Weekly E-book : เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Intelligent Economy)

สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation) หรือ อว. ได้จัดทำชุด series หนังสือเศรษฐกิจแห่งอนาคต 6 เล่มให้ download ฟรี วันนี้เลยจะนำมาแนะนำหนังสือ 1 ใน 6 เล่มนี้ คือ เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Intelligent Economy)

หนังสือเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Intelligent Economy) มุ่งให้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ AI ที่อยู่รอบตัวเราในปัจจุบัน และที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของเราในอนาคตอันใกล้ ส่งผลให้การดำเนินชีวิตประจำวันสะดวกสบายยิ่งขึ้น อาทิ ในภาคธุรกิจ AI มีบทบาทสำคัญในการทำการตลาดดิจิทัล ช่วยผู้ประกอบการวางแผนธุรกิจไปในทิศทางที่เหมาะสม และทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

คอมพิวเตอร์อยู่รอบตัวเรา

คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วย ส่วนตัวเครื่องและอุปกรณ์ที่จับต้องได้เรียกว่า “ฮาร์ดแวร์” (hardware) และส่วนชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานเรียกว่า “ซอฟต์แวร์” (software) โดยสามารถทำงานตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกมีขนาดใหญ่และใช้พลังงานไฟฟ้าสูง ต่อมาได้ถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จนกลายมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ไปจนถึงคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ฝังตัวอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทีเราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต สมาร์ตทีวีหม้อหุงข้าว ตู้เย็น ตู้เอที่เอ็ม และเครื่องบิน

การคำนวณของคอมพิวเตอร์

มนุษย์ใช้สมองในการคิดคำนวณต่าง ๆ คอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกันซึ่งส่วนที่เป็นสมองของคอมพิวเตอร์ก็คือ หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ชีพียู (central processing Unit, CPU) มีหน้าที่นำข้อมูลและชุดคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำมาคำนวณ วิเคราะห์ และประมวลผล

หน่วยประมวลผลกราฟิค (graphics processing unlt, GPU) ใช้สำหรับการประมวลผลค้นกราฟิก ทำให้การแสดงผลมีความลื่นไหลซึ่งเป็นส่วนสำคัญในงานด้านแอนิเมชันและเกมคอมพิวเตอร์ ปัจจุบัน GPU ยังถูกนำมาใช้ในการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ด้วย

การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ

การประมวลผลของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องอาศัยการทำงานของหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียูที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถประมวลผลได้โดยอาศัยทรัพยากรคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่อยู่ที่ใดก็ได้บนโลกด้วยการเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตโดยผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องรู้ว่ากำลังใช้บริการคอมพิวเตอร์เครื่องใดอยู่ เรียกว่าการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (cloud compบing) หรือ การประมวลผลบนคลาวด์

ภาษาคอมพิวเตอร์มีแค่ 0 กับ 1

ภาษาคอมพิวเตอร์ คือ ภาษาที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมให้เครื่องคอมฬิวเตอร์ทำงานตามคำสั่งและให้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคนทั่วไปมักเข้าใจว่าภาษาคอมพิวเตอร์มีแค่ตัวเลข O และ 1 เรียงต่อกันเป็นรหัสชุดคำสั่ง แต่แท้จริงแล้วภาษาคอมพิวเตอร์ยังมีอีกหลายภาษา อาทิ ภาษา Fortran, ภาษา Assembly, ภาษา C, ภาษา C#, ภาษา C#,ภาษา Python และภาษา R สามารถแบ่งกลุ่มตามระดับขั้นของภาษา

1. ภาษาเครื่อง (machine code หรือ low-level language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคแรก เป็นภาษาระดับต่ำที่สุดและใกล้คียงกับเครื่องมากที่สุด ประกอบด้วยตัวเลขฐานสอง (เลข 0 และ ) เขียนเรียงต่อกันเป็นรหัสชุดคำสั่ง สำหรับสั่งงาน CPบ ตามรูปแบบของเครื่องจักรหริง (Turing machine)

2. ภาษาแอสเชมบลี (assembly langvage) คือ ภาษาที่ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษแทนรหัสเลขฐานสอง เพื่อสะดวกในการเขียนและการจดจำยิ่งขึ้น แตมีข้อจำกัด คือเป็นภาษาที่ใช้ได้เฉพาะเครื่องเท่านั้น

