“ซาโยเต้ หรือ ฟักแม้ว” ผักจากยอดดอยปลอดสาร

ชื่อบทความเรื่อง : “ซาโยเต้ หรือ ฟักแม้ว” ผักจากยอดดอยปลอดสาร

ผู้เขียน  : จิตอาภา จิจุบาล

ชื่อวารสาร : เคหการเกษตร ปีที่ 45 ฉบับที่ 2 (ก.พ. 2564)

บรรณานุกรม : จิตอาภา จิจุบาล. (2564). ชาโยเต้หรือฟักแม้ว ผักจากยอดดอยปลอดสาร. เคหการเกษตร, 45(2), 112-116.

              เมื่อเอ่ยถึง ซาโยเต้ (Chayote, Sechium edule (Jacq.) Swartz) เชื่อว่าหลายท่านอาจยังไม่คุ้นชื่อ แต่ถ้าเอ่ยถึง ฟักแม้ว ฟักม้ง มะระหวาน มะเขือเครือ หลายท่านคงร้องอ๋อเพราะเป็นผักขึ้นชื่อ ส่งตรงจากยอดดอยที่อยู่ในเมนูอาหารต้นๆ ที่ดูแพง ทั้งเรื่องราคาและความรู้สึก เนื่องจากผลผลิตมีไม่มากนัก จึงค่อนข้างหายากและมีราคาสูงในตลาดเป็นพืชผักที่ประกอบด้วยสารอาหารครบหมู่ ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต แร่ธาตุ วิตามิน ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

              ซาโยเต้เป็นพืชผักสมุนไพรที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน บริโภคได้ทั้งยอด ลำตัน ผล เมล็ด และราก หรือหัวสะสมอาหารใต้ดินที่มีลักษณะคล้ายมันเทศประกอบอาหารได้ทั้งลวก ต้ม แกง ผัด เป็นผักเคียงน้ำพริก ใบและผลใช้ดองยามีคุณสมบัติช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ หลอดเลือด และแก้อักเสบ น้ำต้มจากใบและผลใช้ในการรักษาอาการเส้นเลือดแข็งตัว ความตันโลหิตสูง และสลายนิ่วในไต

              ซาโยเต้มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเม็กชิโก และประเทศในแถบอเมริกากลางเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเขตหนาว ซึ่งขยายการปลูกไปทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อิตาลี สเปน อินโดนีเซีย แอลจีเรีย อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโต อยู่ระหว่าง 13-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการออกดอกช่วงกลางวัน 30 องศาเซลเชียส กลางคืน 15 องศาเซลเซียส ช่วงแสง 12-12.5 ชั่วโมงต่อวัน เหมาะสำหรับปลูกที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 500-1,700 เมตร ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหาร มีการระบายน้ำดี มีแสงแดดพอ ความชื้น 80-85% ปริมาณน้ำฝน 1,500-2,000 มิลลิเมตร พื้นที่สูงจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดตาก เป็นแหล่งปลูกซาโยเต้ที่สำคัญในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยเฉพาะอำเภอเขาคัอ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นแหล่งปลูกใหญ่ต่อเนื่องยาวนานกว่า 20 ปี ถือเป็นพืชเศรษฐกิจ หลักในท้องถิ่นที่มีผลผลิตทั้งยอดและผลออกจำหน่ายต่อวันมากกว่า 2 ตัน ส่วนการปลูก บนพื้นที่ราบก็สามารถปลูกได้
เช่นกัน โดยปลูกในสภาพแวดล้อมที่คล้ายกับพื้นที่สูง ปลูกในช่วงฤดูหนาว หรือปลูกในที่มีร่มเงา

              ลักษณะเฉพาะของซาโยเต้ที่แตกต่างจากพืชตระกูลแตงทั่วไป คือไม่สามารถขยายพันธุ์โดยเมล็ด แต่จะขยายพันธุ์โดยใช้ผลแก่ที่มีเมล็ดอยู่ด้านใน และแตกหน่อและรากที่พร้อมเจริญเป็นต้นใหม่ออกมาด้านท้ายผลแก่ ซึ่งจะมีเถาใหม่แตกจากจุดเดิมขึ้นมาเป็นระยะ เพราะซาโยเต้มีหัวหรือรากสะสมอาหารใต้ดินคล้ายหัวมันเทศมีตายอดที่พร้อมแตกหน่อแทงยอดใหม่ขึ้นมาเป็นระยะก่อนที่เถาเดิมที่ให้ผลจนถึงปลายยอดจะแห้งเหี่ยว ทำให้ชาโยเต้เป็นพืชผักที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปีหรือข้ามปีได้ และมีอายุยืนมากกว่า 5 ปี

