Great 78 Project: แผ่นเสียงกว่า 50,000 ชิ้นถูกแปลงไฟล์และสามารถฟังออนไลน์ได้แล้ว

ARCHive of Contemporary Music (ARC) องค์กรไม่แสวงกำไรที่ทำหน้าที่เป็นห้องสมุดและศูนย์การวิจัยด้านดนตรี ตั้งอยู่ในนิวยอร์ก ได้ทำการอนุรักษ์วัสดุโสตทัศนูปกรณ์เริ่มตั้งแต่ปี 1985 และเมื่อไม่นานมานี้ องค์กรได้ร่วมมือกับ Internet Archive เพื่อนำโครงการ Great 78 Project  ออกบริการสู่สาธารณชน

Great 78 Project  จนถึงปัจจุบันมีการอัพไฟล์ดิจิทัลจากแผ่นเสียงแบบ 78rpm จำนวนกว่า 50,000 แผ่นบนเว็บไซต์ Internet Archive ซึ่งสามารถรับฟังออนไลน์ได้แล้ว คลิกเพื่อเข้าชม

Collected Works of Caruso

The Happy Monster by Chubby Jackson and his OrchestraJacksonBauer

Internet Archive ยังมีแผ่นเสียงที่ได้รับบริจาคมากกว่า 200,000 แผ่น โดยส่วนมากมีตั้งแต่เก่ากว่าปี 1950 แผ่นเสียงเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นแบบ แผ่นเสียงครั่ง* ซึ่งต่างจากปัจจุบันซึ่งเป็นแผ่นที่ทำจากเรซิ่น

แผ่นเสียงที่มีลักษณะเปราะแตกง่ายอย่าง แผ่นเสียงครั่ง นี้ เริ่มหมดความนิยมราวๆปี 1960 สาเหตุเพราะ ลักษณะค่อนข้างหนาและหนัก ตกแตกง่ายอย่างจานกระเบื้อง ให้เสียงแหลมแตกพร่าและเสียงรบกวนจากหัวเข็มโลหะที่ต้องคอยเปลี่ยนบ่อยๆ

แผ่นเสียงครั่งเหล่านี้ หากไม่ได้รับการแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัลแล้ว อาจเป็นไปได้ว่าแผ่นเสียงบางส่วนเหล่านี้จะพังพินาศและสูญหายไปกับประวัติศาสตร์ตลอดไป

*จานเสียงครั่ง โดยทั่วไปมีขนาด 10-12 นิ้ว สปีด 78 รอบ/นาที บันทึกและเล่นกลับได้หน้าละไม่เกิน 3-5 นาที ลักษณะค่อนข้างหนาและหนัก ตกแตกง่ายอย่างจานกระเบื้อง ให้เสียงแหลมแตกพร่าและเสียงรบกวนจากหัวเข็มโลหะที่ต้องคอยเปลี่ยนบ่อย แผ่นครั่งในเมืองไทย เช่น ปาเต๊ะ ,อาร์ซีเอ วิคเตอร์ (ที่เรียกติดปากว่า ตราหมาหน้าเหลือง,เขียว หรือ แดง ตามป้าย ) ,พาร์โลโฟน ,โคลัมเบีย ,เดคก้า ,บรันซวิค ,แคปิตอล ,ฟิลิปส์ ,เอ็มจีเอ็ม ,เทพดุริยางค์ ,โอเดียน ,ศรีกรุง ,กระต่าย ,อัศวิน ,สุนทราภรณ์ ,มงกุฏ ,เทพนคร ,นางกวัก ,กระทิง ,นาคราช ,กรมศิลปากร แผ่นที่ใช้เฉพาะในสถานีหรือจำหน่ายบางโอกาส เช่น กรมโฆษณาการ (แผ่นดิบ ), เนรมิตภาพยนตร์ ฯลฯ

Internet Archive โฟกัสที่จะทำการแปลงไฟล์ดิจิทัลกับผลงานเพลงที่มีอยู่ทั่วไปน้อย และถูกมองข้าม คอลเลคชั่นที่ถูกเลือกมาทำก่อน เช่น early blues, bluegrass (ดนตรีผสมคันทรี่บลูส์และแจ๊ส), yodeling (การโห่แบบลูกทุ่งตะวันตก) แม้กระทั่ง Novachord synthesizer recordings จากปี 1941

Wisconsin Historical Society


yodeling (การโห่แบบลูกทุ่งตะวันตก)


bluegrass (ดนตรีผสมคันทรี่บลูส์และแจ๊ส)

การทำ Digitizing ระเบียนเก่านี้เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน หัวอ่านประเภทต่างๆกัน อาจส่งผลต่อเสียงที่บันทึกได้ และความเร็วในการเล่นเพลงไม่ได้เป็นมาตรฐานจนกระทั่งถึงช่วงปลายยุค ทศวรรษที่ 20 ซึ่งหมายความว่ายังมีการถกกันเกี่ยวกับเรื่อง “ความเร็วที่ถูกต้อง” ของเพลงที่เล่นได้ นักอนุรักษ์ที่ทำงานในโครงการนี้ยังต้องคำนึงถึงการตัดสินใจด้านสุนทรียศาสตร์ เช่น ตำแหน่งไมโครโฟน และความถี่ในการทำสำเนาของแผ่นเสียงเป้าหมายก็เพื่อสงวนรักษาแผ่นเสียงเหล่านั้น ซึ่งนับเป็น “สิ่งประดิษฐ์ทางประวัติศาสตร์”

ในฐานข้อมูล Great 78 Project ของ Internet Archive คุณสามารถค้นข้อมูลแผ่นเสียงจาก ผู้ผลิต ผู้ทำการแปลงไฟล์ ปีของแผ่นเสียงแต่ละแผ่น เป็นต้น และเมื่อฟังเพลงเหล่านั้นมักจะมีการสลับกันหรือเพลงหลายเวอร์ชันรูเนื่องจากการบันทึกด้วยหัวอ่าน (styluses) ที่ต่างๆ กัน ทั้งหมดนี้พร้อมเปิดให้แสดงความคิดเห็นและดาวน์โหลด และถ้าอยากไม่พลาดการอัพเดทของเพลงเก่าเหล่านี้แล้ว ยังมีช่องทางให้ติดตามผ่าน  Twitter account

ถ้าต้องการที่จะช่วยสนับสนุนโครงการ Great 78 Project พวกเขายังต้องการอาสาสมัครเพื่อช่วยปรับปรุงข้อมูล รายชื่อผู้สะสม และบริจาคแผ่นเสียง หรือเพียงแค่คุณสามารถเปิดฟังเพลงหนึ่งในคอลเลกชันของพวกเขาและดื่มด่ำกับประวัติทางดนตรีที่พวกเขาได้รวบรวมมาไว้ให้เราได้ฟังกันผ่านเทคโนโลยีในยุคศตวรรษที่ 21

ที่มา