ความสุขคืออะไร …?
เป็นคำถามที่ดูเหมือนจะตอบง่าย แต่ก็ตอบยาก ….
เพราะขณะที่ใครหลายคนดูเหมือนจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ แต่คนเหล่านั้นก็กลับค้นหาและพยายามไขว่คว้ามันอยู่เสมอ
เช่นเดียวกับ ความสุขในการทำงาน (Workplace Happiness)
ความสุขในการทำงาน” หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Happy at work ซึ่งการทำงานอย่างมีความสุขนั้น เป็นสิ่งที่บุคลากรทุกคนในองค์กรนั้นปรารถนาหากได้ทำงานในที่ทำงานที่รู้สึกว่ามีความสุขจะรู้สึกผูกพัน สนุกสนาน ความรู้สึกที่มาทำงานจะหมดไปกลายเป็นการร่วมสนุกกับกิจกรรมต่างๆ หากองค์กรใดที่สามารถทำให้สมาชิกมีความสุขในการทำงานมากขึ้นเท่าใด โอกาสที่องค์กรนั้นจะประสบผลสำเร็จได้มากขึ้นเท่านั้น โดยความสุขในที่ทำงานประกอบไปด้วย
1. ความรื่นรมย์ในการทำงาน (Arousal) เป็นความรู้สึกสนุกขณะทำงานโดยไม่มีความรู้สึกวิตกกังวลใดๆ
2. ความพึงพอใจในงาน (Pleasure) เป็นความรู้สึกพอใจขณะทำงาน โดยไม่มีความทุกข์ใจในการปฏิบัติตน
3. ความกระตือรือร้นในการทำงาน (Self-validation) เป็นความรู้สึกอยากทำงาน เต็มไปด้วยความตื่นตัวและมีชีวิตชีวา
จากข้อมูล วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ที่สำรวจผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพมหานครช่วงปลายปี 2562 จํานวน 1,280 คน พบว่า 12% ของคนวัยทำงานอยู่ในภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) และ 57% กำลังตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงสูง ซึ่งกลุ่ม Gen Z เป็นวัยที่ตกอยู่ในภาวะหมดไฟมากที่สุดถึง 17% รองลงมาคือกลุ่ม Gen Y ที่ 13% และกลุ่ม Baby Boomer ที่ตกอยู่ในภาวะหมดไฟ 7% ผลสำรวจนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่า การดูแลสุขภาพจิตใจของพนักงานในองค์กรเป็นเรื่องจำเป็น หลายองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญกับความสุขในการทำงานมากขึ้น
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เรากำลังทำงานอย่างไม่มีความสุข
จากข้อมูลของ “อเล็กซานเดอร์” ผู้บริหารงานสร้างสุข ได้ระบุ 10 พฤติกรรมที่เป็นสัญญาณบอกว่า เรากำลังไม่มีความสุขกับการทำงาน ซึ่งประกอบด้วย
- ทำงานแบบผัดวันประกันพรุ่ง
- ในวันอาทิตย์แทนที่จะคิดถึงวันจันทร์แสนสดใส กลับเต็มไปด้วยความวิตกกังวล
- เริ่มพูดถึงเรื่องเงินเดือน หรือคุยถึงเรื่องคนที่ได้รับโปรโมท แล้วรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ
- เริ่มไม่อยากให้ความร่วมมือกับใคร รู้สึกอยากนิ่งเฉย พร้อมกับคำถามว่า “ทำไมต้องเป็นเราที่ช่วยทำ”
- เมื่อมาทำงานก็รู้สึกว่าแต่ละวันช่างยาวนาน คิดแต่เมื่อไหร่จะถึงเวลาเลิกงานเสียที
- เริ่มบ่นว่าไม่มีเพื่อนสนิทที่ทำงาน
- เริ่มไม่สนใจว่างานที่ทำจะออกมาเป็นอย่างไร
- รู้สึกหงุดหงิดกับเรื่องราวที่อยู่รายรอบ
- เริ่มสงสัยว่าทำไมคนโน้นคนนี้ถึงมีแรงจูงใจในการทำงาน
- เริ่มมีอาการเจ็บป่วยสารพัด เช่น นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ เมื่อยเนื้อเมื่อตัว
ปัจจัยที่ทำให้มีความสุขในการทำงาน
มีหลายปัจจัยที่ทำให้พนักงานความสุขในที่ทำงาน โดยในที่นี้เราขอสรุปออกมาทั้ง 5 ปัจจัยครอบคลุมความสุขในการทำงาน ดังนี้
- มีรายได้ที่เพียงพอ
- มีเจ้านายที่ดี
- มีเพื่อนร่วมงานที่ยอดเยี่ยม
- มีความอิสระ
- มีชีวิตและการทำงานที่สมดุล (Work Life Balance)
HR จะส่งเสริมการสร้างความสุขในการทำงานได้อย่างไร ?
- ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในองค์กร การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กรจะช่วยให้พนักงานมีความผูกพันกัน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ภายในทีม หรือระหว่างแผนก สิ่งนี้จะช่วยให้ทุกคนในองค์กรรู้จักกัน
2. ใช้ระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น การทำงานแบบยืดหยุ่น ซึ่งจะต้องปรับเปลี่ยนหรือดัดแปลงให้เหมาะสมกับแต่ละคน รวมถึงพฤติกรรมการทำงานของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไปด้วย ฉะนั้นองค์กรใดที่สามารถปรับเปลี่ยนข้อจำกัดเพื่อรองรับการทำงานให้สะดวกที่สุด องค์กรนั้นก็จะได้คนที่มีศักยภาพเข้าไปร่วมงานได้มากที่สุด
3. ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในเส้นทางอาชีพ พนักงานคนหนึ่งอาจไม่ได้มีแค่เส้นทางเดียว ยังมีงานหลากหลายให้รับผิดชอบสิ่งสำคัญ ที่ผู้บริหารและ HR ควรตระหนักก็คือการวางแผนพัฒนาอาชีพ ให้ก้าวหน้า
4. ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะใหม่ เนื่องจากทุกวันนี้โลกการทำงานได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดงานใหม่และทักษะใหม่ๆ ตามมา ซึ่งบางครั้งเป็นทักษะที่ไม่ได้มีสอนตามหลักสูตรปกติทั่วไป หากมีการส่งเสริมให้พนักงานพัฒนาตัวเอง ผลประโยชน์ก็จะกลับมาสู่องค์กร
5. ชื่นชมและให้ฟีคแบคกับพนักงาน คงไม่มีการกระทำใดๆ ที่สร้างความสุขได้ดีไปกว่าการเอ่ยปากชื่นชม สิ่งนี้จะช่วยหล่อเลี้ยงจิตใจพนักงานได้อย่างไม่น่าเชื่อ โดยสามารถทำผ่านการประเมินผลงานประจำปี
6. มอบผลตอบแทนและสวัสดิการที่ดี นอกเหนือจากเงินเดือนแล้ว สวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สร้างความสุขให้คนทำงานได้เหมือนกัน
เคล็ดลับทํางานดีมีความสุข
- ปัญหาส่วนตัวทิ้งไว้ที่บ้าน เมื่อคุณมีเรื่องคิดเกี่ยวกับครอบครัวหรือเรื่องส่วนตัว คุณจะไม่มีความสุขในการท้างานและไม่สามารถจดจ่อกับงานได้ ควรทิ้งเรื่องส่วนตัวไว้ที่บ้านแล้วสนุกกับงานตรงหน้า
2. สร้างพื้นที่ผ่อนคลายส่วนตัว คุณใช้เวลาในที่ทํางานอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าในขณะที่คุณทํางานจะมีแต่ความตึงเครียดเท่านั้น คุณสามารถสร้างบรรยากาศผ่อนคลายได้ง่าย ๆ เช่น ตกแต่งโต๊ะทํางานให้รู้สึกสบายและผ่อนคลาย
3. เพื่อนคือสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพื่อนในที่ทํางานที่มีไลฟ์สไตล์คล้ายกับคุณจะช่วยแบ่งเบาความเครียดได้ไม่น้อยในยามที่คุณอยากระบายให้ใครสักคนฟัง
4. กินดีสุขภาพดี กินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำในปริมาณที่มากพอ เมื่อสุขภาพดีก็ไม่เป็นอุปสรรคในการทํางาน เกิดความคิดดี ๆ ผลงานก็ออกมาดีตามไปด้วย
5. จัดระเบียบการทํางาน ควรจัดสรรเวลาในการทํางาน จัดระเบียบตัวเองให้ดี อย่าให้เกิดภาวะงานล้นมือทําไม่ทัน ก่อความเครียด และสุดท้ายผลงานออกมาไม่ดี
6. เคลื่อนไหว เดินไปมาบ้าง ควรเปลี่ยนอิริยาบถให้เลือดลมเดินสะดวก ส่งเลือดขึ้นไปส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างทั่วถึงโดยเฉพาะสมอ
7. อย่าพยายามเปลี่ยนเพื่อนร่วมงาน คุณไม่สามารถเปลี่ยนคนอื่นได้ แต่คุณสามารถเปลี่ยน วิธีการตอบสนองที่คุณมีต่อพวกเขาได้ อย่าให้การกระทําของคนอื่นมีผลต่อตัวคุณ
8. ให้รางวัลตัวเอง เวลาที่คุณตั้งเป้าว่าจะต้องทําอะไรบางอย่างให้สําเร็จ และเมื่อคุณทําได้ตามนั้น ก็ควรให้รางวัลตัวเองด้วย เป็นการเติมความสุขให้ชีวิตส่งผลต่ออารมณ์ที่ดีในการทํางาน
9. มองโลกแง่บวก สุขหรือทุกข์ล้วนอยู่ที่มุมมองของคุณ หากคุณมองสิ่งต่างๆเป็นบวก ชีวิตก็จะมีความสุขและสนุกกับงานได้ไม่ยาก
10. กล่าวคําทักทายตอนเช้า จะดีแค่ไหนถ้าคุณเริ่มต้นวันด้วยการทักทายคนที่ออฟฟิศด้วยรอยยิ้ม แล้วได้รับกลับมาเช่นกัน เห็นไหมว่า ความสุขเกิดขึ้นได้แม้เพียงสิ่งเล็กน้อยเท่านี้เอง
บทสรุป
เพราะความสุขเป็นสิ่งสูงสุดที่มนุษย์ทุกคนปรารถนา ความสุขในการทำงานของพนักงานจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรควรให้ความใส่ใจ เห็นได้จากงานวิจัยสารพัดที่บ่งบอกว่า ความสุขส่งผลดีต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งนั่นนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าขององค์กรต่อไป
เกมส์ทดสอบ คุณคิดว่ายาขวดไหนที่จะทำให้คุณมีความสุขได้?
