Weekly E-book : เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economic)

สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation) หรือ อว. ได้จัดทำชุด series หนังสือเศรษฐกิจแห่งอนาคต 6 เล่มให้ download ฟรี วันนี้เลยจะนำมาแนะนำหนังสือ 1 ใน 6 เล่มนี้ คือ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) 

เศรษฐกิจโลกในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมามีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยสำคัญคือ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีการแพทย์อย่างรวดเร็ว ประกอบกับการขยายตัวเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลกอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนจากเดิมที่กว่าจะเพิ่มจำนวนประชากรโลกได้ 1 พันล้นคน ต้องใช้เวลานานกว่า 100 ปี กลายมาเป็นใช้เวลาแค่เพียง 12 ปีเท่านั้น

แม้การเพิ่มประชากรจะชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่จำนวนประชากรโลกจะยังคงมีจำนวนมาก คาดหมายว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 8.000 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2024 และ 9,000 ล้านคนในปี ค.ศ. 2042

เรื่องนี้ส่งผลให้ปัจจุบันมีการใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาล และเกิดมลพิษมากมายทั้งในดิน น้ำ และอากาศ จนมีหน่วยงานระดับนานาชาติหลายหน่วยงานเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญในการวางแผนรับมือกับปัญหาดังกล่าว แนวคิดหนึ่งก็คือ การผลักดันให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)” ขึ้น

นิยาม “เศรษฐกิจสีเขียว” ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Naions Environment programme) หรือ UNEP ที่อ้างถึงต่อไปนี้ เป็นนิยามที่มีลักษณะครอบคลุมมากที่สุด ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากที่สุด และมักใช้ในการประชุมระดับนานาชาติ

เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) คือ ระบบศรษฐกิจที่ส่งผลให้เกิดการปรับปรุงความเป็นอยู่ชองมนุษย์และความเทียมของสังคม ขณะเดียวกันก็ลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและความขาดแคลนทางระบบนิเวศอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยวิธีการที่ใช้และปล่อยคาร์บอนออกน้อย ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมาก และเกิดจากความร่วมมือของคนในสังคม (ที่มา : The UNEP-Ied Green Economy Initiative, 2011)

นิยามคำว่า เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)

นอกจากนิยาม “เศรษฐกิจสีเขียว” ของ UNEP แล้ว ยังมีนิยามของเศรษฐกิจสีเขียวแบบอื่น ๆ อีกหลายแบบ โดยแต่ละแบบมีส่วนคล้ายและส่วนต่างกันดังนี้

เศรษฐกิจสีเขียว คือ ระบบเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่น ซึ่งช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตสำหรับทุกคน ภายใต้ข้อจำกัดด้านนิเวศวิทยาของโลก (ที่มา : คณะกรรมการร่วมเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy Coalition), 2010)

เศรษฐกิจสีเขียว คือ ระบบเศรษฐกิจที่การเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมไปด้วยกันได้ ส่งเสริมกันพร้อมกับสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าในเรื่องการพัฒนาทางสังคม (ที่มา : หอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce), 2012)

เศรษฐกิจสีเขียว คือ ระบบเศรษฐกิจที่เพิ่มสวัสดิการและการจ้างงานของคนผ่านการลงทุนโดยรัฐและสังคม เพื่อให้แน่ใจได้ว่ามีการลดการปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม และกระตุ้นประสิทธิภาพการใช้พล้งงานและทรัพยากร เช่นเดียวกับการปกป้องไม่ให้เกิดอัตรายต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) และระบบนิเวศ (Ecosyster) (ที่มา : Diyar et al., 2014)

จะเห็นได้ว่านิยามที่ยกมาทั้ง 4 แบบ มีส่วนร่วมกันที่สำคัญคือ

– ห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศโดยรวม และบางแบบก็ยังคำนึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพอีกด้วย

– มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่และยกระดับคุณภาพชีวิตมนุษย์ในสังคม

– มีบางแบบที่นันเรื่องประสิทธิภาพการใช้พลังงานและทรัพยากร ซึ่งจะไปลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมอีกที

แต่ไม่ว่าแบบใดก็ตาม ก็ยังต้องการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกตัวย จึงนำไปสู่คำศัพท์ใหม่อีกคำหนึ่งคือ “การเติบโตสีเขียว (Green Growth)” ซึ่งก็มีผู้นิยามไว้เป็นหลายแบบอีกเช่นกัน

ระบบนิเวศ (Ecosystem) คือ สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งและวิธีการที่พวกมันส่งผลกระทบต่อกันและต่อสิ่งแวดล้อม (ที่มา : Cambridge Dictionary Online)

เศรษฐกิจสีเขียว เป็นหนึ่งในแนวทางการพัฒนาของโลกในศตวรรษที่ 21 ที่คำนึงถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอื่น ๆ เพื่อสร้างให้เกิด “การเติบโตสีเขียว” การใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมและรู้คุณค่า ลดการใช้พลังงาน ลดความเสี่ยงที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย และตอบสนองการพัฒนาที่ยั่งยืน

คลิกเพื่ออ่าน ebook ฉบับเต็ม  “เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economic)”

พุดคุยและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook mjulibrary