ไปดูกันว่าห้องสมุดให้บริการแก่ทหารและพลเรือนอย่างไร? ในช่วงสงครามโลก

เมื่อนึกถึงสงคราม หลายคนคงนึกถึง เหล่าทหารรบ อาวุธ ยุทโธปกรณ์ต่างๆ แต่น้อยคนจะนึกถึงห้องสมุด ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญสำหรับกองทัพสหรัฐฯในช่วงสงครามโลก ห้องสมุดไม่เพียงแต่ได้รับการร้องขอและชื่นชมจากเหล่าทหารเท่านั้น แต่ยังถูกจัดเป็นส่วนที่สำคัญลำดับแรกในช่วงระหว่างสงคราม ท่ามกลางการสู้รบและการนองเลือด ห้องสมุดยังคงให้บริการทหารและพลเมืองชาวอเมริกัน เป้าหมายของพวกเขาไปไกลกว่าการจัดเก็บคอลเลคชั่นหนังสือ

“ภาพห้องอ่านหนังสือในห้องสมุดแคมป์”

ในช่วงสงครามโลก ห้องสมุดเกิดขึ้นตามแคมป์ทหารทั้งในสหรัฐฯ และทั่วยุโรปและไกลถึงไซบีเรีย ห้องสมุดตามแคมป์เหล่านี้สร้างขึ้นโดยสมาคมห้องสมุดอเมริกัน (American Library Association : ALA) และในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 ห้องสมุดเหล่านี้ถูกโอนย้ายไปอยู่ภายใต้การดูแลของแผนกสงคราม สมาคมห้องสมุดอเมริกันทำงานร่วมกันกับสมาคม YMCA องค์กร  Knights of Columbus และสภากาชาดอเมริกัน ในการให้บริการห้องสมุดแก่องค์กรต่างๆ เช่น โรงพยาบาล และศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ

ห้องสมุดเหล่านี้ไม่มีอะไรที่หรูหรา เป็นเพียงเพิงกระท่อม ที่ทำจากไม้และวัสดุที่มีอยู่ พวกเขาดำเนินงานห้องสมุดโดยบรรณารักษ์อาสาที่เดินทางไปยังประเทศต่างๆ เพื่อดูแลห้องสมุด รับผิดชอบในการบริการทรัพยากรห้องสมุด รวมถึงการจัดหาคัดเลือกหนังสือ ซึ่งมีบรรณารักษ์อาสาจำนวนมากกว่า 1 พันคนในช่วงสงคราม

ห้องสมุดสำหรับทหารนั้นเป็นสถานที่ให้พวกเขาได้ อ่าน พักผ่อน และเป็นที่สร้างขวัญกำลังใจ ทหารหลายคนนึกถึงอาชีพที่พวกเขาต้องการทำเมื่อกลับบ้าน ตอนสิ้นสุดสงครามแล้ว ดังนั้นพวกเขาจึงอ่านหนังสือเกี่ยวกับทักษะในการทำงานต่างๆ ซึ่งนี่ถือเป็นครั้งแรกที่ทหารเหล่านี้ได้อ่านหนังสือแทบจะทุกประเภท และทำให้คนที่ไม่รู้หนังสือได้มีโอกาสที่จะเรียนรู้

Cara Setsu Bertram เจ้าหน้าที่จากสมาคมห้องสมุดอเมริกัน กล่าวว่าสิ่งที่น่าสนใจคือ ทหารเหล่านี้สนใจอ่านนิยายและหนังสือวิชาการ มากที่สุด พวกเราคงคิดว่าเขาต้องการอ่านหนังสือเหล่านี้เพื่อเบนความสนใจ “แต่เปล่าเลย พวกเขาสนใจอ่านมันอย่างจริงจัง”

ทั้งๆที่มีความสนใจในนวนิยายเป็นอย่างมาก แต่ก็ปรากฎรายชื่อนวนิยายเพียงไม่กี่เรื่องที่ถือว่าเป็นรายการโปรดของเหล่าทหาร ได้แก่เรื่อง “A Tree Grows in Brooklyn” และ “The Great Gatsby” หนังสือเหล่านี้ถูกทำให้เด่นและได้รับความนิยมในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 Bertram กล่าวว่า “หนังสือเหล่านี้แทบกลายเป็นตำนานไปแล้วแต่ก็กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ต้องขอบคุณทหารเหล่านี้”

Record Series 89/2/19 “Servicemen at a Louisiana Library, circa 1942” courtesy of the American Library Association Archives. Used with permission.

