Book (Fair) Ready to Serve : ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: สาขาวิชาและความแตกต่างหลากหลาย

          “ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ : สาขาวิชาและความแตกต่างหลากหลาย” เป็นหนังสือทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ครอบคลุมทฤษฎีหลักที่สำคัญ ๆ ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไว้อย่างครบถ้วน แม้ว่าจะแยกบทต่าง ๆ ตามทฤษฎีที่แตกต่างหลากหลาย แต่ก็พยายามเชื่อมโยงและเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างทฤษฎีต่าง ๆ อย่างเด่นชัด ทั้งยังจัดวางทฤษฎีเหล่านี้ไว้ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า “การถกเถียงใหญ่” (Great Debates) ในสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการวิพากษ์ไม่มากก็น้อย

           หนังสือเล่มนี้ไม่ได้ให้ภาพในเชิงทฤษฎีอย่างลอย ๆ แต่ยังมีการนำเอาทฤษฎีเหล่านี้ไปพรรณนาและประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษาสำคัญต่าง ๆ ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งในแต่ละบทได้เลือกกรณีศึกษาอย่างน้อย 1 กรณีเพื่อประกอบการอธิบายและการทำความเข้าใจทฤษฎีของตน การอ่านทฤษฎีช่วยทำให้เราเห็นว่าโลกหรือปรากฏการณ์ทางสังคมหนึ่ง ๆ นั้นถูก “มอง” ได้หลากหลายมุมมอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานทางทฤษฎีที่แตกต่างกัน หรือเลนส์ในการมองโลกที่แตกต่างกัน อาจกล่าวได้ว่าในปรากฏการณ์ทางสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ เราสามารถเห็นคำตอบที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดยืนหรือมุมมองทางทฤษฎีของนักทฤษฎีคนหนึ่ง ๆ ในหนังสือเล่มนี้ นักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแต่ละสำนักจึงเป็นเหมือน “ผู้ขาย” ที่พยายามชี้ชวนให้นักศึกษาและผู้อ่าน “เชื่อ” และยอม “ซื้อ” ทฤษฎีของตนมากที่สุด แต่ก็มีข้อโต้แย้งอยู่ว่านักศึกษาและนักวิชาการควรที่จะ “สมาทาน” ทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งและยอมปกป้องทฤษฎีนั้นๆ อย่างสุดจิตสุดใจหรือว่าควรที่จะมองทฤษฎีต่างๆ เป็นเพียงแค่ “เลนส์” หรือ “ชุดเครื่องมือ” ที่เราเลือกหยิบใช้เมื่อต้องการอธิบายหรือทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมการเมืองหนึ่ง แต่อย่างน้อยที่สุด ดังที่ Steve Smith เสนอไว้ในบทนำว่า คำอธิบายโลกทางสังคม เช่น โลกของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นั้นมีมากกว่าหนึ่งคำอธิบายเสมอ

สารบัญ

บทนำ: ความแตกต่างหลากหลายและความเป็นสาขาวิชาในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
บทที่ 1 สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสังคมศาสตร์
บทที่ 2 ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเชิงปทัสถาน
บทที่ 3 สภาพจริงนิยมแบบดั้งเดิม
บทที่ 4 สภาพจริงนิยมเชิงโครงสร้าง
บทที่ 5 เสรีนิยม
บทที่ 6 เสรีนิยมใหม่
บทที่ 7 สำนักอังกฤษ
บทที่ 8 มาร์กซิสม์และทฤษฎีวิพากษ์
บทที่ 9 สรรสร้างนิยม
บทที่ 10 สตรีนิยม
บทที่ 11 หลังโครงสร้างนิยม
บทที่ 12 หลังอาณานิคมนิยม
บทที่ 13 ทฤษฎีเชิงสิ่งแวดล้อม
บทที่ 14 ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและโลกาภิวัตน์
บทที่ 15 ยังคงเป็นสาขาวิชาฤาหลังจากการถกเถียงทั้งหลาย?

ข้อมูลหนังสือ

ชื่อหนังสือ: ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: สาขาวิชาและความแตกต่างหลากหลาย
ผู้แต่ง: Tim Dunne, Milja Kurki, Steve Smith
ผู้แปล: จิตติภัทร พูนขํา
สำนักพิมพ์: ศยาม
จำนวนหน้า: 560 หน้า
ISBN: 9789743159473

ตรวจสอบสถานะของหนังสือ

ที่มา
se-ed.com
kledthai.com