ทะยาน คิดแบบ Startup ทำอย่างเอสเอ็มอี มีระบบแบบมหาชน

ชื่อเรื่อ : ทะยาน คิดแบบ Startup ทำอย่างเอสเอ็มอี มีระบบแบบมหาชน

ผู้แต่ง : พิชเยนทร์ หงษ์ภักดี

สืบค้นจาก : http://opac.library.mju.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=353831

ทะยาน: คิดแบบ startup ทำอย่าง SME มีระบบแบบมหาชน คือ หนังสือบันทึกเรื่องราวตลอด 13 ปีของการต่อสู้ทางธุรกิจและแนวคิดในการเติบโตบริษัทของคุณโธมัสที่เริ่มต้นจากการเป็นผู้รับจ้างผลิตที่มีปัญหาทางการเงินอย่างหนักจนสามารถเติบโตสู่บริษัทที่พร้อมจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนที่อัดแน่นไปด้วยกลยุทธ์การบริหารธุรกิจที่ผสมผสานระหว่างแนวคิดการเติบโตแบบ startup เข้ากับการลงมือทำแบบ SME ที่พร้อมรับการเติบโตในอนาคตแบบบริษัทมหาชน หนังสือเล่มนี้น่าจะมีประโยชน์กับเจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารมืออาชีพที่สามารถเรียนรู้และนำไปปรับใช้ต่อได้

สร้างธุรกิจด้วยวิธีคิดอย่าง Startup

    เส้นทางการทำธุรกิจของคุณโธมัสนั้นเริ่มต้นขึ้นจาก “แรงผลักดัน” จากการเป็นลูกข้าราชการที่ไม่ได้มีต้นทุนในชีวิตอะไรมากมายที่ทำให้เขาเลือกที่จะ “คว้าโอกาสที่อยู่ตรงหน้า” คุณโธมัสนั้นเริ่มต้นจากวันที่เขาเดินทางไปงานจัดแสดงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้เขาค้นพบว่าอุปกรณ์ส่วนใหญ่ อาทิ เมาส์และคีย์บอร์ด นั้นถูกออกแบบมาเพื่อชาวตะวันตกที่มักมีสรีระที่ใหญ่กว่าชาวเอเชียทำให้เขามีแนวคิดริเริ่มในการออกแบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ “ตอบโจทย์ชาวไทย” ทั้งในเรื่องของสรีระ หน้าตาและสีสันด้วยตัวเอง จนเป็นที่มาของการก่อตั้งบริษัทออกแบบและรับจ้างผลิตอุปกรณ์เสริมให้กับบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ต่างๆที่ประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว จนทำให้คุณโธมัสเริ่มหันมามองโมเดลธุรกิจที่มีความยั่งยืนมากกว่าการรับจ้างผลิตนั่นก็คือ “การสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง” ซึ่งก็ได้แปลงโฉมมาเป็นแบรนด์ anitech ที่ผลิตสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คุณภาพดี ดีไซน์โดนใจ ในราคาที่เข้าถึงได้ ความสำเร็จของคุณโธมัสและบริษัทรับจ้างผลิตในยุคแรกเริ่มของเขานั้นเกิดขึ้นจากการใช้ “แนวคิดแบบ startup” ที่อาศัย “เครื่องทุ่นแรง” ในการขับเคลื่อนธุรกิจอันประกอบไปด้วยสามแนวทางสำคัญ ได้แก่

      แนวคิดการทำน้อยได้มาก : แนวคิดการสร้างโมเดลการทำธุรกิจของ anitech ที่ใช้นักออกแบบเพียงแค่ไม่ถึง 10 คนในการออกแบบคอนเส็ปต์ของผลิตภัณฑ์กว่า 500 รายการก่อนที่จะส่งต่อไปให้วิศวกรของโรงงานหลายแห่งที่เขาจ้างผลิตต่ออีกทอดหนึ่งนำไปออกแบบเพิ่มเติมและผลิตออกมาให้

    การมี unfair competitive advantage : การทำธุรกิจที่จะสามารถอยู่รอดได้นั้นต้องอาศัย “ข้อได้เปรียบ” ที่ทำให้ธุรกิจสามารถยืนได้เหนือกว่าคู่แข่งเหมือนกับที่คุณโธมัสนั้นมี “ประสบการณ์” ในการออกแบบและว่าจ้างผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาก่อนการเริ่มก่อตั้งธุรกิจรับจ้างออกแบบและผลิตอุปกรณ์เสริมคอมพิวเตอร์จนทำให้คุณโธมัสสามารถสร้างโมเดลธุรกิจที่แข็งแกร่งและเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

     การรู้ให้ไว้และล้มให้ไว : การมีความหยืดหยุ่นในการปรับโมเดลธุรกิจของตัวเองที่สามารถวิวัฒนาการธุรกิจของตัวเองไปยังจุดที่มีโอกาสมากกว่าและสามารถยกเลิกกิจการเหล่านั้นได้หากไปไม่รอดจริงๆ

