ดูแลไตไม่ให้เสื่อม

ชื่อเรื่อง : ดูแลไตไม่ให้เสื่อม

ผู้เขียน :  วิมลพรรณ วรรณพฤกษ์

สืบค้นจาก : http://opac.library.mju.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=337610

     ร่างกายของมนุษย์ประกอบไปด้วยไต 2 ข้าง ไตแต่ละข้างจะมีหน่วยเล็ก ๆ ที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนเครื่องกรองที่มีประสิทธิภาพประมาณหนึ่งล้านหน่วย  ไตทำหน้าที่ในการกรองของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากเลือด รักษาสมดุลของน้ำ แร่ธาตุ และรักษาความเป็นกรดด่างของเลือด ควบคุมความดันโลหิต ดูดซึมและเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และผลิตฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ไตมีความสำคัญต่อการมีชีวิตอย่างมาก อาการผิดปกติใดๆ ที่เกิดขึ้นกับไตล้วนส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายโดยรวม เช่น ไตที่อ่อนแอ หรือประสิทธิภาพในการทำงานลดน้อยลง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคบางอย่าง ได้แก่ โรคกระดูก ภาวะโลหิตจาง หรือโรคหัวใจและหลอดเลือดให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ถ้าความผิดปกติที่เกิดขึ้น กับไตมีความรุนแรงมากขึ้น อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการเยียวยาที่เหมาะสมและทันท่วงที

     อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไตจะมีความสำคัญต่อการมีชีวิตอยู่ แต่ในปัจจุบันพบว่ามีคนจำนวนมากประสบปัญหาไตเสื่อม โดยมีการพบว่าในแต่ละปี ชาวออสเตรเลียมากกว่า 500,000 คน ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตและมีอาการติดเชื้อทางระบบทางเดินปัสสาวะ โดยพบว่า 1 ใน 7 ของผู้ใหญ่ชาวออสเตรเลียจะมีสัญญาณ ของโรคไตเรื้อรัง 1 ใน 35 จะมีอาการของโรคไตที่รุนแรง ขณะที่ 1 ใน 3 ของผู้หญิงชาวออสเตรเลียและ 1 ใน 10 ของผู้ชายชาวออสเตรเลียต้องทนทุกข์กับภาวะติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ และมีผู้หญิงอีกจำนวนมากมีนิ่วในไตที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับไตดังกล่าวมาจากสาเหตุดังนี้ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง พันธุกรรม การได้รับสารพิษ หรือเคมีบางอย่าง หรือแม้กระทั่งการได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง

    หนังสือ “ดูแลไตไม่ให้เสื่อม” เล่มนี้ ได้รวบรวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไต อาทิเช่น ลักษณะของไต หน้าที่ของไต สาเหตุที่ทำให้ไตเสื่อม โรคไตต่างๆ ที่พบได้บ่อย การรักษาไต การดูแลผู้ป่วยโรคไตและวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการเป็นโรคไต ผู้อ่านจะได้ศึกษาข้อมูลภายในเล่มอย่างละเอียดและควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพร่างกาย เพื่อสุขภาพที่ดีและแข็งแรงปลอดภัยจากโรคไตเสื่อม

 

 

สารบัญ

Chapter 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไต

Chapter 2 สาเหตุที่ทำให้ไตเสื่อม

Chapter 3 อาการไตวายเฉียบพลัน

Chapter 4 โรคไตเรื้อรัง

Chapter 5 การตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับไต

Chapter 6 ระดับความรุนแรงของโรคไต

Chapter 7 อาการของผู้ป่วยโรคไต

Chapter 8 วิธีปฏิบัติตัวหากเป็นโรคไต

Chapter 9 การรักษาโรคไต

Chapter 10 การตรวจหาโรคจากเนื้อเยื่อตัวอย่างของไต

Chapter 11 โรคไตที่มีสาเหตุจากโรคเบาหวาน

Chapter 12 การป้องกันและการชะลอการเกิดโรคไต

Chapter 13 โรคไต Ectopic

Chapter 14 โรคไตในเด็ก

Chapter 15 นิ่วในไต

Chapter 16 ไตข้างเดียว

Chapter 17 วิธีการปฏิบัติตัวหากพบว่าเป็นโรคไต

Chapter 18 กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

Chapter 19 โรคไตและความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

Chapter 20 อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต

 

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : www.SE-ED.com , www.naiin.com , www.google.com , โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

 

สนใจสอบถามได้ที่ เคาน์เตอร์ยืมคืน ชั้น 1 โทร 053-873510 , Facebook MJU Library หรือใช้

บริการ Books Seeking & Delivery Service (บริการจัดส่งสำหรับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้)

หากพบปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ :

เคาน์เตอร์ One Stop Service ชั้น 1

โทร 053-873510  

Facebook MJU Library