การเปลี่ยนแปลงระดับคอร์ติซอลในเส้นขนของสุนัขก่อนและหลังการผ่าตัด (การศึกษาเบื้องต้น)

ชื่อบทความเรื่อง : การเปลี่ยนแปลงระดับคอร์ติซอลในเส้นขนของสุนัขก่อนและหลังการผ่าตัด (การศึกษาเบื้องต้น) = Preliminary study of Hair Cortisol Concentration (HCC) of Dogs before and after Surgery

ผู้เขียน : รศ.สพ.ญ.ดร. กชกร ดิเรกศิลป์, รศ.น.สพ.สุทธิศักดิ์ นพวิญญูวงศ์ และคณะ

ชื่อวารสาร : สัตวแพทย์มหานครสาร ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2564 หน้า 83-97

การผ่าตัดในสุนัขก่อให้เกิดความเครียด เนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เช่น การขังกรง การอดน้ำและอดอาหาร การจับบังคับเพื่อวางยา ฉีดยาหรือป้อนยา และความเจ็บปวดอันเกิดจากความเสียหายของเนื้อเยื่อในขณะผ่าตัดและหลังการผ่าตัด เมื่อสัตว์มีความเครียดแ ล ะ มี ก า ร ห ลั่ ง ฮ อ ร์ โ ม น ก ลู โ ค ค อ ร์ ติ ค อ ย ซึ่ งส่งผลต่อสรีรวิทยาทั้งด้านดีในการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและด้านลบถ้าหากมีการหลั่งฮอร์โมนในระดับที่สูงติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนานก็อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายและกดภูมิคุ้มกันได้ หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีอาจส่งผลกระทบต่อการหายของแผลหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ความท้าทายในการบำบัดความเครียดหรือระงับปวดในทางสัตวแพทย์คือสัตว์ไม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาพูดได้ ปัจจุบัน เครื่องมือที่นิยมใช้ในการประเมินความเจ็บปวดในสุนัข ได้แก่ แบบประเมินความเจ็บปวดและวัดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยา อาทิ อุณหภูมิร่างกาย อัตราการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท การวัดระดับของสารชีวเคมีในเลือดที่หลั่งอันเนื่องจากปฏิกิริยาการอักเสบ เช่น การวัดระดับฮอร์โมน และการวัดอุณภูมิของผิวหนัง เป็นต้น ส่วนการประเมินความเครียดนิยมใช้การวัดฮอร์โมนคอร์ติซอล รวมทั้งประเมินจากพฤติกรรมที่สัตว์แสดงออกอย่างไรก็ตาม บางครั้งพบว่าแบบประเมินความเจ็บปวด หรือการสังเกตพฤติกรรมค่อนข้างแตกต่างกันในสัตว์แต่ละตัวและแต่ละผู้ประเมิน

ทีมวิจัยจึงได้ทำการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงระดับคอร์ติซอลในเส้นขนของสุนัขก่อนและหลังการผ่าตัด (การศึกษาเบื้องต้น)ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงระดับคอร์ติซอลในเส้นขน (hair cortisol concentration; HCC) ของสุนัขก่อนและหลังการผ่าตัด ทำการเก็บตัวอย่างขนที่บริเวณหลังคอจากสุนัขทดลองที่มีสุขภาพดีจำนวน 4ตัว ที่ได้รับหมุนเวียนเข้ารับการผ่าตัด 7 ชนิด ในวันก่อน (Day 0) และหลังผ่าตัด (Day1-Day 6) และเก็บตัวอย่างขนจากสุนัขกลุ่มที่ไม่ได้รับการผ่าตัดจำนวน 4 ตัว (Day1-35) เพื่อหาค่าคอร์ติซอลในขนพื้นฐาน ทดสอบด้วยชุดทดสอบระดับ HCC ก่อนและหลังการผ่าตัดรวมทั้งในแต่ละการผ่าตัดมีค่าใกล้เคียงกัน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ไม่ได้รับการผ่าตัดเท่ากับ 5.3 ±0.2 (4.2-8.4) pg/mg และ ของกลุ่มทดลองก่อน/หลังผ่าตัด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.8±0.9 (4-7.3)/6.2±0.5 (5.9-10.8) pg/mg เมื่อพิจารณาเป็นรายตัว พบว่า 1) การผ่าตัดที่เปิดเนื้อเยื่อหลายตำแหน่ง 2) การตัดต่อลำไส้ซึ่งสุนัขต้องอดอาหารเป็นระยะเวลานาน และ 3) การเปิดผ่าสำรวจช่องท้องโดยเปิดผ่าเข้าทาง Caudal midline เมื่อเทียบกับ Paracostal incision มีแนวโน้มHCC สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง HCC หลังการผ่าตัด จึงน่าจะประยุกต์ใช้ HCC สำหรับประเมินความเครียดหรือความเจ็บปวด


ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : 

https://www.tci-thaijo.org
https://maejo.link?L=h7Dh

สนใจอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ :  https://maejo.link?L=Od2i

สนใจดูบทความอื่นๆในวารสารได้ที่ :  https://li01.tci-thaijo.org/index.php/jmvm

Library Guides รวบรวมแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ : https://libmode.mju.ac.th/2020/veterinary-science/

หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ :
เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1
โทร 053-873510
Facebook MJU Library