อยู่อย่างไรให้สมองไม่แก่

ชื่อเรื่อง : อยู่อย่างไรให้สมองไม่แก่

ผู้เขียน : ซุกิยะมะ ทะคะชิ

ผู้แปล  :  ภาณุพันธ์  ปัญญาใจ

สำนักพิมพ์ : Welearn Co., Ltd.

สืบค้นจาก : http://opac.library.mju.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=332106

                            สมองก็เหมือนกับอายุของคนเรา ที่สามารถเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาไปได้ วันนี้จึงมาเรียนรู้พฤติกรรมที่สามารถฟื้นฟูความเยาว์วัยให้สมองกันดีกว่า โดยมาจากการรีวิวหนังสือ “อยู่อย่างไร ให้สมองไม่แก่” หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือจากเคล็ดลับจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น ผู้เขียน ซุกิยะมะ ทะคะชิ ผู้แปล ภาณุพันธ์ ปัญญาใจ เป็นสำนักพิมพ์ของวีเลิร์น ซึ่งในแต่ละพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นมีข้อย่อยลงมาให้เราได้เข้าใจ และขยายความไปถึงหัวข้อใหญ่ด้วยนั่นเอง จุดประสงค์ของหนังสือเล่มนี้ คือ ต้องการให้ผู้อ่านพัฒนา และปรับปรุง พฤติกรรมการใช้สมองของตัวเอง

เคล็ดลับฟื้นฟูความเยาว์วัยให้สมอง ส่งตรงจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองชื่อดังของญี่ปุ่น แค่นำพฤติกรรมง่ายๆ15 อย่างไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน สมองของคุณก็จะกลับมาทำงานเหมือนกับวัยหนุ่มสาว ไม่ว่าตอนนี้คุณจะอายุ 30, 50 หรือแม้แต่ 70 ปีก็ตาม การทำงานของสมอง มีพฤติกรรมอย่างไรที่ส่งผลดีหรือร้ายต่อสมองของเรา หรือหากเรามีปัญหาสมองในเบื้องต้นเราจะสามารถแก้ไขได้อย่างไร ตัวอย่าง ถ้าเราทำตามคำแนะนำอย่างน้อย 2 ข้อนี้ เราจะรู้สึกว่าสมองกระฉับกระเฉงขึ้นเช่น ออกกำลังกายเบาๆ (เช่น เดินเล่น) /เก็บกวาดห้อง /ทำอาหาร /ทำสวน /ทักทายและคุยเล่นสั้นๆกับคนอื่น /อ่านออกเสียง (ถ้าเป็นไปได้ควรทำอย่างน้อยสิบนาที) สาเหตุเพราะว่าเลือดได้ไหลเวียนไปเลี้ยงสมองส่วนบนส่งผลให้สมองส่วนอื่นๆได้รับอานิสงส์ไปด้วยสมองก็เลยแล่น เป็นเหมือนการอุ่นเครื่องให้สมองในทุกเช้า

ซึ่งในหนังสือจะบอกรายละเอียดว่าการกระทำแต่ละอย่างส่งผลดีอย่างไรต่อร่างกายและสมอง หรือการนอนที่เรารู้กันดีว่าควรนอนให้เพียงพอจะดีต่อร่างกายและสมอง ดังนั้นอย่าพยายามคิดมากจนนอนดึกซึ่งนอกจากจะนอนไม่พอแล้วยังคิดไม่ออกด้วย แต่ให้เราคิดวางแผนคร่าวๆก่อนนอนแทน เมื่อเราหลับสมองจะจัดการเรียบเรียงความคิด และจัดการกับข้อมูลต่างๆที่ได้รับมา ดังนั้นก่อนนอนสิ่งที่ควรทำคืออ่านหนังสือหรือคิดอะไรเบาๆ เช้ามาก็อาจจะได้ไอเดียดีๆ ซึ่งสิ่งที่ดีต่อสมองอย่างต่อมาก็คือการตื่นนอนให้เป็นเวลา ถ้าเราไม่มีการจัดเวลา ใช้ชีวิตแบบเรื่อย ๆ สมองก็เริ่มเฉื่อย ไม่ค่อยถูกใช้งานส่งผลให้สมองเสื่อมได้เพราะไม่ถูกกระตุ้นหรือใช้งานเท่าที่ควร  ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดของสมองคือ จังหวะชีวิต หรืออย่างการจัดเก็บห้องหรือโต๊ะให้เรียบร้อยตอยยุ่งๆ มันดียังไง คือส่งผลให้เรารู้จักจัดระเบียบความคิด และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ เวลาที่เราจะหาก็หาง่าย เอกสารอยู่ตรงไหนก็รู้ทำให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คนที่ทำงานในห้องรกๆมักจะกลายเป็นคนขี้หลงขี้ลืม ทำให้ทำงานผิดพลาดได้ง่าย และการทำงานบ้าน ทำงานจุกจิกส่งผลดีต่อความอึดของสมองส่วนหน้า ส่งผลให้เราจดจ่อทำอะไรได้นานๆ

โดยหนังสือเล่มนี้ใช้วิธีการที่ไม่ยุ่งยาก  และนำเสนอได้อย่างเข้าใจ เห็นภาพประกอบได้อย่างชัดเจน พฤติกรรมที่หนังสือเล่มนี้ให้ปฏิบัตินั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำตามได้ ไม่ส่งผลต่อการงาน หรือชีวิตประจำวัน และถ้าทำตามรับรองว่าคุณภาพชีวิตก็จะดีตามไปด้วยแน่นอน

  • พฤติกรรมที่ 1-3 จะช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้หัวไวขึ้น
  • พฤติกรรมที่ 4-6 จะช่วยฝึกฝนสมองในส่วนของด้านความคิด จัดได้อย่างเป็นระบบ ระเบียบมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมขั้นนี้จะเหมาะสำหรับคนที่ไม่กระตือรือร้นในการทำงาน หรือคนที่ควบคุมตัวเองไม่ได้
  • พฤติกรรมที่ 7-8 จะช่วยเพิ่มความสามารถในการรับข้อมูล และพัฒนาความจำ
  • พฤติกรรมที่ 9-10 จะช่วยเพิ่มความสามารถในการถ่ายทอดข้อมูล หรือเรียกอีกอย่างว่าทักษะการสื่อสารนั่นเอง
  • พฤติกรรมที่ 11-12 จะช่วยให้สมองมีสุขภาพดี เป็นการดูแลรักษาสมอง
  • พฤติกรรมที่ 13-15 จะพูดถึงการประยุกต์ใช้สมองของแต่ละพฤติกรรมต่างๆ                                                                                 
  • ซึ่งในเนื้อหาจะมีการอธิบายที่ทำให้เราเห็นภาพมากขึ้น และถ้าเรานำไปปรับให้เข้ากับตัวเองได้ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีมาก

 

สนใจสอบถามได้ที่ เคาน์เตอร์ยืมคืน ชั้น 1 โทร 053-873510 , Facebook MJU Library หรือใช้

บริการ Books Seeking & Delivery Service (บริการจัดส่งสำหรับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้)

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : https://intrend.trueid.net/https://day-after-day.maggang.com ; www.sanook.com ; www.thaihealth.or.th