น้ำเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของร่างกาย คิดเป็น ร้อยละ 60-70 ของน้ำหนักตัว ในเลือดจำนวน 100 ซีซี เป็นส่วนของน้ำเสีย 80 ซีซี ดังนั้น การดื่มน้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะให้ความสำคัญ
1.ปริมาณน้ำที่ต้องดื่มต่อวันคือ 2-3 ลิตร (ได้จากน้ำดื่ม 1.0-1.5 ลิตร จากอาหาร เช่น ข้าว ผัก ผลไม้ 1.0-1.5 ลิตร) จึงจะมีปริมาณพอเพียงต่อร่างกาย อากาศร้อนจัด ปริมาณน้ำที่ดื่มต้องเพิ่มจำนวนขึ้น
2.กินผัก ผลไม้ให้มาก เพราะอุดมด้วยวิตามิน เกลือแร่ และมีส่วนประกอบของน้ำมากกว่าร้อยละ 90 (ผักมีส่วนประกอบของน้ำร้อยละ 95 ผลไม้มีส่วนประกอบของน้ำร้อยละ 90) ดังนั้น กินผักผลไม้ 500 กรัม เท่ากับดื่มน้ำ 400 ซีซี
3.การดื่มเครื่องดื่มดับกระหาย จะสังเกตเห็นว่ายิ่งดื่มยิ่งกระหาย ถ้าเป็นเครื่องดื่มที่มีปริมาณไขมันและมีแคลอรีสูง การดื่มปริมาณมาก บ่อยๆ จะเกิดโทษ เช่น ทำให้เป็นเบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูง เกิดพิษสะสมในร่างกาย
4.ถ้ามีการเสียน้ำมาก และกระหายน้ำมาก ควรใช้เกลือผสมเล็กน้อย เพื่อทำให้ช่วยดับกระหาย แต่ไม่ควรดื่มมากเกินไป
5.ไม่ควรดื่มเบียร์ หรือกินน้ำแข็งเพื่อดับกระหาย เพราะจะเป็นอันตรายต่อระบบการย่อยอาหารในระยะยาว ร่างกายจะอ่อนแอ มีความเย็นในร่างกายตกค้าง มีของเสียตกค้าง พลังของร่างกายจะอ่อนแอ
6.ไม่ควรดื่มน้ำเย็น หรือดื่มน้ำปริมาณมากหลังกินอาหาร เพราะจะไปเจือจางความเข้มข้นของน้ำย่อย ทำให้การย่อยอาหารไม่ดี
7.ไม่ปล่อยให้กระหายน้ำเต็มที่แล้วค่อยมาดื่มน้ำ การที่มีอาการกระหายน้ำแล้วแสดงว่า ร่างกายมีภาวะขาดน้ำ ถ้ากระหายน้ำเต็มที่แสดงว่าขาดน้ำของ ร่างกาย หรือเซลล์รุนแรง ทำให้ร่างกายอ่อนแอ มีของเสีย สารพิษตกค้างสะสมมาก ดังนั้นควรได้น้ำ 2.5 ลิตรต่อวัน (ประมาณ 8 แก้ว)
8.ดื่มน้ำมากไปก็เป็นโทษ มีความเชื่อที่ผิดว่า การดื่มครั้งเดียวปริมาณมากๆ ตอนตื่นนอน เพื่อขับล้างของเสียในร่างกาย เมื่อขาดน้ำ ปัสสาวะจะน้อย เมื่อน้ำเกินปัสสาวะจะมาก โดยมีไตเป็นตัวควบคุม คนที่ไม่ขาดน้ำ ถ้าได้รับน้ำมาก ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น ทำให้เลือดเจือจาง การดูดซึมของสารอาหารสู่เซลล์น้อยลง ทำให้เซลล์บวมน้ำ ถ้าเซลล์บวมน้ำมากขึ้นจะมีอาการง่วงนอน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน กระตุก มองไม่ชัด หัวใจเต้นช้า หายใจช้า เป็นลม เป็นต้น ดังนั้นการดื่มน้ำจึงต้องพอเหมาะ จึงไม่เป็นผลเสียกับร่างกาย
9.ไม่ดื่มน้ำอย่างรวดเร็วจนเกินไป บางคนพอกระหายน้ำ ก็รีบดื่มน้ำให้หมดทันที จะมีผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจอ่อนแรงในระยะยาว เพราะปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ไตควบคุมการขับน้ำไม่ได้ทันทีทันใด ก็จะไปเพิ่มภาระการสูบฉีดของหัวใจ