              รูปแบบการปลูกซาโยเต้ของเกษตรกรแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบที่มีความแตกต่างกัน คือ

1. ปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวยอดสำหรับบริโภค ระยะปลูก 30 x 50 เชนติเมตร์ ขึ้นค้างสี่เหลี่ยมหรือสามเหลี่ยมสูง 50 เชนติเมตร ใช้กิ่งไม้ปักหลักให้เถาเลื้อยขึ้นค้างงอตัดยอดหลังปลูกเมื่ออายุจะได้ผลผลิตยอดแต่ละครั้งเฉลี่ย 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาจำหน่ายกิโลกรัมละ 15-25 บาท

2.ปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลอ่อนสำหรับบริโภค ระยะปลูกระหว่างต้น 1 เมตร ระหว่างแถว 2 เมตร ทำค้างสูง 2 เมตร เลี้ยงเถาขึ้นค้างโดยไม่ตัดยอดจนเริ่มเก็บผลอ่อนจะได้ผลผลิตต่อพื้นที่ 1 ไร่ อยู่ระหว่าง 100-250 กิโลกรัมต่อครั้งราคาจำหน่ายกิโลกรัมละ 7 -15 บาท และเก็บผลผลิตได้ข้ามปี

3.ปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลแก่สำหรับขยายพันธุ์ ลักษณะการปลูกคล้ายการปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลอ่อน เริ่มเก็บผลแก่ได้เมื่ออายุ 4 เดือน ถ้าปลูกในพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเมื่ออายุ 6 เดือน ขึ้นไปจะได้ผลผลิตต่อพื้นที่ 1 ไร่ อยู่ระหว่าง 100-250 กิโลกรัมต่อครั้งเก็บเกี่ยวผลทุก 2-4 ครั้งต่อสัปดาห์ราคาจำหน่ายกิโลกรัมละ 9-15 บาท จำนวนผลต่อต้นต่อปีอยู่ระหว่าง 300-500 ผล

               จากการสำรวจและรวบรวมพันธุ์จากแหล่งปลูกต่างๆ ในประเทศไทยนำมาปลูกเพื่อเปรียบเทียบสายพันธุ์ต่างๆ ณ ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ระหว่างปี 2555-2556 รวบรวมได้ทั้งหมด 4 สายพันธุ์ดังนี้

  1. สายพันธุ์เขาค้อ#2 ให้ผลผลิต เฉลี่ยสูงสุด 13,823 กิโลกรัมต่อไร่
  2. สายพันธุ์เชียงใหม่#1 ให้ผลผลิต เฉลี่ย 12,713 กิโลกรัมต่อไร่
  3. สายพันธ์เขาค้อ#1 ให้ผลผลิต เฉลี่ย 12,496 กิโลกรัมต่อไร่
  4. สายพันธ์มูเซอ#1 ให้ผลผลิต เฉลี่ยต่ำสุด 11,818 กิโลกรัม

              อีกปัจจัยที่ต้องทำควบคู่กันเรื่องพันธุ์ ที่ช่วยยืดอายุการเกิดไรคเพิ่มระยะเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีคุณภาพ คือการทำให้ต้นพืชแข็งแรงจากการปฏิบัติดูแลรักษาการใช้ปุ๋ยเคมีให้เหมาะสมตรงตามความต้องการของพืช เน้นการเพิ่มปริมาณการใส่ปุ๋ยอินทรีย์การใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ การปลูกสมุนไพรรอบแปลงและการใช้สารสมุนไพรฉีดพ่นเพื่อไล่แมลงสม่ำเสมอ การให้น้ำแบบพ่นฝอยเพื่อล้างและไล่แมลงในช่วงเช้าการตัดแต่งเถาแก่และทำความสะอาดบริเวณแปลง เป็นแนวทางปฏิบัติสำคัญที่เกษตรกรผู้ปลูกซาโยเต้ใช้ได้ผล สามารถชะลอการเกิดโรค และยืดอายุการเก็บเกี่ยวซาโยเต้ได้ข้ามปี จุดเด่นคือ ชาโยเต้เป็นพืชปลอดภัยจากสารเคมี ซึ่งจากการสำรวจแปลงเกษตรกรและนำผลผลิตไปตรวจสอบหลายต่อหลายครั้ง ไม่พบสารพิษตกค้างยืนยันถึงความปลอดภัยในกระบวนการผลิตของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณรูปภาพ :
https://www.kaset1009.com
https://health.mthai.com 

สนใจขอบทความฉบับเต็มได้ที่: http://opac.library.mju.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=359210

หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่
เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1
โทร 053-873510 ; 053-873511

Facebook MJU Library