ชื่อเรื่อง : “กัญชา” ช่วยรักษา “มะเร็ง”
ผู้แต่ง : อิสระ เจียวิริยบุญญา, ปัตตพงษ์ เกษสมบูรณ์, บัญชา สุวรรณธาดา และพงษ์ศักดิ์ สง่าศรี
สืบค้นจาก : http://opac.library.mju.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=353018
กัญชา เป็นยารักษาโรค ? ในปัจจุบันกัญชากำลังเป็นที่สนใจอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งมีกลุ่มคนแสดงความคิดเห็นอย่างแตกต่างกัน บางกลุ่มยังคงแสดงความคิดเห็นว่า กัญชา นั้นเป็นสิ่งเสพติดและอันตราย แต่อีกกลุ่มแสดงความคิดเห็นว่า กัญชา เป็นยารักษาโรคและสามารถใช้ได้จริงทางการแพทย์ แล้วคุณล่ะ คิดว่ากัญชา สามารถใช้ทางการแพทย์ได้หรือไม่…คำถามนี้มีคำตอบในหนังสือเล่มนี้ที่ชื่อว่า “กัญชา” ช่วยรักษา “มะเร็ง” แต่งโดย อิสระ เจียวิริยบุญญา ปัตตพงษ์ เกษสมบูรณ์ บัญชา สุวรรณธาดา และพงษ์ศักดิ์ สง่าศรี
กล่าวโดยสรุป หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ โดยกล่าวถึงประโยชน์รวมถึงโทษของการใช้กัญชาในการรักษาโรค โดยแบ่งเป็น 4 บท ดังนี้
บทที่ 1
กัญชายาวิเศษของมนุษยชาติ เรื่องจริงหรือข่าวลือ! เป็นการอธิบายเกี่ยวกับกัญชา เรื่องการนำมาเป็นยารักษาโรคและการเล่าเรื่องราวกัญชาสายพันธุ์ไทย เนื่องจากกัญชาสายพันธุ์ไทยได้ถูกยกย่องว่าเป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุด 3 สายพันธุ์กัญชา
บทที่ 2
แนวทางการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ร่วมรักษามะเร็ง เริ่มจากการรู้จัก โรคมะเร็ง จึงนำไปสู่การนำกัญชาเข้าไปช่วยรักษามะเร็ง ด้วยระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ซึ่งมีการอธิบายเกี่ยวกับระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ดังนี้ เรื่องสำคัญของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์คืออะไร ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ทำหน้าที่อะไรในร่างกาย ระบบอวัยวะใดบ้างที่มีระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์เข้าไปมีบทบาทในการควบคุม ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ประกอบด้วยอะไรบ้าง สารเอ็นโดแคนนาบินอยด์สร้างจากอะไร ทำไมร่างกายต้องทำลายสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ และระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ทำงานอย่างไรในร่างกาย เป็นต้น นอกจากนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสารสกัดพืชกัญชาอีกด้วย
บทที่ 3
การรักษามะเร็งแบบบูรณาการ เป็นการกล่าวถึงอาหารที่ช่วยรักษามะเร็ง เอนไซม์กับโรคมะเร็ง ความเข้มแข็งทางใจ สู้โรคมะเร็งได้ รวมถึงการล้างพิษออกจากร่างกายช่วยรักษาโรคมะเร็ง อีกทั้งโฮมีโอพาธีย์ ศาสตร์บูรณาการรักษาโรค โดยใช้หลักเกณฑ์ 8 อย่าง ได้แก่ พืชกัญชาที่จะนำมาทำยาต้องสะอาดไม่ปนเปื้อน การนำพืชกัญชามาใช้ต้องใช้ให้ถูกสัดส่วน การเข้าตำรับยากัญชาต้องศึกษาตัวยาอื่น ๆ ที่เป็นยาเสริมฤทธิ์ การเลือกใช้สายพันธุ์และสัดส่วนของพืชที่เหมาะสกับโรคต่าง ๆ การสกัดน้ำมันกัญชา กัญชาใช้กับคนไข้ทุกคนและทุกโรคไม่ได้ สภาวะจิตใจของคนไข้เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกก่อนได้รับการรักษา และต้องยืนอยู่บนผลตรวจวิเคราะห์ทางหลักวิทยาศาสตร์
บทที่ 4
กรณีศึกษาและการใช้สารสกัดกัญชาช่วยรักษามะเร็ง ในส่วนกรณีศึกษาจะยกตัวอย่างผู้ป่วยโรคมะเร็ง 4 ราย ดังนี้ โรคมะเร็งกล่องเสียง โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย จากกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้ง 4 ราย สรุปได้ว่าน้ำมันกัญชาสามารถรักษาโรคมะเร็งได้จริง แต่ต้องรักษาควบคู่กับยาแผนปัจจุบันหากใช้น้ำมันกัญชาเพียงอย่างเดียวอาจจะส่งผลกระทบอื่น ๆ ตามมาได้
สนใจสอบถามได้ที่ เคาน์เตอร์ยืมคืน ชั้น 2 โทร 053-873510 , Facebook MJU Library
หรือใช้บริการ Books Seeking & Delivery Service (บริการยืมสำหรับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : www.se-ed.com
รวบรวมและเรียบเรียงโดย : นางสาววิชสุดา นามวงค์ (นักศึกษาฝึกงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่)