ทุกวันนี้เราจะได้ยินคำว่า “ปฏิรูป” กันมากขึ้น วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจว่าแท้จริงแล้ว ปฏิรูปคืออะไร
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายไว้ว่า
ปฏิรูป, ปฏิรูป-
(1) [-รูปะ-] ว. สมควร, เหมาะสม, เช่น ปฏิรูปเทส คือ ถิ่นที่สมควร หรือ ถิ่นที่เหมาะสม (ป.).
(2) ว. เทียม, ไม่แท้, เช่น มิตรปฏิรูป. (ป.).
(3) [-รูปะ-] ก. ปรับปรุงให้สมควร เช่น ปฏิรูปบ้านเมือง. (ป.).
การปฏิรูป หรือ Reform คือ การทำให้สิ่งที่เราเห็นว่าเป็นปัญหา ผิดไปจากสภาพที่เหมาะสม มาจัดรูปแบบใหม่ ดังนั้นการปฏิรูป จึงไม่ใช่ “การพัฒนา” ที่เป็นการทำสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น ขาดอะไรที่ควรมีก็จัดให้มี ดังนั้นการปฏิรูปมักจะไม่มีทาง win-win ไปทุกฝ่าย มันจะต้องมีฝ่ายที่ได้ในบางเรื่อง เสียในบางเรื่อง ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าการกระทำดังกล่าวมีเป้าหมายอย่างไร และจะส่งผลทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาวอย่างไร โดยควรมีแผนที่ค่อนข้างชัดเจน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายสามารถรับรู้และปรับตัวได้ ผู้ที่มีส่วนได้เสีย ทุกกลุ่มควรต้องมีโอกาสมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิรูป โดยเฉพาะในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงเป็นโอกาสอันดีที่เราในฐานะที่เป็นกำลังส่วนหนึ่งในสังคม ควรจะแสดงข้อคิดความเห็นออกมา
Reference :