ชื่อเรื่อง : FUTURATION เปลี่ยนปัจจุบัน ทันอนาคต
ผู้แต่ง : ดร.สันติธาร เสถียรไทย
สืบค้นจาก : http://opac.library.mju.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=353856
FUTURATION มาจากคำว่า Future (อนาคต) x Generation (รุ่น) โดยคำว่า Generation ยังมีอีกความหมายคือ การ “สร้าง” อนาคตเราด้วยมือของเราเองก้าวสู่โลกอนาคต อนาคตที่กำลังไล่ล่าทุกคนด้วยนวัตกรรม “เทคโนโลยีดิจิทัล” เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเกือบทุกวงการแบบวินาทีต่อวินาที ในหลายวงการกลายเป็น “การปฏิวัติ” สู่รูปแบบโครงสร้างใหม่ ทั้งเรื่องการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และไลฟ์สไตล์ระดับปัจเจกที่กำลังถูกปรับเปลี่ยนไปตามนวัตกรรมต่างๆนำไปสู่การตั้งคำถามมากมาย อาทิเช่น Artificial Intelligence (AI) หรือปัญญาประดิษฐ์ จะประหยัดแรงงานในอุตสาหกรรมต่างๆ แต่อาจทำให้คนตกงานนับล้านหรือไม่ Big Data อภิมหาข้อมูลดิจิทัลในโลกออนไลน์ ได้ผลิตข้อมูลข่าวสารที่มีให้เลือกเสพได้อย่างมากมายและหลากหลายตอบสนองความต้องการเฉพาะกลุ่มทำให้คนทั้งโลกเชื่อมถึงกันได้ง่าย ทว่าทำให้เกิดปัญหาสิทธิมนุษยชน ในการถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวไปโดยไม่ได้รับความยินยอม
หนังสือบอกเล่าถึงเรื่องความเก่ากับความใหม่ คนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปจากปัจจุบัน มีบางอย่างค่อยๆ เปลี่ยน แต่บางอย่างก็แทบพลิกฝ่ามือ ไม่ว่ากระแสเทคโนโลยี การเงิน เศรษฐกิจ และการเมือง สันติธารเห็นว่าถึงโลกแปรผันแค่ไหน สุดท้ายหัวใจของการปรับตัวให้ทันก็ยังอยู่ที่ “คน” ทั้งคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ การเชื่อมโยงระหว่างโลกยุคเก่าและโลกยุคใหม่ ที่กำลังมาในรูปแบบของ “ดาต้า” ขนาดมหาศาล ที่กลายเป็นปัจจัยการผลิตล้ำค่า จนทำให้ธุรกิจต่างๆ แย่งชิงมาอยู่ในครอบครองเสมือนดั่งทรัพยากรธรรมชาติในสมัยก่อน “ทุกคนมีความเห็นคล้ายกันว่า การทำ Digital Transformation หลายครั้งมากที่ต้องล้มเหลวไม่เป็นท่า แม้จะใช้เงินลงทุนไปมหาศาล สาเหตุสำคัญที่ทำให้ล้มเหลวเป็นเรื่องของช่องว่างระหว่างรุ่น นี่คือกำแพงขนาดยักษ์ จากประสบการณ์ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือเอกชนก็ตาม มักมีช่องว่างระหว่างรุ่น ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงอย่างมากในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่คนรุ่นเด็ก จะคุ้นเคยคล่องแคล่วกับเทคโนโลยีใหม่ๆ และชอบใช้ดาต้าบวกกับหลักวิชาที่เรียนมา นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการใหม่ๆ แต่หลายครั้งเทคโนโลยีและวิธีการใหม่นี้ไม่สามารถนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เพราะถูกคนรุ่นใหญ่เหยียบเบรกไว้ ที่น่าสนใจคือคนรุ่นใหญ่มักมีหลายเหตุผลที่ทำเช่นนั้น แต่ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังไม่คุ้นเคย และไม่แน่ใจถึงความเสี่ยงของวิธีการใหม่ว่าจะดีกับองค์กรจริงหรือไม่..” เมื่อเป็นเช่นนั้น สิ่งที่ต้องปรับคือ “คนรุ่นใหม่และคนรุ่นใหญ่ต้องจับมือกัน” เขาว่าองค์กรจะมีประสิทธิภาพสูงสุดหากสามารถทำให้คนรุ่นใหญ่และรุ่นเด็กทำงานร่วมกันได้ จริงอยู่ที่ว่าหลายครั้งคนรุ่นใหม่ไฟแรง อาจคิดว่าความรู้ของคนรุ่นใหญ่นั้นล้าสมัยและถ่วงองค์กร แต่ความคิดแบบนี้ก็เป็นสิ่งไม่ดีเช่นกัน เพราะอาจทำให้คนรุ่นเด็กนั้นประมาทและไม่ฟังความคิดต่างมุมที่มาจากรุ่นอื่น ในหนังสือ “Futuration เปลี่ยนปัจจุบันให้ทันโลก” จะมีตัวอย่างพฤติกรรมระหว่างคนสองรุ่น สอดแทรกให้เห็นว่าเป็นอย่างไร และเกิดอะไรขึ้นเมื่อคนสองรุ่นมองคนละมุม
โลกกำลังผลัดใบ ผู้นำของเศรษฐกิจโลกก็กำลังเปลี่ยนมือเช่นกัน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่ไม่รอใครนี้ “คน” กำลังเผชิญความท้าทายอย่างไม่เคยมีมาก่อน “Futuration เปลี่ยนปัจจุบันให้ทันโลก” หนังสือที่ต้องมี เพื่ออยู่รอดในอนาคต
สารบัญ
- ลงทุนกับเยาวชนให้ทันโลก 4.0
- การศึกษากับโลกเทคโนโลยี
- มหาวิทยาลัยจะอยู่หรือไป
- ฤๅโลกมหาวิทยาลัยจะเดินตามโลกดนตรี
- เคล็ดการเรียนรู้ตลอดชีพ
- “รถไฟ” แห่งเทคโนโลยี กับผู้ที่ถูกทิ้งไว้ที่ “ชานชาลา”
- พิษร้ายจากความไม่เท่าเทียม กับการต่อต้านโลกาภิวัฒน์
- ชะตาโลกาภิวัฒน์ ในวันที่ไร้ผู้นำ
- ภาพร่างโลกาภิวัฒน์ลายมังกร
- อุปสรรคสู่เส้นทางสายไหมของจีน
ฯลฯ
สนใจสอบถามได้ที่ เคาน์เตอร์ยืมคืน ชั้น 1 โทร 053-873510 , Facebook MJU Library
หรือใช้บริการ Books Seeking & Delivery Service (บริการยืมสำหรับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : www.matichon.co.th