ระบบติดตามและบันทึกจํานวนชั่วโมงการเรียนของนักศึกษาตามเงื่อนไข CLS

ชื่อบทความเรื่อง : ระบบติดตามและบันทึกจํานวนชั่วโมงการเรียนของนักศึกษาตามเงื่อนไข CLS
Monitoring and Log Booking System of Study-Hours following CLS Conditions

ผู้เขียน : นาถศจี ศรีธนิโยปกฤต, เพ็ญณี หวังเมธีกุล และ สุนิดา รัตโนทยานนท

ชื่อวารสาร :
วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2563 หน้า 54-72

บรรณานุกรม :
นาถศจี ศรีธนิโยปกฤต, เพ็ญณี หวังเมธีกุล, และ สุนิดา รัตโนทยานนท. (2563). ระบบติดตามและบันทึกจํานวนชั่วโมงการเรียนของนักศึกษาตามเงื่อนไข CLS. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 6(1), 54-72.

     การศึกษาเป็นกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทักษะ ขั้นตอนการแก้ปัญหา ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ อย่างเป็นระบบต่อเนื่องตลอดระยะเวลาของหลักสูตรฯ ซึ่งเป็นรากฐานนําไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต นักเรียนในหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาและนักศึกษาในหลักสูตรระดับอุดมศึกษา(เฉพาะระดับบัณฑิตศึกษาหรือปริญญาตรี) เมื่อเข้าศึกษาจะมีความแตกต่างกันในหลายประเด็น เช่น การทํากิจกรรม การใช้ชีวิต ในมหาวิทยาลัยจะมีความเป็นอิสระมากกว่า รวมไปถึงเนื้อหาการเรียนมีความยากมากขึ้นและผลการเรียนนอกจากจะขึ้นกับเกณฑ์คะแนนแล้วยังขึ้นกับกลุ่มผู้เรียนอีกด้วย หลักสูตรการเรียนระดับอุดมศึกษามีความเข้มข้นในเนื้อหาและยืดหยุ่นในการใช้ชีวิต สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้กําหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ ในส่วนของรายละเอียดหลักสูตร ให้มีการกําหนดชั่วโมงการเรียนในแต่ละสัปดาห์ตามเงื่อนไข CLS ของหลักสูตรอุดมศึกษา C-Classroom หมายถึง การเรียนบรรยายในห้องเรียน L-Laboratory หมายถึง การเรียนในห้องปฏิบัติการและ S-Self Learning หมายถึง การเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นกรอบสําหรับนักศึกษาดํารงตนให้มีวินัยภายใต้กรอบกติกาดังกล่าว แต่ด้วยความมีความอิสระทําให้นักศึกษาบางส่วนไม่ได้ตระหนักและให้ความใส่ใจในการปฏิบัติตนอย่างมีวินัยส่งผลถึงพฤติกรรมการเข้าห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

     จากปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น จึงเกิดแนวคิดการพัฒนาระบบติดตามและบันทึกจํานวนชั่วโมงการเรียนของนักศึกษาตามเงื่อนไข CLS ในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อบันทึกข้อมูลการเข้าเรียนในแต่ละสัปดาห์ของนักศึกษา ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาและอาจารย์สามารถเฝ้าติดตามพฤติกรรมการเรียนในแต่ละวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนได้ รวมถึงผู้ดูแลระบบสามารถดําเนินการกับข้อมูลที่จําเป็นต่อระบบได้นอกจากนั้นระบบยังสามารถรองรับการแสดงผลข้อมูลผ่าน Internet Browser บนโทรศัพท์มือถือด้วย

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อให้นักศึกษาสามารถเฝ้าติดตามจํานวนชั่วโมงตามเงื่อนไข CLS (Classroom Laboratory Self Learning) ของแต่ละรายวิชาได้ 2) เพื่อเป็นตัวช่วยให้นักศึกษาปรับเปลี่ยนระเบียบวินัยการเรียนตามเงื่อนไข CLS 3) เพื่อให้อาจารย์สามารถเฝ้าติดตามการเรียนของนักศึกษาตามเงื่อนไข CLS ได้ ระบบถูกพัฒนาด้วย PHP โดยใช้ XMAPP และ MySQL เป็นระบบจัดการฐานข้อมูล รองรับกลุ่มผู้ใช้ 3 กลุ่ม คือ
     1. กลุ่มผู้ดูแลระบบ สามารถสมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ แก้ไขข้อมูลส่วนตัว อนุมัติเข้าใช้ระบบ ลบรายชื่อสมาชิกในระบบ ตั้งค่าเริ่มต้นให้กับระบบ เรียกดูข้อมูลนักศึกษา อาจารย์ และผู้ดูแลระบบได้
     2. กลุ่มอาจารย์สามารถสมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบแก้ไขข้อมูลส่วนตัว และเรียกดูข้อมูลนักศึกษาในที่ปรึกษาหรือนักศึกษาในรายวิชาที่สอนได้
     3. กลุ่มนักศึกษา สามารถสมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ แก้ไขข้อมูลส่วนตัว เพิ่ม ลบ ข้อมูลรายวิชาและบันทึกจํานวนชั่วโมง CLS ของแต่ละรายวิชา และตรวจสอบจํานวนชั่วโมง CLS ของแต่ละรายวิชาที่ตนเองลงทะเบียนเรียนได้

     ผลการประเมินคุณภาพระบบในแง่ฟังก์ชันการใช้งานและค่าความพึงพอใจเฉลี่ยของผู้ใช้งานทุกกลุ่มโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี (ระดับคะแนนเฉลี่ย 4.10 จากคะแนนเต็ม 5.00

 

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : 
https://mitij.mju.ac.th

สนใจอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ :
https://mitij.mju.ac.th/ARTICLE/R63005.pdf

สนใจดูบทความอื่นๆในวารสาร :
https://mitij.mju.ac.th


หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ :
เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1
โทร 053-873510 ; 053-873511

Facebook:  MJU Library