     สร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจด้วยวิธีทำอย่าง SME

       ความแตกต่างสำคัญข้อหนึ่งของ SME และ startup ก็คือ กลยุทธ์การระดมทุนที่ startup มักยอมแลกส่วนของผู้ถือหุ้นของตัวเองให้กับกองทุน venture capital ที่เข้ามาช่วยอัดฉีดเงินก้อนเริ่มต้นให้ ขณะที่ เจ้าของธุรกิจแบบ SME ที่มักเรียกตัวเองว่า “เถ้าแก่” นั้นมักเลือกที่จะเก็บหุ้นเป็นของตัวเองให้ได้ทั้งหมดหรือมากที่สุดโดยยอมแลก “ความทรหด” ของการบริหารสภาพคล่องธุรกิจ กลยุทธ์ในการเติบโตยุคแรกๆของแบรนด์ anitech ก็คือ “low-end disruption” หรือ การนำเสนอสินค้าที่ปรับคุณภาพขององค์ประกอบบางส่วนที่ไม่จำเป็นลงและเพิ่มสิ่งอื่นๆที่ผู้บริโภคให้คุณค่ามากกว่าเข้าไปแทนในราคาที่ถูกลง อาทิ สินค้าชิ้นแรกของแบรนด์ anitech อย่างเมาส์ที่ปรับความเร็วของเซ็นเซอร์ราคาแพงที่ไม่จำเป็นลงและเพิ่มคุณค่าด้วยงานดีไซน์ที่มีสีสันและตรงกับสรีระของคนไทยมากกว่าในราคาที่ถูกกว่าสินค้าแบรนด์ต่างชาติทำให้ลูกค้าได้ของที่ให้คุณค่าแก่เขาได้มากกว่าในราคาที่คุ้มค่ากว่าเดิม

    สร้างระบบให้เป็นมหาชนเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

      หลังจากที่ธุรกิจ anitech และแบรนด์รองเริ่ม “ทะยาน” ด้วยยอดขายที่เริ่มแตะหลักหนึ่งร้อยล้านบาทต่อปีแล้ว คุณโธมัสก็เลือกที่จะใช้กลยุทธ์ “หลังบ้านนำหน้าบ้าน” ด้วยการหันมาให้ความสำคัญกับการ “วางระบบ” ของบริษัทให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยมีแนวทางหลักๆได้แก่

      ระบบบัญชีขั้นพื้นฐาน : บริษัท SME ที่เริ่มเติบโตและมีรายได้จากผลิตภัณฑ์หลายรายการในหลายช่องทางควรมีระบบบัญชีที่สามารถชี้บ่งรายได้และต้นทุนของการขายผลิตภัณฑ์แต่ละรายการ รวมถึง สถานภาพของสภาพคล่องในปัจจุบันของบริษัทที่แม่นยำและตรวจสอบได้อยู่เสมอ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ “ยิ่งขายยิ่งขาดทุน”

     ระบบผังการทำงาน : บริษัทที่เริ่มมีพนักงานมากขึ้นควรคำนึงถึงการกำหนดผังองค์กรและหน้าที่การทำงานของพนักงานแต่ละคนอย่างชัดเจนเพื่อให้ง่ายต่อการขยายตัวของบริษัทหรือการปรับเปลี่ยนพนักงานในอนาคต

     ระบบ ERP (enterprise resource planner) : ที่เป็นระบบจัดการข้อมูลกลางของบริษัททั้งหมด ตั้งแต่ การผลิต การขายและการเงิน ที่ช่วยให้พนักงานทุกคนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมองเห็นถึงตัวเลขทางการเงินต่างๆอย่างชัดเจนที่สุดเพื่อเตรียมพร้อมต่อการเติบโตแบบก้าวกระโดดในอนาคต

“ไม่ว่าคุณจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ SME หรือ startup ถ้าไม่มี unfair competitive advantage และไม่ทำน้อยได้มากก็คงจะเติบโตได้ยาก”

สารบัญ    

Chapter 1 สร้างธุรกิจด้วยวิธีคิด อย่าง Startup

– คิดอย่างไร ให้โตเร็วแบบ Startup

– ชิปเซต ธุรกิจสร้างเงินทุนก้อนแรก

– Fail Fast รู้ให้ไว ล้มให้เป็น

ฯลฯ

Chapter 2 สร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ ด้วยวิธีทำอย่างเอสเอ็มอี

– กระแสเงินสด กับการหมุนเงินให้ธุรกิจอยู่รอด

– แหล่งเงินทุน กับเงินกู้นอกระบบ ที่ต้องระวัง

– แทรกตลาดด้วยกลยุทธ์ Low-End Disruption

ฯลฯ

Chapter 3 สร้างระบบให้เป็นมหาชน เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน

– กลยุทธ์หลังบ้านนำหน้าบ้าน กับการสร้างระบบ

– User Centered Design

– ชัพพลายเชน หัวใจสำคัญของการบริหารจัดการสินค้า

ฯลฯ

 

สนใจสอบถามได้ที่ : เคาน์เตอร์ยืมคืน ชั้น 1 โทร 053-873510 , Facebook MJU Library หรือใช้

บริการ Books Seeking & Delivery Service (บริการจัดส่งสำหรับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้)

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : Manager online ; https://onizugolf.wordpress.com ; https://www.pier.or.th/abridged/2019/05/ ; https://setvi.wordpress.com/