การศึกษาการเจริญเติบโตในการผสมข้ามพันธุ์ของปลาลูกผสมบึกสยาม ปลาเทโพและปลาเทพา

ชื่อบทความเรื่อง : การศึกษาการเจริญเติบโตในการผสมข้ามพันธุ์ของปลาลูกผสมบึกสยาม ปลาเทโพและปลาเทพา
A Study on Growth Performance of Interspecific Crosses-hybrid CatfishSpices: Buk Siam Hybrid Catfish (Male Pangasianodon gigas x Female P. hypophthalmus) Pangosius larnaudiiand Pangasius sanitwongsei

ผู้เขียน : ผศ.ดร.นิสรา กิจเจริญ, นางสาวกนกวรรณ นาคขำ, ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน

ชื่อวารสาร : วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ปีที่ 39 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน 2565 หน้า 104-113

บรรณานุกรม : นิสรา กิจเจริญ, กนกวรรณ นาคขำ, และ เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน. (2565). การศึกษาการเจริญเติบโตในการผสมข้ามพันธุ์ของปลาลูกผสมบึกสยาม ปลาเทโพและปลาเทพา. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 39(1), 104-113.

     ปลาหนังลูกผสมจัดเป็นปลาน้ําจืดชนิดหนึ่งที่ปัจจุบันได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นอาหารสุขภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นแหล่งของโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และกรดไขมันที่ดีเช่น ไขมันกลุ่มโอเมก้า 3  โดยเฉพาะ กรดไขมันชนิด DHA (Docosahexaenoic  acid) และ EPA (Eicosapentaenoic acid) ที่มีความสําคัญต่อการพัฒนาของสมอง และช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ โดยพบว่า ตลาดต่างประเทศเช่น กลุ่มประเทศแถบยุโรป อเมริกา มาเลเซีย สิงคโปร์ มีความต้องการปลาหนังเนื้อขาวและปลาสวายเนื้อขาวประมาณ 1-2 ล้านตัน/ปี โดยมีมูลค่าหลายแสนล้านบาทในรูปปลาแล่เนื้อ (Fillet) อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่สามารถผลิตปลาหนังลูกผสมเนื้อขาวได้เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นการผสมข้ามชนิดพันธุ์ในปลาจัดเป็นอีกวิธีหนึ่งในการปรับปรุงพันธุ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรวมลักษณะที่ดีของปลาต่างชนิดเข้าด้วยกัน และ/หรือหวังผลจากเฮตเทอโรซิส เช่น การผสมข้ามระหว่างปลาดุกอุยกับปลาดุกยักษ์ มีจุดประสงค์ที่จะรวมลักษณะเนื้อมีรสชาติดีจากแม่ปลาดุกอุย กับลักษณะโตดีและต้านทานโรคจากปลาดุกยักษ์  ในกรณีปลาลูกผสมบึกสยามแม่โจ้ก็เป็นการรวมลักษณะที่ดีจากพ่อปลาบึกและแม่ปลาสวาย โดยปลาบึกมีการเจริญเติบโตดี เนื้อปลาบึกนอกจากมีรสชาติดีแล้วยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูงอีกด้วยส่วนข้อดีจากแม่ปลาสวาย ปลาลูกผสมระหว่างพ่อปลาบึกกับแม่ปลาสวาย และปลาบึกสยาม (พ่อแม่เป็นลูกผสมหว่างพ่อปลาบึกรุ่นที่2กับแม่ปลาสวาย) เป็นปลากลุ่มปลาหนังเนื้อขาวอมชมพูที่ปัจจุบันนี้กําลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เนื่องจากเป็นอาหารสุขภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการ การเจริญเติบโตและต้านทานโรคดี สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและกระชัง นอกจากนี้ ยังได้ทําการศึกษาลักษณะภายนอกของปลาสวาย ปลาเทโพ และปลาลูกผสมแบบสลับเพศ ขนาดความยาว 6 นิ้ว ซึ่งจากการศึกษาพบว่า สายพันธุ์ปลาลูกผสมสามารถเพิ่มผลผลิตได้ โดยปลาลูกผสมพ่อสวายแม่เทโพมีน้ําหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG)  สูงกว่าปลาสวาย ปลาลูกผสมพ่อเทโพแม่สวาย และปลาเทโพ แต่อัตราการรอดตายของปลาเทโพมีค่าสูงที่สุดและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของปลาลูกผสมพ่อสวายแม่เทโพมีค่าต่ําที่สุด การที่ค่าเฉลี่ยของลักษณะในลูกผสมมีค่าสูงกว่า(ดีกว่า) ค่าเฉลี่ยของพ่อแม่ จะแสดงออกมาในรูปร้อยละ (%heterosis) โดยค่าเฮตเทอโรซิสอาจจะเป็นค่าบวกหรือลบก็ได้ ถ้าค่าเป็นลบก็หมายความว่าลูกผสมมีลักษณะด้อยกว่าพ่อแม่ ค่าเฮตเทอโรซีสจะยิ่งสูงขึ้นเมื่อพ่อแม่พันธุ์ที่นํามาผสมมีพันธุกรรมแตกต่างกันมาก โดยอิทธิพลของพันธุกรรมที่ก่อให้เกิดเฮตเทอโรซีสคือ อิทธิพลของยีนที่ตําแหน่งเดียวกัน หรือยีนข่ม (Dominant genetic effect) หรือ อิทธิพลของปฏิกริยาสัมพันธ์ระหว่างยีนต่างตําแหน่ง  (Epistasis genetic effect) นักปรับปรุงพันธุ์จึงใช้ค่าเฮตเตอโรซีสนี้มาใช้เป็นเครื่องมือวัดประสิทธิภาพของระบบผสมพันธุ์โดยนักปรับปรุงพันธุ์จะใช้วิธีผสมข้ามเมื่อเห็นว่าคู่ผสมมีความแตกต่างกันขององค์ประกอบของพันธุกรรม จากการศึกษาที่ผ่านมาเกี่ยวกับการผลิตปลาหนังลูกผสมสายพันธุ์ต่างๆ นั้นยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของปลาหนังลูกผสมสายพันธุ์ต่างๆ ระหว่างปลาบึกลูกผสม(บึกสยาม) ปลาเทโพ และปลาเทพาเพื่อใช้ในการวางแผนผสมพันธุ์ปลาหนังลูกผสมต่อไป ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจอย่างยิ่งในการทําวิจัยเกี่ยวกับแนวทางความรู้พื้นฐานที่จําเป็นต่อการต่อยอดเพื่อปรับปรุงพันธุ์ปลาหนังลูกผสมโดยการผสมข้ามชนิดพันธุ์ระหว่างปลาเทโพเนื่องจากมีศักยภาพเป็นแม่พันธุ์ซึ่งเห็นได้จากลูกผสมระหว่างพ่อสวายแม่เทโพมีอัตราการเจริญเติบโตที่มากกว่าปลาลูกผสมพ่อเทโพแม่สวายหรือปลาเทโพ และปลาเทพามีจุดเด่นที่สีเนื้อขาวและปลาลูกผสมบึกสยามแม่โจ้ที่มีการเจริญเติบโตดีซึ่งดําเนินการเป็นแนวทางในการเพิ่มศักยภาพการผลิตปลาหนังลูกผสมในระบบการผลิตสัตว์น้ําเพื่อเพิ่มมูลค่าและอาหารสุขภาพให้กับวิสาหกิจชุมชนต่อไป