มาดูเฉลยกันเถอะ :
คุณเลือก A : ความต้องการที่จะ 『พักผ่อน』 ดูเหมือนว่ามีเรื่องอะไรให้คุณเครียดอยู่เยอะเลยล่ะช่วงนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ความเครียดของคุณก็จะมาจากกิจวัตรประจำวันของคุณที่มีอยู่ แต่หากคุณมาพิจารณากิจวัตรของคุณในแต่ละวันอย่างถีถ้วน และให้เวลากับการพักผ่อนซักหน่อย ก็น่าจะทำให้ชีวิตคุณสมดุลได้ วินาทีนี้ไม่น่าจะมีอะไรที่คุณอยากไปมากกว่านี้ หาเวลาให้กับตัวเองไปนอนหลับพักผ่อนบ้าง
คุณเลือก B : คุณมีความต้องการที่จะ 『ค้นหาสิ่งใหม่ๆ』 ดูเหมือนคุณเป็นคนที่ทำตามกฏระเบียบทุกอย่าง ปล่อยให้ชีวิตเป็นไปตามวงจรเดิมๆอยู่ทุกวันๆ เจอคนเดิมๆ บทสนทนาเดิมๆ แต่ดูๆแล้ว คุณไม่น่าจะใช่คนที่ชอบทำอะไรเดิมๆเท่าไรนะ? คุณออกแนวชอบเริ่มต้นลองทำอะไรใหม่ๆ ท่องเที่ยวออกไปเจออะไรแปลกๆ น่าจะทำให้คุณรู้สึกสดชื่นกว่าการทำอะไรอยู่เดิมๆเป็นไหนๆเลย ออกไปชวนเพื่อนๆที่มีอุดมการณ์เดียวกันกับคุณ แล้วออกไปตามหาที่เจ๋งๆ ออกไปหาเที่ยวไกลๆด้วยกันเถอะ
คุณเลือก C : คุณมีความต้องการที่จะ 『ความรัก』 ผลการวิเคราะห์บอกว่าคุณมีความอยากเรื่อง “ความรัก” คุณเคยฝันอยากมีความรักที่ดีๆ โรแมนติคเหมือนที่เคยเห็นในหนังความรู้สึกภายในตัวคุณตอนนี้ เหมือนกำลังโหยหาใครสักคน อยากรู้จักกับใครสักคน หรือกำลังอยากได้ใครสักคนกลับมาอยู่ตอนนี้ ก็หวังว่าคุณจะลุกขึ้นมาทำอะไรเพื่อความรักของคุณสักอย่าง ขออย่าให้หัวใจของคุณห่อเหี่ยวไปเสียก่อน สำหรับเรื่องความรัก มันไม่มีกฏอะไรตายตัวอยู่แล้ว มาลองทำให้ทุกวันของคุณเป็นวันที่มีความหมายดูกันเถอะ
คุณเลือก D : คุณอยากจะให้ใครสักคน 『สนใจคุณ』 พูดอย่างงี้ ไม่ได้หมายความว่า ต้องให้ทุกคนมารักคุณนะ แต่หมายความว่าคุณอยากให้มีใครสักคนมาสนใจคุณบ้างต่างหากล่ะ! ใครสักคนที่สนใจในสิ่งที่คุณทำ ยอมรับในตัวตนของคุณ หรือถ้าจะให้ดี มีใครสักคนสนับสนุนและอยู่เคียงข้างคุณไปด้วยก็จะดีไม่น้อย เพราะพื้นฐานนิสัยของคุณจริงๆแล้ว คุณเป็นคนที่ไมได้ชอบให้ใครมาสุงสิงหรือยุ่งกับเรื่องราวของคุณมากมายเท่าไรนัก (ถ้าไม่สนิทกันพอ)… ลองใช้เวลานี้อยู่กับคนรอบข้างให้มากขึ้น พูดคุยและรับฟังสิ่งที่ทั้งคุณและเพื่อนต่างสนใจ น่าจะเป็นวิธีที่ทำให้คุณได้รู้จักเกี่ยวกับตัวคุณมากขึ้น
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ :
https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/115044
https://w2.med.cmu.ac.th/
https://th.hrnote.asia/
https://www.dmh.go.th
https://www.businessplus.co.th
https://th.vonvon.me/quiz/r/1762/9375/v_23333bgge00pe46kv