบันทึกรายละเอียดอย่างคลอบคลุมทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นด้านข้อมูลทางกายภาพพื้นที่ ลักษณะภูมิประเทศ ทรัพยากรธรรชาติ ข้อมูลทางสังคม วัฒนธรรมต่างๆ ชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชน คติความเชื่อของกลุ่มคน รวมถึงข้อมูลด้านการปกครองด้วย

ช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่สยามได้ขยายอำนาจการปกครองไปสู่หัวเมืองต่างๆ โดยการส่งข้าหลวงมากำกับ การสร้างระบบราชการสยาม การวางรากฐานการศึกษาและควบคุมสถาบันสงฆ์ ส่งเสริมมิชชันนารี และการสร้างสัมพันธ์ทางเครือญาติกับเจ้าเมืองต่าง ๆ ซึ่งช่วงแรกประสบปัญหาการต่อต้านจากหัวเมืองต่างๆ เป็นอย่างมาก เพราะปัญหาการถูกลิดรอนสิทธิ์อำนาจของผู้ปกครองท้องถิ่น ซึ่งมีบันทึกเหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อขัดแย้งเรื่องดังกล่าวนี้หลายเหตุกาณ์

ซึ่งข้อมูลหรือบันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นหลักฐานอ้างอิงร่วมสมัย ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวในอดีตให้แก่ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ศึกษา การปฎิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปที่เริ่มขึ้นในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 24 ได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะสำคัญของความสนใจที่มหาอำนาจตะวันตกมีต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีปไปอย่างสิ้นเชิง เล่มนี้มีคำอธิบายเพื่อตอบข้อสงสัย ซึ่งเขียนและพิมพ์ขึ้นเมื่อ 100 กว่าปี มาแล้ว

สารบัญ

  1. เข้าสู่สยาม
  2. เข้าเฝ้า
  3. ช้างเผือก
  4. วังหน้า
  5. กรุงเทพฯ
  6. วัด
  7. อยุธยา-บางปะอิน
  8. ฝั่งตะวันตก
  9. บวชนาค
  10. ทอดกฐิน
  11. ขึ้นเหนือ
  12. ระแหง
  13. ลำปาง
  14. ถูกกัก
  15. พิธีแต่งงาน
  16. ลำพูน
  17. พุทธศาสนา
  18. เชียงใหม่
  19. เชียงใหม่ (ต่อ)
  20. จากเชียงใหม่
  21. ถึงฝาง
  22. พระพุทธรูป
  23. ถ้ำตับเต่า
  24. ถึงเชียงราย
  25. คนเชียงราย
  26. ไปเชียงแสน
  27. จากเชียงราย
  28. ถึงเชียงใหม่
  29. กลับกรุงเทพฯ
  30. ฉลองพระนคร
  31. โชว์สินค้า
  32. ทูลลา

 

สนใจสอบถามได้ที่ เคาน์เตอร์ยืมคืน ชั้น 1 โทร 053-873510 , Facebook MJU Library หรือใช้

บริการ Books Seeking & Delivery Service (บริการจัดส่งสำหรับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้)

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : เนื้อหาในหนังสื่อท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง ; www.asiabooks.com ; www.silpa-mag.com