ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว

“ความจริงเคยพูดเสมอในที่ประชุมอย่างนี้ว่า การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ
สำคัญที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกินแบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้
ให้มีพอเพียงกับตัวเองอันนี้ก็เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัว
จะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เองอย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ
จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้
แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก
อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่าง ๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัย จริงอาจจะล้าสมัย
คนอื่นเขาต้องการมีเศรษฐกิจที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่าเป็นเศรษฐกิจการค้า
ไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง เลยรู้สึกว่าไม่หรูหรา แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่า
ผลิตให้พอเพียงได้ อย่างข้าวที่ปลูก เคยสนับสนุนให้ปลูกข้าวให้พอเพียงกับตัวเองแต่ละครอบครัว
เก็บเอาไว้ในยุ้งเล็ก ๆ แล้วถ้ามีพอมีขายแต่คนอื่นกลับบอกว่าไม่สมควร
โดยเฉพาะในทางภาคอีสาน เขาบอกว่าต้องปลูกข้าวหอมมะลิเพื่อจะขาย อันนี้ถูกต้อง
ข้าวหอมมะลิขายได้ดี แต่เมื่อขายแล้วจะบริโภคเองต้องซื้อ ต้องซื้อจากใคร
ทุกคนก็ปลูกข้าวหอมมะลิ ในภาคอีสานส่วนมากเขาชอบบริโภคข้าวเหนียว
ซึ่งใครจะเป็นคนปลูกข้าวเหนียว เพราะประกาศโฆษณาว่าคนที่ปลูกข้าวเหนียวเป็นคนโง่
อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ เลยได้สนับสนุน บอกเขาว่าให้ปลูกข้าวบริโภค
เขาจะชอบขาวหนียวก็ปลูกข้าวเหนียว เขาจะชอบปลูกข้าวอะไรก็ตาม
ให้เขาปลูกข้าวอย่างนั้นและเก็บไว้ เพื่อที่จะบริโภคตลอดปี ถ้ามีที่ที่จะทำนาปรัง
หรือมีที่มากพอสำหรับปลูกข้าว ก็ปลูกข้าวหอมมะลิเพื่อที่จะขาย”

พระราชดำรัชถึงเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” แก่คณะบุคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าถวายชัยมงคล เนื่องใจโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนิยามความหมาย “เศรษฐกิจพอเพียง” ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2541 ไว้ว่า

“พอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวาง
คือคำว่า พอก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอ
ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า
พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก
พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้
แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอ
ประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง
ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง…
ทางความคิดก็เหมือนกัน ไม่ใช่ทางกายเท่านั้น
ความพอเพียงในความคิดก็คือ แสดงความคิด
ของตัว ความเห็นของตัว และปล่อยให้อีกคนพูดบ้าง

และมาพิจารณาว่าที่เขาพูดกับที่เราพูด
อันไหนพอเพียง อันไหนเข้าเรื่อง ถ้าไม่เข้า
เรื่องก็แก้ไข เพราะว่าถ้าพูดกันโดยที่ไม่รู้
เรื่องกันก็จะกลายเป็นการทะเลาะกัน…
ฉะนั้น ความพอเพียงนี้ก็แปลว่า
ความพอประมาณ และความมีเหตุผล”
(น.23-24)

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นของดีที่คนไทยทุกคนควรใส่ใจและควรหาทางนำมาประพฤติปฏิบัติกันให้ได้ เพื่อความสุขความเจริญของตัวเราและสังคมของเรา ตามวิถีชีวิตพอเพียง

ข้อมูลจากหนังสือ  “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว” โดย อุดมพร อมรธรรม ภายใต้ โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเป็นการดำเนินงานของสำนักหอสมุด  โดยศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหน่วยงานความร่วมมือในเครือข่ายสารสนเทศเกษตรไทย รวมทั้งหน่วยงานและเจ้าของผลงานที่ยินดีเผยแพร่ผลงานเพื่อให้เป็นคลังความรู้ สนับสนุนการเรียน การสอน ของโครงการพระดาบส และสาขาวิชาเกษตรของสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมทั้งเกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป นอกจากนี้ การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร ยังเป็นการอนุรักษ์องค์ความรู้ที่มีการสร้างและสั่งสมมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอันยาวนานของการเกษตรไทย ให้คงอยู่เพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเกษตรของประเทศ

ผู้อ่านสามารถอ่านหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มเติมอีกจำนวน 82 เล่ม และยังมีหนังสือ e-book ด้านอื่น ๆ ให้บริการอีก 1,665 เล่ม ได้ที่เว็บไซต์ http://ag-ebook.lib.ku.ac.th/index.php

Ag-ebook

ข้อมูลหนังสือ
ชื่อเรื่อง : ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว
ปีที่จัดพิมพ์ : 2549
ISBN : 974-9818-58-X
ชื่อผู้แต่ง : อุดมพร อมรธรรม
จำนวนหน้า : 136  หน้า
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์แสงดาว
คำสำคัญ : เศรษฐกิจพอเพียง;หลักปรัชญา;เกษตรทฤษฎีใหม่;ความหมาย;วิถีชีวิตพอเพียง;อุตสาหกรรม;การดำรงชีวิต;การประยุกต์;พระราชดำริ;ประโยชน์;แนวคิดทางเศรษฐกิจเชิงพุทธ;ในหลวง;เกษตรทฤษฎีใหม่;พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
URL : อ่าน Fulltext