ชื่อบทความเรื่อง : องค์ประกอบสมรรถนะของสมาร์ทฟาร์มเมอร์ข้าวอินทรีย์ในประเทศไทย
ผู้เขียน : ธีรารัตน์ รัตนวิสุทธิ์อมร, ปิยวรรณ สิริประเสริฐศิลป์
ชื่อวารสาร : วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ
บรรณานุกรม :
ธีรารัตน์ รัตนวิสุทธิ์อมร และ ปิยวรรณ สิริประเสริฐศิลป์. (2565). องค์ประกอบสมรรถนะของสมาร์ทฟาร์มเมอร์ข้าวอินทรีย์ในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(2), 224-240.
เศรษฐกิจดิจิทัล เป็นเศรษฐกิจที่เน้นความรู้เป็นฐานและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และทั้งหมดนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมการสร้างคุณค่าและ Internet Of Things ที่เป็นการเปลี่ยนผ่านจากการผลิตแบบดั้งเดิมที่เน้นแรงงาน แบบเดิมไปสู่การนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถทดแทนแรงงานคนได้เป็นอย่างดีไปจนถึงการเชื่อมโยงความต้องการของผู้บริโภคซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของสมาร์ทฟาร์มมิ่ง (Smart farming) ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการประกอบอาชีพทางการเกษตร ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ เข้ามาช่วยในการผลิต การบริหารจัดการในพื้นที่ รวมถึงการแก้ไขปัญหาทางด้านการขาดแคลนแรงงาน
จากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.73 ในปี พ.ศ. 2562 เป็น 17.58 ในปี พ.ศ. 2563 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่เว้นแม้แต่ภาคการผลิตข้าวอินทรีย์ นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความถูกต้อง และแม่นยำมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กรเข้ามาช่วยสนับสนุนตัดสินใจการวางแผน การบริหารงานต่างๆ ยังสามารถช่วยให้เกิดการบริหารจัดการในการผลิตข้าวอินทรีย์ให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด อีกทั้งยังสมารถต่อยอดไปขายยังตลาดต่างประเทศซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และยังสามารถทำรายได้ให้แก่ประเทศสูงขึ้น จึงแสดงให้เห็นว่าแนวคิดสมาร์ทฟาร์มมิ่งถือเป็นเครื่องมือในการเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพของสมาร์ทฟาร์มเมอร์ข้าวอินทรีย์ เพื่อแก้ปัญหาภาวะความยากจน และภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวที่ไม่สามารถบริหารจัดการได้ของชาวนา
จากผลการรายงานการสำรวจภาวะหนี้สินเกษตรกรในปี พ.ศ. 2562 ที่สูงถึง 221,490 บาท แสดงให้เห็นว่าชาวนาควรได้รับการสนับสนุนส่งเสริมการยกระดับสมรรถนะให้เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ข้าวอินทรีย์ด้วยการพัฒนาและส่งเสริมสมรรถนะที่ยังขาดให้ดีขึ้นอย่างเหมาะสมแก่ชาวนา ภายใต้ห่วงโซ่อุปทานข้าวอินทรีย์ ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่นการเป็นผู้ประกอบการการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและความหลากหลายทางธุรกิจ รวมไปถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของแต่ละธุรกิจ การใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี หรือแม้กระทั้งนวัตกรรมต่างๆ ในการยกระดับคุณภาพการผลิตและลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้วยการใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์อัจฉริยะที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตร่วมกับระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ในการวิเคราะห์สารสนเทศเพื่อนำมาสนับสนุน การวางแผนการปฏิบัติงานสนับสนุนการตัดสินใจหรือการวิเคราะห์หาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆต่อไป
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ :
https://northnfe.blogspot.com/2018/04/smart-farmer.html
https://www.farmhughouse.com/topic-2-view.html
สนใจอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ :
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/252010/174594
สนใจอ่านวารวารฉบับนี้ได้ที่ :
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/252010
หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ :
เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1
โทร 053-873510 , 053-873511
Facebook MJU Library