     การศึกษาการเจริญเติบโตของปลาหนังลูกผสม 3 สายพันธุ์เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําเชิงพาณิชย์และวิสาหกิจชุมชน โดยทําการผสมพันธุ์ปลาเทโพขนาดน้ําหนักตัว 3-5 กก. อายุ 5-6 ปีปลาลูกผสมบึกสยามน้ําหนักตัว 2-3 กก. อายุ 2-3 ปี และปลาเทพาน้ําหนักตัว 3-5 กก. อายุ 5-6 ปีดังนี้ แม่เทโพ × พ่อเทโพแม่บึกสยาม × พ่อบึกสยามแม่บึกสยาม × พ่อเทโพแม่เทโพ × พ่อบึกสยาม และแม่บึกสยาม × พ่อเทพา พบว่าการเจริญเติบโตของปลาหนังลูกผสมในแต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01)โดยที่อายุ 8 เดือน คู่ผสมสายพันธุ์แม่เทโพ × พ่อบึกสยาม มีน้ําหนักและความยาวสูงที่สุดมีค่าเท่ากับ 28.74±11.16 กรัม และ 15.34±15.85 ซม. รองลงมาเป็นคู่ผสมสายพันธุ์แม่บึกสยาม × พ่อเทโพ มีน้ําหนักและความยาวเท่ากับ 25.18±13.62 กรัม และ 13.48±25.68 ซม.คู่ผสมสายพันธุ์แม่บึกสยาม × พ่อเทพา มีน้ําหนักและความยาวเท่ากับ 22.04±6.74 กรัม และ 13.06±12.47 ซม. คู่ผสมสายพันธุ์แม่บึกสยาม × พ่อบึกสยาม มีน้ําหนักและความยาวเท่ากับ 19.00±16.52 กรัม และ 13.50±25.43 ซม. และคู่ผสมสายพันธุ์แม่เทโพ × พ่อเทโพ มีน้ําหนักและความยาวน้อยที่สุดมีค่าเท่ากับ 12.12±5.08กรัม และ 11.01±12.46ซม. โดยมีค่าน้ําหนักที่เพิ่มขึ้นต่อวัน (ADG:กรัม/วัน) ในปลาแต่ละสายพันธุ์;แม่เทโพ × พ่อเทโพแม่บึกสยาม × พ่อบึกสยามแม่บึกสยาม × พ่อเทโพแม่เทโพ × พ่อบึกสยาม และแม่บึกสยาม × พ่อเทพาเท่ากับ 0.04, 0.06, 0.07, 0.09และ0.07ตามลําดับจากการศึกษายังพบว่าค่าเฮตเทอโรซีสของคู่ผสม แม่เทโพ × พ่อบึกสยาม มีค่าสูงที่สุด โดยมีค่าอยู่ที่ 84.70%รองลงมาคือ แม่บึกสยาม × พ่อเทโพ โดยมีค่าอยู่ที่ 61.83% ตามลําดับ จากการวิจัยในครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการผลิตปลาหนังลูกผสม 3 สายพันธุ์ระหว่างแม่เทโพxพ่อบึกสยาม ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตปลาหนังลูกผสมในระบบการผลิตสัตว์น้ําเพื่อเพิ่มมูลค่าและอาหารสุขภาพให้กับวิสาหกิจชุมชนต่อไป

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : 
https://www.tci-thaijo.org
www.fishtech.mju.ac.th

สนใจอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : https://maejo.link?L=6DMZ
สนใจดูบทความอื่นๆในวารสาร : https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN

หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ :
เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1
โทร 053-873510 ; 053-873511

Facebook MJU Library