บรรณบำบัด (Bibliotherapy) หรือ การบำบัดด้วยหนังสือ เป็นการใช้หนังสือในการบำบัดสภาพจิตใจของผู้ป่วย เพื่อให้หนังสือเป็นสื่อในการเสริมสร้างจินตนาการ ความคิด ของผู้ป่วยที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วย ถูกนำมาใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารจำนวนมากใช้การอ่านในการรักษาอาการ PTSD (สถานการณ์สะเทือนขวัญ), โรคหวาดระแวง, อาการนอนไม่หลับ และความผิดปกติทางจิตวิทยาอื่นๆ ซึ่งในกรณีทหารที่ได้รับบาดเจ็บและตาบอด พยาบาลจะอ่านเพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานของพวกเขา

Record Series 99/1/18 “US Army Hospital Ward Service, circa 1945” courtesy of the American Library Association Archives. Used with permission.

มีการพบการปิดกั้นเนื้อหาของหนังสือบางประเภท เช่น หนังสือที่เกี่ยวกับความเชื่อมั่นในเยอรมัน หนังสือสนับสนุนแนวคิดสังคมนิยม และหนังสือเกี่ยวกับลัทธิต่อต้านความรุนแรง หนังสือเหล่านี้ถูกนำออกจากห้องสมุด หรือเป็นไปได้ให้นำไปทำลายให้สิ้นซาก

แต่สำหรับพลเมืองทั่วไปในสหรัฐฯ ทหารมีการนำหนังสือที่เนื้อหาที่กระทบความมั่นคง เช่นเกี่ยวกับวัตถุระเบิด, หมึกล่องหน, และการเข้ารหัสต่างๆ ออกจากห้องสมุดทั้งหมด และผู้ใช้ที่ร้องขอหนังสือดังกล่าวต้องลงรายชื่อเพื่อส่งให้ทาง FBI เพื่อทำการซักถาม

แม้จะมีการจัดระเบียบอย่างเคร่งครัด สมาคมห้องสมุดยังส่งหนังสือมากกว่า 10 ล้านเล่มไปยังค่ายทหาร ให้ช่วงระหว่างแคมเปญ Victory Book Campaign ช่วงปี ค.ศ. 1942-1943 หนังสือได้ถูกแจกจ่ายไปยังทหารตามที่ต่างๆ เช่น กองทัพบก กองทัพเรือ กาชาดสหรัฐฯ ค่ายกักกันของชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น

ปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 ห้องสมุดตามแคมป์เหล่านี้ถูกครอบครองโดยทหาร แต่ห้องสมุดแห่งหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้บริการชาวอเมริกันที่อาศัยอยู่ในยุโรปหลังสงคราม

“ห้องสมุดอเมริกันในปารีส” Photo of the American Library in Paris in 1926. Photo “10 rue de l’Elysée” from the American Library in Paris. Used with permission.

ในปีค.ศ. 1920 สมาคมห้องสมุดอเมริกัน ได้ก่อตั้งห้องสมุดในอเมริกันในปารีส (American Library in Paris) เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ Alan Seeger นักกวีชาวอเมริกันซึ่งเป็นลูกชายของ Charles Seeger หัวหน้ากลุ่มชาวอเมริกันที่พำนักในยุโประยะยาว ทั้งนี้ห้องสมุดมีจุดมุ่งหมายให้เป็นที่หลบภัยของเจ้าหน้าที่ในกองทัพ และให้บริการแก่ฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1

Charles Trueheart ผู้อำนวยการห้องสมุดอเมริกันในกรุงปารีส(คนปัจจุบัน) กล่าวว่า ภารกิจแรกเริ่มของห้องสมุดนี้คือการสอนและแสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ความก้าวหน้าของชาวอเมริกันในด้านบรรณารักษศาสตร์ด้าน ซึ่งบรรณารักษศาสตร์เป็นเรื่องที่ก้าวหน้ามากๆ และสหรัฐฯยังคงนำฝรั่งเศสในด้านนี้

หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จนมาถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 วัตถุประสงค์ของห้องสมุดก็เปลี่ยนไป มันเป็นเพียงห้องสมุดในกรุงปารีสที่มีหนังสือภาษาอังกฤษอยู่ และยังคงเปิดให้บริการ

คุณค่าของห้องสมุดอเมริกันในปารีส และห้องสมุดตามแคมป์สงครามต่างๆ ตลอดสงครามทั้งสองครั้งมีมากมาย ห้องสมุดอเมริกันในกรุงปารีสเป็นห้องสมุดแห่งเดียวที่ให้ บริการได้ตลอดในช่วงสงคราม ผู้คนสามารถมาอ่านหนังสือ ยืม-คืนหนังสือได้ตลอดช่วงสงคราม

ห้องสมุดเหล่านี้เป็นที่พักพิงที่ปลอดภัยสำหรับทหารและพลเรือน  การคงอยู่ของห้องสมุดเหมือนกับการมีชีวิตรอดอยู่ในช่วงสงคราม พิสูจน์แล้วว่าห้องสมุดยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน

ที่มา : https://blog.oup.com/2017/05/libraries-soldiers-world-war/

Featured image credit: Photo of military personnel and a librarian in a camp library in France in 1919 from the American Library in Paris. Used with permission.