ต้นทุน ผลกำไร และวิถีการตลาดผักปลอดภัย: กรณีศึกษาผักบุ้งจีน

ชื่อบทความเรื่อง : ต้นทุน ผลกำไร และวิถีการตลาดผักปลอดภัย: กรณีศึกษาผักบุ้งจีน
The Costs-return and Marketing Channel of Safety Vegetable: The Case Study Morning Glory

ผู้เขียน : รองศาสตราจารย์ดุษฎี พรหมทัต

ชื่อวารสาร :
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2560 หน้า 46-54

บรรณานุกรม :
ดุษฎี พรหมทัต. (2560). ต้นทุน ผลกำไร และวิถีการตลาดผักปลอดภัย: กรณีศึกษาผักบุ้งจีน. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 34(2), 46-54.

     ผักบุ้งจีนได้รับการยอมรับว่าสร้างรายได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นพืชผักที่นิยมบริโภคในครัวเรือนและส่งออกจำหน่ายยังต่างประเทศในรูปผักสด ผักบุ้งจีนเป็นพืชผักที่ผลิตได้ตลอดฤดูกาลและเป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ และพบว่าผักบุ้งจีนเป็นพืชผักส่งออกที่จัดอยู่ในอันดับที่หนึ่ง รองลงมา คือ โหระพา กะเพรามะรุม และตะไคร้ ทำให้เกิดประเด็นคำถามของการผลิตผักบุ้งจีน คือ หากเกษตรกรยังไม่สามารถทราบถึงต้นทุนและผลตอบแทน จะทำให้เกษตรกรขาดข้อมูลการผลิตในพื้นที่ตนเอง รวมถึงการปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์การตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผลผลิตมีจำหน่ายอย่างต่อเนื่องและขยายตลาดอย่างกว้างขวาง ดังนั้นการศึกษาต้นทุนผลกำไร และวิถีการตลาดของผักปลอดภัย กรณีศึกษาผักบุ้งจีน ตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสิ่งที่จะนำไปสู่แนวทางการตัดสินใจผลิตและส่งเสริมการผลิต ให้เป็นอาชีพที่มีรายได้อย่างมั่นคง ทั้งในพื้นที่ที่ทำการศึกษาและพื้นที่อื่นๆ ที่มีศักยภาพที่จะสามารถผลิตได้ต่อไป

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนผลตอบแทน วิถีการตลาดและแนวทางการส่งเสริมการตลาดผักบุ้งจีน ศึกษาจากเกษตรกรผู้ปลูกผักบุ้งจีนจำนวน 15 ราย ในตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัวหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ผลวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่ามีต้นทุนและผลตอบแทนเฉลี่ยต่อไร่ดังนี้ ต้นทุนรวมทั้งหมด 9,799.92 บาท ต้นทุนคงที่รวม 437.00 บาท ต้นทุนผันแปรรวม 9,362.92 บาทผลผลิต 1,333.33 กก. รายได้ทั้งหมด 30,000 บาท รายได้สุทธิ 20,637.08 บาท และกำไรสุทธิ 20,200.08 บาท วิถีการตลาดของผักบุ้งจีนมี 3 ช่องทางดังนี้ 1) เกษตรกรศูนย์รับผลผลิต และบริษัทส่งออก (ร้อยละ 95.00) 2) เกษตรกร พ่อค้าขายส่ง พ่อค้าขายปลีกและผู้บริโภค (ร้อยละ 4.75) และ 3) เกษตรกร พ่อค้าขายปลีกและผู้บริโภค (ร้อยละ 0.25) แนวทางการส่งเสริมการตลาดเกษตรกรต้องการให้ผลผลิตได้มาตรฐานตามที่กำหนดข้อเสนอแนะเกษตรกรต้องการให้มีตราสินค้าเป็นของตนเองและการบริหารจัดการ เพื่อรายได้และการผลิตที่มั่นคง

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : 
https://www.advanceseeds.com/articledetail/101
https://www.kasetkaoklai.com

สนใจอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ :
https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MjUwNDEy&method=inline

สนใจดูบทความอื่นๆในวารสาร :
https://researchex.mju.ac.th/jresearch/index.php/en/


หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ :

เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1
โทร 053-873510 ; 053-873511

Facebook:  MJU Library