3. ภาษาระดับสูง (high-level language) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์มากที่สุด โดยเหมือนคำภาษาอังกฤษทั่วไป ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเขียนและอ่านโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ซึ่งโปรแกรมที่เชียนด้วยภาษาระดับสูงนี้สามารถนำไปใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ใดก็ได้ แต่ต้องผ่านกระบวนการแปลเป็นภาษาเครื่องก่อน เช่น ภาษา C. ภาษา C#. ภาษา C++, ภาษา Python, และภาษา R

คอมพิวเตอร์ควอนตัม (Qantum Computer)

คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ทรานซิสเตอร์ ในการแปลงค่าบิตให้เป็น 0 หรือ 1 ตามที่ต้องการ ความเร็วในการูประมวลผลของคอมพิวเตอร์นั้นขึ้นกับจำนวนทรานซิสเตอร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณท่าตัวทุกๆ 2ปี เพื่อเพิ่มความเร็วในการประมวลผล นักวิจัยบางกลุ่มเสนอให้ทำงานกับอนุภาคแสงหรือโฟตอนแทนอิเล็กตรอนในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เกิดเป็นระบบใหม่ที่เรียกว่า โฟโตนิกส์ (photonics) และคอมพิวเตอร์แสง (Optical Computer) นักวิจัยอีกกลุ่มเลือกที่จะทำงานกับ “สถานะ” ของอิเล็กตรอน (หรือโฟตอน) แทน ซึ่งทำให้เกิดระบบใหม่อีกแบบที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ควอนตัม (Qantum Computer)

คอมพิวเตอร์ควอนตัมใช้หลักการของฟิสิกส์ควอนตัมในการประมวลผล หลักการควอนตัมนั้นต่างจากฟิสิกส์พื้นฐานเยอะมาก เช่น การที่อนุภาคสามารถอยู่ในสถานะต่างกันได้พร้อม ๆ กันหลักการนี้นำไปสู่การสร้าง “คิวบิต (qบbi)” ที่เป็นหน่วยย่อยสุดของคอมพิวเตอร์ควอนตัมคิวบิตต่างจากบิตปกติตรงที่คิวบิตมีค่าเป็นทั้ง 0 และ 1 พร้อมๆ กัน การประมวลผลคิวบิตทำให้เราสามารถยุ่นระยะเวลาในการประมวลผลจากหลายล้นปีเหลือเพียงระดับวินาทีเท่านั้น หรือการที่เราไม่สามารถอ่านข้อมูลจากคิวบิตโดยไม่เปลี่ยนแปลงมันได้ ซึ่งนำไปสู่การสร้างระบบ การเข้ารหัสที่ดีขึ้น หรือหลักการพัวพันควอนตัม (Qantum Entanglement) ที่อาจนำไปสู่การเคลื่อนย้ายมวลสาร (Teleportation) แบบในภาพยนตร์ก็เป็นได้

Al คืออะไร ?

Al (เอ-ไอ) ย่อมาจากคำว่า Arificial Intelligence หรือในภาษาไทยเรียกว่า “ปัญญาประดิษฐ์” หมายถึง ระบบที่มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ได้สามารถเรียนรู้และทำงานได้อย่งเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งแตกต่างจากคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่มนุษย์เป็นผู้ควบคุมการทำงาน

ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยี AI กำลังได้รับความสนใจจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อพัฒนาให้ AI มีความชาญฉลาดและมีความสามารถมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นผู้ช่วยของมนุษย์ในด้านต่งๆ ดังเช่นทุกวันนี้ที่ AI เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรา ในรูปของสมาร์ตโฟน สมาร์ตวอตช เป็นต้น Al ที่มีความซับซ้อนมากอาจมีพฤติกรรมท่องจำเหมือนเด็กได้ นั่นคือให้ความถูกต้องสูงในตอนสอ นแต่ใช้งานจริงได้ไม่ดี การสอน Al ในปัจจุบันจึงต้องมีการกำกับ (regularization) ที่ดีเพื่อป้องกันปัญหานี้

คลิกเพื่ออ่าน ebook ฉบับเต็ม เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Intelligent Economy)

พุดคุยและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook mjulibrary

ประเภทหนังสือ : อีบุ๊ก
สำนักพิมพ์ : สาระวิทย์
ผู้แต่ง : NSTDA
ISBN : 978-616-12-0569-0
ภาษา : thai
จำนวนหน้า : 21
ขนาดไฟล์ : 13.03 MB