ชื่อเรื่อง : เดินสู่อิสรภาพ
ผู้แต่ง : ประมวล เพ็งจันทร์
สืบค้นจาก : http://opac.library.mju.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=322003
หนังสือเล่มนี้จะพาคุณผู้อ่านไปรู้จักกับ อาจารย์ ดร. ประมวล เพ็งจันทร์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักวิชาการอิสระ และเป็นนักปฏิบัติ และ 66 วันอันทรงคุณค่าของการเดินทาง ผู้ชายธรรมดา ๆ คนหนึ่งได้ตัดสินใจยุติบทบาทอาจารย์มหาวิทยาลัยในวันคล้ายวันเกิดปีที่ 51 เพื่อออกเดินเท้าจากเชียงใหม่กลับสู่บ้านเกิดที่เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี เขาออกเดินทางไกลนับพันกิโลเมตร ด้วยเงื่อนไข ไม่พกเงินติดตัว-ไม่เดินไปหาคนรู้จักหากคนรู้จักอยู่ที่ไหนก็จะหลีกเลี่ยง-ไม่ร้องขออาหาร เว้นแต่จะมีผู้หยิบยื่นให้เองโดยไม่เดือดร้อน-ไม่เบียดเบียนใครหรือสิ่งใด-ไม่กำหนดเวลา-ไม่วางแผนการเดินทาง หรือกำหนดเส้นทางที่แน่ชัด” เพื่อค้นหาสิ่งล้ำค่าที่ถูกกลืนหายไปในกระแสสังคมปัจจุบัน เขาใช้วิธีการที่คนอื่นไม่เคยทำ คือไม่ร้องขออาหารหรือที่พักจากใครถ้าจะเป็นการเบียดเบียนผู้อื่นและไม่พกเงิน ไม่ใช้เงิน เขาไม่ได้พึ่งพาอำนาจเงินตราหรือเครื่องแต่งกายภายนอก แม้แต่หน้าที่การทำงานหรือระดับการศึกษาในการเดินทางครั้งนี้ แม้จะตกอยู่ภายใต้ความหิวโหยจนเกือบหายใจต่อไปไม่ไหว เขาก็เดินต่อไปอย่างไม่ลดละ เดินไปหาบางสิ่งที่ตั้งใจในใจ เพื่อให้ทุกๆ คนได้รับรู้ด้วยกัน เขาอาศัยเพียงเมตตาจิตและน้ำใจของคนในสังคมช่วยต่อชีวิตเขาใหมีกำลังกายและใจเพียงพอที่จะก้าวเดินต่อไปให้ถึงจุดหมาย
ระหว่างทางเขาหลอมละลายใจทุกดวงให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เขาทำให้รู้ซึ้งว่าความคิดต่างๆ ของเราในปัจจุบัน กลบเกลื่อนความงดงามของชีวิตไปมากแค่ไหน แต่ความงดงามเกิดขึ้นได้ โดยไม่ต้องใช้เงินเลยก็ได้ เขาบอกเล่าเรื่องนี้ด้วยหัวใจเปี่ยมรักและอย่างอ่อนน้อมถ่อมตนที่สุด และยอมเสี่ยงชีวิตทั้งชีวิตเพื่อค้นหาสิ่งที่เราได้ลืมมันไปแล้ว เต็มไปด้วยความอบอุ่น สนุก เบิกบานใจ เรื่องราวการเดินทางอันน่าอัศจรรย์ ของเขาจะนำพาคุณไปค้นหาและรู้จักกับ “ความหมายอันงดงามของชีวิต”
สาเหตุที่ไม่พกเงิน คือ เงินจะหมายถึงอำนาจ ความมั่นคง ความมีประกันว่าสามารถหาที่พัก หาอาหารระหว่างการเดินทางได้แน่นอน การไม่เข้าหาผู้ที่ตนเองรู้จัก หรือร้องขอความช่วยเหลือ แต่จะได้รับการช่วยเหลือด้านอาหารที่พักจากผู้พบเจอตามรายทาง ทำให้รับทราบถึงความเอื้ออาทร ความมีมนุษยธรรม ว่าในสังคมไทยยังเป็นสังคมที่น่าอยู่ เป็นสังคมที่มีความรักต่อมวลมนุษย์ เมื่อไม่พกเงิน ไม่เข้าหาคนรู้จัก ทำให้สามารถที่จะพบเจอบุคคลอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเปรียบเสมือนผู้ให้ และเป็นครูผู้สอน พร้อมทั้งได้ขจัดความกลัวที่อยู่ในใจ ทั้งการกลัวไม่มีอาหารกิน กลัวว่าจะไม่มีที่พักอาศัย กลัวผู้คน กลัวการถูกทำร้ายจากคนแปลกหน้า เมื่อความกลัวเกิดจากความแตกต่าง เกิดจากความแปลกหน้า จึงต้องมีการพูดคุยเพื่อขจัดความแปลกหน้าออกไปให้กลายเป็นคนรู้จัก จึงเกิดมิตรสหายมากมายตลอดเส้นทางการเดินทาง ซึ่งตอนแรก อ. ประมวล ผู้แต่งมีความประสงค์เพียงต้องการเขียนบันทึกการเดินทางเพื่อส่งมอบประสบการณ์นั้นให้กับมิตรสหายที่ได้พบเจอ แต่เมื่อมีผู้คนจำนวนมากติดตามการเดินทาง และอ่านบันทึกมากขึ้น จึงได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือออกมา
การเดินอาจไม่สามารถตอบโจทย์การเข้าถึงความเป็นมนุษย์ได้สำหรับทุกคน แต่อย่าลืมว่า ทุกครั้งที่คุณก้าวเดินจงใช้ใจและความคิดไปพร้อม ๆ กันไม่แน่ว่าการเดินสั้น ๆ ของคุณก็อาจมีความหมายบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นในใจได้ เช่น การเดินของ อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์
หากปราศจากมิตร การเดินทางก็เป็นไปไม่ได้
หากปราศจากมิตร เป้าหมายของการเดินทางก็ไม่สามารถบรรลุถึงได้
หากปราศจากมิตร ความหมายอันงดงามแห่งการเดินทางก็ย่อมไม่ปรากฏ
อุปสรรคแห่งการก้าวเดินไป จะข้ามพ้นไปได้หรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า อุปสรรคเหล่านั้นทำให้รู้คุณค่าของมิตร
อุปสรรคที่กีดขวาง ทำให้ได้รู้ว่า มิตรมีค่าและทรงความหมายอย่างยิ่ง
รับชมคลิปวิดีโอได้ที่ : https://www.youtube.com/watch?v=VgdHx9qreAU
สารบัญ : เดินสู่อิสรภาพ
-
- ปิดห้องเรียน
- ความห่วงใย
- กำลังใจ
- ฝึกหัดเดิน
- พลังแห่งรัก
- รอยบาทแห่งพุทธะ
- อาหารมื้อแรก
- ไออุ่นแห่งเมตตาธรรม
- ความหิว
- พ่อ
- ฯลฯ
สนใจสอบถามได้ที่ เคาน์เตอร์ยืมคืน ชั้น 2 โทร 053-873510 , Facebook MJU Library หรือใช้บริการ Books Seeking & Delivery Service
(บริการยืมสำหรับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : https://www.bing.com ; www.naiin.com ; PukThongThai Channel